อุปราช ของ พระเจ้านันทบุเรง

การเข้าสู่ตำแหน่ง

พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้พระมาตุลาของพระองค์ถูกลอบปลงพระชนม์ในวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 1550 แม้พระบิดาจะเป็นพระมหาอุปราช แต่มังฆ้องที่ 2 พระอนุชาร่วมพระบิดาเดียวกับบุเรงนอง ไม่ยอมรับสิทธิสืบบัลลังก์ดังกล่าว และประกาศตนเป็นเอกราช ณ เมืองตองอู นันทบุเรงจึงพาพระมารดาและพระพี่นางลี้ภัยไปหาพระบิดาซึ่งเวลานั้นไปราชการศึกที่เมืองทะละ (ในเมืองย่างกุ้งปัจจุบัน)[11]

ณ ที่นั้น นันทบุเรงทรงร่วมกับพระบิดาวางแผนกอบกู้ราชบัลลังก์ กองกำลังของบุเรงนองเข้าตีเมืองตองอูเป็นครั้งแรกในเดือนกันยายน ค.ศ. 1550 และยึดเมืองได้ในวันที่ 11 มกราคม ค.ศ. 1551 บุเรงนองไว้ชีวิตมังฆ้องที่ 2 แล้วราชาภิเษกขึ้นเป็นพระเจ้าหงสาวดีสืบต่อจากพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ สถาปนานันทบุเรงพระราชโอรสซึ่งขณะนั้นพระชนมายุได้ 15 พรรษา ขึ้นเป็นพระมหาอุปราช พระราชพิธีราชาภิเษกมีขึ้น ณ วันที่ 12 มกราคม นั้นเอง[note 4]

งานศึก

ตลอด 15 ปีต่อมา บุเรงนองทรงมุ่งมั่นขยายจักรวรรดิตองอู ทำให้คนใกล้ชิดต้องทุ่มเทกายใจแก่การศึกไปด้วย แต่ในช่วงแรก นันบุเรงยังทรงพระเยาว์นัก จึงมีบทบาทจำกัด จน ค.ศ. 1557 เป็นต้นมา นันทบุเรงทรงได้รับภารกิจสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้พระองค์ พร้อมด้วยพระเจ้าอาคือมังฆ้องที่ 2, ตะโดธรรมราชาที่ 2, และตะโดเมงสอ กลายเป็นสี่ยอดขุนพลของบุเรงนอง และหลายทศวรรษให้หลัง นันทบุเรงทรงก้าวหน้าด้วยความดีความชอบในฐานะผู้นำทัพ จนเมื่อปลายรัชสมัยของพระบิดา นันทบุเรงก็ทรงได้เป็นผู้นำศึกทั้งหมดด้วยพระองค์เอง

การศึกของอุปราชนันทบุเรง (ค.ศ. 1551–80)
สถานที่เวลาไพร่พลหมายเหตุ
แปรค.ศ. 1551?เพื่อป้องกันหงสาวดี[12]
หงสาวดีค.ศ. 15521 กรมไม่ได้รบกัน[13]
อังวะค.ศ. 155314,000 คนงานใหญ่ครั้งแรก เป็นแม่กองนำทัพหน้าขึ้นเหนือไปปราบอังวะ แต่หน้าที่ส่วนใหญ่เป็นแต่ทางพิธีการ เพราะพระเจ้าอาทั้งสอง คือ ตะโดธรรมราชาที่ 2 และมังฆ้องที่ 2 ในฐานะที่มีประสบการณ์สูง ทรงเป็นผู้บัญชาการหลัก การศึกครั้งนี้สิ้นสุดลงด้วยฝ่ายหงสาวดีเลิกทัพกลับ เพราะอังวะป้องกันเป็นสามารถ[14]
อังวะค.ศ. 1554–55?เพื่อป้องกันหงสาวดี[15]
กลุ่มรัฐไทใหญ่ค.ศ. 155712,000 คนนำทัพกับพระเจ้าอา ตะโดเมงสอ และมังฆ้องที่ 2 ไปบรรจบกันที่เมืองตี่บอ ได้ชนช้างกับข้าศึกที่เมืองนี้[16]
เมืองนายค.ศ. 15578,000 คนเป็นนายกองใหญ่ มีพญาทะละเป็นนายกองรอง แต่ไม่ได้รบ เพราะกองหน้าซึ่งมีพระเจ้าอา ตะโดธรรมราชาที่ 2 เป็นผู้นำนั้น ตีได้เมืองนายเสียก่อน[17]
ล้านนาค.ศ. 155810 กรม
2 กองพันทหารม้า
หนึ่งหนึ่งในสามกองหน้า อีกสองกองมีผู้นำ คือ ตะโดธรรมราชาที่ 2 และตะโดเมงสอ[18]
เมืองนายค.ศ. 155810 กรมนำทัพกับตะโดเมงสอขึ้นจากล้านนาไปปราบกบฏเจ้าฟ้าเมืองนาย (saopha of Mone)[19]
กลุ่มรัฐไทใหญ่ในลุ่มแม่น้ำสาละวินค.ศ. 156312,000 คนนำหนึ่งในสี่ทัพที่ยกไปรุกรานกลุ่มรัฐในลุ่มน้ำสาละวิน ทัพของนันทบุเรงยกจากเมืองหมอก (Momeik) โดยมีพญาทะละเป็นแม่กองรอง ได้รบกันที่เมืองเมา (Maing Maw) ยึดได้เมือง Hotha, Latha, Kaingma, และ Mainglyin[20]
อยุธยาค.ศ. 1563–6414,000 คนนำทัพพร้อมด้วยพระเจ้าอา มังฆ้องที่ 2 ไปยึดสุโขทัยได้สำเร็จในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1563 แล้วเดินหน้าเข้าตีกำแพงเมืองอยุธยา[21]
ล้านนาค.ศ. 156412,000 คนนำทัพหนึ่งในสี่ทัพจากอยุธยาขึ้นไปตีเชียงใหม่ แล้วยกจากเชียงใหม่ไปตีเชียงแสน ผู้นำท้องถิ่นออกถวายสัตย์[22]
ล้านช้างค.ศ. 1564–6524,000 คนเป็นนายกองใหญ่ ยึดเวียงจันทน์ได้ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1565[23] ได้ตั้งผู้ปกครองใหม่ให้ล้านช้างในฐานะเมืองขึ้นของหงสาวดี แล้วยกทัพออกจับตัวพระไชยเชษฐา กษัตริย์ลาวพระองค์ก่อน แต่หาไม่พบ จึงเสด็จกลับหงสาวดีในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1565[24]
อยุธยาค.ศ. 1568–6911,000 คนนำหนึ่งในห้าทัพที่ยกไปตีอยุธยา[25]
ล้านช้างค.ศ. 1569–7011 กรมนำทัพหนึ่งในห้าทัพที่ยกไปรุกรานล้านช้างในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1569 ทัพของนันทบุเรงยกจากลำพูนเข้าล้านช้าง[26] ติดตามหากองกำลังท้องถิ่นที่ต่อต้านหงสาวดีเป็นหลายเดือน ไพร่พลอดอยากล้มตาย จึงยกกลับในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1570[27] เหลือพลเดิมไม่กี่คนรอดกลับหงสาวดี[28]
โมเยง (Mohnyin) และโมกอง (Mogaung)ค.ศ. 1571–7212,000 คนนำหนึ่งในสองทัพขึ้นเหนือไปปราบกบฏที่ภูเขากะชีน (Kachin hills) อีกทัพมีผู้นำคือตะโดธรรมราชาที่ 2 ยึดโมเยงและโมกองได้โดยปราศจากการต่อต้าน ผู้นำกบฏหนีเข้าป่า ไม่สามารถจับตัวได้[29]
ล้านช้างค.ศ. 157411,000 คนนำหนึ่งในกองหน้าทั้งสามกอง ไม่มีการต่อต้าน จึงยึดเวียงจันทน์ได้โดยง่าย[30]
โมเยงและโมกองค.ศ. 15757,000 คนนำหนึ่งในห้าทัพไปปราบกบฏในภูเขากะชีนอีกครั้ง[31] ทัพของนันทบุเรงและตะโดเมงสอขับไล่กบฏออกจากหุบเขา กองพันกองหนึ่งของตะโดเมงสอสังหารผู้นำกบฏคนหนึ่งได้[32]
ล้านช้างค.ศ. 1579–8022,000 คนเพื่อปราบความวุ่นวายในล้านช้าง ไม่มีการต่อต้าน จึงประพาสชนบทล้านช้างหลายเดือน แล้วกลับหงสาวดี ณ วันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 1580[note 5]

งานเมือง

นันทบุเรงทรงเป็นสมาชิกที่แข็งขันในราชสำนักหงสาวดีซึ่งส่วนใหญ่มีเสนาบดีเป็นชาวมอญพื้นเมือง พระราชบิดาทรงรับฟังความเห็นที่นันทบุเรงถวายเสมอ แม้ไม่ทรงปฏิบัติตามทุกครั้งก็ตาม[33] นันทบุเรงทรงมีบทบาททางปกครองมากขึ้นในช่วงสองปีสุดท้ายของรัชกาลพระราชบิดา เมื่อพระพลานามัยของพระราชบิดาเสื่อมถอยลงตามลำดับ[note 6]

ใกล้เคียง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ