ปกครองเป็นกษัตริย์ ของ พระเจ้าฮาโรลด์_กอดวินสัน

ผ้าปักบายูแสดงให้เห็นการสวรรคตของพระเจ้าฮาโรลด์จุดที่พระเจ้าฮาโรลด์สวรรคตที่แอบบีแบตเติลอนุสรณ์ของพระเจ้าฮาโรลด์ที่แอบบีวอลทแธมในเอสเซ็กซ์

เมื่อพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดเสด็จสวรรคตเมื่อปี ค.ศ. 1066 พระนัดดาเอ็ดการ์ เอเธลลิงยังทรงพระเยาว์เกินกว่าที่จะขึ้นครองราชย์ได้ ขณะที่ทรงนอนประชวรพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดก็ทรงชึ้ไปทางฮาโรลด์ ขุนนางก็ถือเป็นสัญญาณว่าทรงเลือกฮาโรลด์ให้เป็นผู้สืบราชบัลลังก์ต่อ แต่บางคนก็ว่าเป็นสัญญาณว่าทรงแช่ง ในวันที่ 5 มกราคม ค.ศ. 1066 สภาวิททันมีมติให้ฮาโรลด์สืบราชบัลลังก์ต่อจากพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดและทำพิธีราชาภิเศกในวันรุ่งขึ้น ซึ่งเป็นพระราชพิธีราชาภิเษกครั้งแรกที่เกิดขึ้นที่แอบบีเวสต์มินสเตอร์ แต่หลักฐานของนอร์มันกล่าวว่าในการที่ทำพิธีสวมมงกุฏให้ฮาโรลด์ได้อย่างรวดเร็วเช่นนั้นก็เป็นเพราะขุนนางไปประชุมฉลองเทศกาลอีพิพฟานี (Epiphany) ที่แอบบีเวสต์มินสเตอร์กันอยู่แล้ว และมิใช่เพราะความกลัวในการที่ว่าจะมีผู้แย่งชิงบัลลังก์จากฮาโรลด์

ราวปลายฤดูร้อนปีเดียวกันราชอาณาจักรอังกฤษก็ถูกรุกรานจากสองด้านเกือบพร้อมกัน ด้านหนึ่งจากทางเหนือโดย พระเจ้าฮาโรลด์ที่ 3 แห่งนอร์เวย์ หรือ ฮาราลด์ ฮาร์ดดราดา (Harald Hardraada) และทางใต้จากฝรั่งเศสโดยดยุกวิลเลียมแห่งนอร์มังดี ซึ่งต่างก็อ้างสิทธิในราชบัลลังก์อังกฤษ และดยุควิลเลียมอ้างว่าฮาโรลด์สาบานว่าจะสนับสนุนในสิทธิการครองราชบัลลังก์เมื่อไปเรือแตกที่ปองทู ทางฝ่ายฮาราลด์ ฮาร์ดดราดามีทอสทิกพระอนุชาของพระเจ้าฮาโรลด์เองเป็นพันธมิตร เมื่อพระเจ้าฮาโรลด์เผชิญหน้ากับพระอนุชาและฮาราลด์ ฮาร์ดดราดาก็ทรงเสนอดินแดนหนึ่งในสามของอังกฤษให้แก่ทอสทิกเพื่อให้ยุติสงคราม ทอสทิกก็โต้กลับมาว่าแล้วฮาโรลด์จะให้อะไรให้กับฮาราลด์ ฮาร์ดดราดา ฮาโรลด์ก็ตอบว่า “หกฟุตลึกลงไปในดินหรืออาจจะมากกว่าเท่าที่จะทรงต้องการเพราะพระองค์สูงกว่าผู้ใด” (Six feet of ground or as much more as he needs, as he is taller than most men) คำที่กล่าวนี้มาจากบันทึกของเฮนรีแห่งฮันติงดัน (Henry of Huntingdon) แต่ก็ไม่ทราบกันเป็นที่แน่นอนว่าทรงกล่าวเช่นนั้นจริงหรือไม่

ฮาราลด์ ฮาร์ดดราดาและทอสทิกรุกรานยอร์คเชอร์ทางตอนเหนือของอังกฤษในเดือนกันยายน ค.ศ. 1066 ทอสทิกได้รับชัยชนะต่อเอ็ดวิน เอิร์ลแห่งเมอร์เซีย และ มอร์คาร์ เอิร์ลแห่งนอร์ทธัมเบรียในยุทธการฟุลฟอร์ด (Battle of Fulford) ใกล้เมืองยอร์ก เมื่อวันที่ 20 กันยายน เมื่ออพระเจ้าฮาโรลด์ทรงได้รับข่าวก็เสด็จนำทัพอย่างเร่งด่วนขึ้นไปจากลอนดอนเป็นระยะกว่า 300 กิโลเมตรภายในเวลาสี่วัน (เฉลี่ยการเดินเท้า ราว 80 กิโลเมตรต่อวัน) ซึ่งทำความประหลาดใจให้แก่ฮาราลด์ ฮาร์ดดราดาและทอสทิกเป็นอันมาก ก่อนที่จะเริ่มต่อสู้กัน ฮาโรลด์ก็เสนอว่าจะแต่งตั้งทอสทิกให้เป็นเอิร์ล แต่ทอสทิกหันไปทางฮาราลด์ ฮาร์ดดราดาแทนที่ ฮาราลด์ ฮาร์ดดราดาและทอสทิกพ่ายแพ้ต่อฮาโรลด์และถูกสังหารที่ยุทธการแสตมฟอร์ดบริดจ์ (Battle of Stamford Bridge) เมื่อวันที่ 25 กันยายน ค.ศ. 1066

หลังจากเสร็จศึกทางเหนือพระเจ้าฮาโรลด์ก็ทรงบังคับให้ทหารเดินกลับมาทางใต้ผ่านลอนดอนไปยังเฮสติงส์เพื่อจะไปรับศึกจากนอร์มังดีเมื่อดยุควิลเลียมแห่งนอร์มังดีกับทหาร 7000 คนขึ้นบกที่ซัสเซ็กซ์เมื่อวันที่ 28 กันยายน พระเจ้าฮาโรลด์มีพระราชโองการให้ตั้งค่ายอย่างเร่งด่วนใกล้ๆ เฮสติงส์ กองทหารของพระองค์และดยุควิลเลียมต่อสู้กันในยุทธการเฮสติงส์ใกล้เมืองแบตเติล ปัจจุบันเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม หลังจากที่ต่อสู้กันอย่างหนักพระเจ้าฮาโรลด์ก็ทรงเสียทีและถูกสังหาร รวมทั้งพระอนุชาอีกสององค์เกิร์ธ (Gyrth Godwinson) และ เลิร์ฟไวน์ (Leofwine Godwinson) ตามตำนานกล่าวกันว่าพระเจ้าฮาโรลด์ทรงถูกปลงพระชนม์ด้วยลูกศรที่ปักพระเนตรแต่ก็ไม่เป็นที่ทราบแน่นอนว่าเป็นภาพเดียวกับภาพที่ปักบนผ้าปักบายูหรือไม่ เอลด์จิธ สวอนเน็คพระชายาองค์แรกถูกเรียกตัวมาให้บอกว่าเป็นพระเจ้าฮาโรลด์หรือไม่แต่เนื่องจากพระพักตร์อาจจะเละแต่เอลด์จิธก็บอกได้โดยรอยสักบนหน้าอกว่า “อีดิธ” และ “อังกฤษ”[ต้องการอ้างอิง] พระบรมศพของพระองค์ถูกฝังในหลุมหินที่มีทิวทัศน์ทะเลและมีการจัดพิธีอย่างสมพระเกียรติหลายปีต่อมาที่แอบบีวอลทแธมที่ทรงสถาปนาใหม่เมื่อปี ค.ศ. 1060[1]

การที่ทพระเจ้าฮาโรลด์ทรงมีความสัมพันธ์กับบริเวณบอสซุม (Bosham) ทำให้สันนิษฐานกันว่าโลงหินแบบแองโกล-แซ็กซอนในคริสต์ทศศตวรรษ 1950 ที่พบที่นั่นเป็นโลงหินของพระบรมศพ ทางสังฆมลฑลชิคเชสเตอร์ปฏิเสธคำร้องที่จะขุดหลุมศพเพื่อเป็นการพิสูจน์เมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 2004 ประธานของสังฆมลฑลให้เหตุผลว่าโอกาสที่จะพิสูจน์ว่าเป็นพระเจ้าฮาโรลด์จริงหรือไม่นั้นมีน้อยเกินกว่าที่จะยอมให้รบกวนบริเวณที่ฝังศพที่ถือกันว่าเป็นบริเวณที่ศักดิ์สิทธิ์ได้[2] การขุดก่อนหน้านั้นพบว่าเป็นร่างของชายกลางคนที่มีขาเดียวซึ่งตรงกับคำบรรยายพระลักษณะการบาดเจ็บของพระเจ้าฮาโรลด์ในบางพงศาวดาร

ใกล้เคียง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ

แหล่งที่มา

WikiPedia: พระเจ้าฮาโรลด์_กอดวินสัน http://www.angelfire.com/rnb/bayeux_tapestry/sect4... http://armidalesoftware.com/issue/full/Thaler_174_... http://www.channel4.com/history/microsites/H/histo... http://www.hereford-heritage.com/Harold.html http://members.tripod.com/~GeoffBoxell/harold.htm http://nygaard.howards.net/files/1389.htm http://web.archive.org/20021102061925/www.geocitie... http://www.regia.org/godwins.htm http://www.dot-domesday.me.uk/harold.htm