มรดกและตำนาน ของ พระเจ้าฮาโรลด์_กอดวินสัน

กีธาแห่งเอสเซ็กซ์พระราชธิดาของพระเจ้าฮาโรลด์เสกสมรสกับวลาดิเมียร์ โมโนมาคห์ แกรนด์ดยุกแห่งคีวาน รุสซึ่งเป็นราชอาณาจักรในยุคกลาง ซึ่งเป็นต้นสายของราชวงศ์ของ กาลิเซีย, สโมเลนสค์ (Smolensk), และ ยาโรสลาฟวล (Yaroslavl) ผู้สืบเชื้อสายที่สำคัญๆ จากกีธาและโมโนมาคห์ก็ได้แก่ โมเดสต์ มูสซอร์กสกี (Modest Mussorgsky) คีตกวีคนสำคัญของรัสเซีย, เจ้าชายปีเตอร์ อเล็กเซเยวิช โครโปทคิน (Prince Peter Alexeyevich Kropotkin) และ อิซาเบลลาแห่งฝรั่งเศส ผู้เป็นพระอัครมเหสีของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษ ฉะนั้นเชื้อสายของพระเจ้าฮาโรลด์จึงได้กลับมาครองราชบัลลังก์อังกฤษอีกครั้งหนึ่ง

เมื่อไม่นานมานี้ก็มีการกล่าวอ้างที่ไม่มีหลักฐานว่านิกายรัสเซียออร์ทอดอกซ์ได้ยกฐานะพระเจ้าฮาโรลด์ขึ้นเป็นผู้พลีชีพเพื่อคริสต์ศาสนา (martyr) อุลฟ์และมอร์คาร์แห่งนอร์ทธัมเบรียถูกปล่อยจากการคุมขังเมื่อพระเจ้าวิลเลียมทรงนอนประชวรใกล้จะสวรรคตในปี ค.ศ. 1087 อุลฟ์หันไปสนับสนุนโรเบิร์ต เคอร์โทส ดยุคแห่งนอร์มังดีพระราชโอรสองค์โตของพระเจ้าวิลเลียมผู้แต่งตั้งให้อุลฟ์เป็นอัศวินแต่หลังจากนั้นก็ไม่มีเอกสารใดใดที่กล่าวถึงอุลฟ์อีก พระเชษฐาต่างพระมารดาอีกสององค์กอดวิน เอิร์ลแห่งเวสเซ็กซ์และแม็กนัสพยายามที่กู้ราชบัลลังก์สองครั้งโดยยกทัพมาอังกฤษในปี ค.ศ. 1068 และในปี ค.ศ. 1069ด้วยการช่วยเหลือของ Diarmait mac Mail na mBo กษัตริย์ของเลนสเตอร์ในไอร์แลนด์ โดยมาปล้นสดมภ์ในบริเวณคอร์นวอลล์แต่หลังจากนั้นก็ไม่มีหลักฐานอะไรเกี่ยวกับสองคนนี้อีก

ในคริสต์ศตวรรษที่ 12 พระเจ้าฮาโรลด์ก็กลายเป็นที่นิยมของผู้นับถือลัทธินิยมวีระบุรษ ตามตำนานว่ากันว่าพระเจ้าฮาโรลด์มิได้ถูกปลงพระชนม์ที่สนามรบแต่ทรงรอดมาได้และทรงใช้เวลาสองปีรักษาตัวอยู่ที่วินเชสเตอร์ หลังจากนั้นก็เสด็จไปเยอรมนีไปเดินทางร่อนเร่เป็นนักแสวงบุญอยู่จนเมื่อพระชนมายุชราก็เสด็จกลับมาอังกฤษและอาศัยอยู่ในถ้ำอย่างฤๅษีใกล้ ๆ โดเวอร์ ขณะที่ทรงนอนใกล้จะสวรรคตก็ทรงสารภาพว่าแม้ว่าจะทรงใช้ชื่อ “คริสเตียน” แต่ตามความเป็นจริงแล้วพระองค์คือ “ฮาโรลด์ กอดวินสัน” ตำนานคล้ายคลึงกันนี้แพร่หลายกันมากในยุคกลางแต่ก็ไม่มีหลักฐานอะไรยืนยัน และอันที่จริงแล้วพระราชินีอีดิธทรงครรภ์เมื่อเสด็จสวรรคตและทรงตั้งชื่อพระโอรสว่า “ฮาโรลด์” เช่นเดียวกับพระบิดา ต่อมา “ฮาโรลด์” ก็บวชเป็นพระอยู่ที่แอบบีวอลทแธมและเชื่อกันว่าได้เข้าเฝ้าพระเจ้าเฮนรีที่ 1ทำให้เชื่อกันไปว่าผู้ที่มีชีวิตอยู่คือ “ฮาโรลด์ กอดวินสัน” ไม่ใช่ “ฮาโรลด์ ฮาโรลด์สัน” (Harold Haroldsson)

ความสนใจในพระเจ้าฮาโรลด์ทางวรรณกรรมและสื่อต่างเริ่มขึ้นตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยเริ่มจาก

ใกล้เคียง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ

แหล่งที่มา

WikiPedia: พระเจ้าฮาโรลด์_กอดวินสัน http://www.angelfire.com/rnb/bayeux_tapestry/sect4... http://armidalesoftware.com/issue/full/Thaler_174_... http://www.channel4.com/history/microsites/H/histo... http://www.hereford-heritage.com/Harold.html http://members.tripod.com/~GeoffBoxell/harold.htm http://nygaard.howards.net/files/1389.htm http://web.archive.org/20021102061925/www.geocitie... http://www.regia.org/godwins.htm http://www.dot-domesday.me.uk/harold.htm