วิกฤตการสืบราชบัลลังก์เดนมาร์ก ของ พระเจ้าเฟรเดอริกที่_7_แห่งเดนมาร์ก

พระบรมสาทิสลักษณ์พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 7 แห่งเดนมาร์กทรงฉลองพระองค์ประดับเครื่องราชอิศริยาภรณ์แห่งฟรีเมสัน ไม่ปรากฏชื่อผู้วาด

พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 7 ทรงอภิเษกสมรส 3 ครั้ง แต่ไม่ทรงมีรัชทายาทที่ถูกต้องตามกฎหมาย ในความเป็นจริงพระองค์ทรงเจริญพระชันษาสู่วัยกลางคนโดยปราศจากทายาท ซึ่งหมายความว่า เจ้าชายคริสเตียนแห่งกลึคส์บูร์ก(1818–1906) ผู้ซึ่งเป็นทายาทสืบเชื้อสายจากพระญาติของพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 6ได้ถูกเลือกให้เป็นรัชทายาทผู้มีสิทธิสืบราชบัลลังก์โดยชอบธรรมในปีพ.ศ. 2394 เมื่อพระเจ้าเฟรเดอริกเสด็จสวรรคตในปีพ.ศ. 2406 เจ้าชายคริสเตียนได้สืบราชบัลลังก์ต่อเป็นพระเจ้าคริสเตียนที่ 9

เนื่องมาจากกฎหมายแซลิกการสืบราชบัลลังก์หลังจากการเสด็จสวรรคตของพระเจ้าเฟรเดอริกซึ่งไร้รัชทายาทยังเป็นปัญหาที่ยังถกเถียง ซึ่งเป็นไปอย่างไม่ราบรื่นแต่ก็เกิดสงครามขึ้น กลุ่มชาตินิยมของประชาชนผู้ใช้ภาษาเยอรมันในรัฐชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์ตั้งใจว่าจะไม่มีการแก้ปัญหาซึ่งให้ดัชชีรวมเป็นหนึ่งเดียวกับเดนมาร์กซึ่งเป็นที่พอใจมาก ดัชชีทั้งสองต้องการประมุขที่สืบสายพระโลหิตตามกฎหมายแซลิกในหมู่ทายาทของเฮลวิกแห่งชวมบูร์ก ผู้อาวุโสของราชสกุลได้ประกาศตั้งตนเป็นเจ้าชายเฟรเดอริก ดยุกแห่งออกัสเตนเบิร์ก(ผู้ซึ่งตั้งตนเป็น เฟรเดอริกที่ 8 ดยุกแห่งชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์ หลังจากการสวรรคตของพระเจ้าเฟรเดอริก) เจ้าชายเฟรเดอริกแห่งออกัสเตนเบิร์กพระองค์นี้ทรงเป็นสัญลักษณ์ของชาตินิยมเยอรมันในการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องอิสรภาพแก่รัฐชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์ ตั้งแต่ในสมัยของพระบิดาของพระองค์ซึ่งทรงแลกกับเงินโดยทรงยอมสละสิทธิในราชบัลลังก์ทั้งชเลสวิชและฮ็อลชไตน์ตามมาด้วยการทำพิธีสารลอนดอนในวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2394 ที่ซึ่งจัดทำหลังสิ้นสุดสงครามชเลสวิชครั้งที่หนึ่ง เนื่องมาจากพระบิดาทรงสละสิทธิ ส่งผลให้เจ้าชายเฟรเดอริกทรงถูกเห็นว่าขาดคุณสมบัติที่จะสืบราชบัลลังก์

เดนมาร์กอยู่ภายใต้กฎหมายแซลิก แต่จำกัดสิทธิที่ทายาทเชื้อสายของพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 3 แห่งเดนมาร์กเท่านั้น(ผู้ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกในระบอบสืบราชสันตติวงศ์ โดยก่อนรัชสมัยของพระองค์กษัตริย์จะมาจากการเลือกตั้ง) ในขณะนั้นสมาชิกในราชสกุลชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์สายออกัสเตนเบิร์กและกลึคส์บูร์กซึ่งเป็นพระญาติฝ่ายชายขององค์เหนือหัวไม่ได้รับการอนุญาตให้มีสิทธิสืบราชบัลลังก์ภายใต้ข้อบัญญัติ การสืบราชบัลลังก์ทรงฝ่ายชายของพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 3 ได้มาสิ้นสุดลงหลังจากการสวรรคตของพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 7 และในจุดนั้น กฎหมายว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ที่ประกาศใช้โดยพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 3 ได้รวมการสืบราชบัลลังก์แบบ "กฎหมายกึ่งแซลิก" อย่างไรก็ตามมีการทดแทนในการสืบราชสันตติวงศ์ที่เป็นไปได้ไม่ว่าจะเป็นพระญาติฝ่ายหญิงที่ใกล้ชิดที่สุด ปัญหาจะได้รับการแก้ไขโดยการเลือกตั้งหรือการแบกกฎหมายเพื่อยอมรับรัชทายาทองค์ใหม่

เจ้าชายคริสเตียนได้สืบราชบัลลังก์เป็นพระเจ้าคริสเตียนที่ 9 หลังจากการสวรรคตของพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 7 ส่งผลให้สิ้นสุดราชวงศ์ออลเดนบูร์กสายตรงและวิกฤตการสืบราชบัลลังก์เดนมาร์ก

พระญาติฝ่ายหญิงที่ใกล้ชิดพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 7 มากที่สุดคือ เจ้าหญิงหลุยส์ ชาร์ล็อตแห่งเดนมาร์กพระปิตุจฉาของพระองค์ ผู้ซึ่งอภิเษกสมรสกับแลนด์เกรฟแห่งเฮสส์ อย่างไรก็ตามทรงมิใช่เชื้อสายที่สืบทอดทางบุรุษและทรงไม่มีสิทธิสืบราชบัลลังก์ในชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์ รัชทายาทซึ่งเป็นราชนิกุลฝ่ายหญิงได้มีการกำหนดมาจากสิทธิของบุตรหัวปีโดยพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 3 จากการไร้บุตรของพระราชธิดาในพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 6 หลังจากการเริ่มต้นของสิทธิของบุตรหัวปีได้ส่งผลถึงสิทธิของทายาทในเจ้าหญิงหลุยส์ ออกัสตาแห่งเดนมาร์ก พระขนิษฐาในพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 6 ผู้ซึ่งอภิเษกสมรสกับดยุกแห่งออกัสเตนเบิร์ก ทายาทของสายนั้นก็เหมือนกับเจ้าชายเฟรเดอริกแห่งออกัสเตนเบิร์กแต่โอกาสของพระองค์มาถึงหลังจากการสิ้นพระชนม์ของเจ้าหญิงผู้ซึ่งมีชีวิตอยู่ในพ.ศ. 2406

บางสิทธิได้เป็นของสายกลึคส์บูร์กซึ่งเป็นสายที่ยังอ่อนอาวุโสมากในราชวงศ์ สายตระกูลนี้เป็นทายาทของพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 3 ผ่านทางบรรพบุรุษหญิงซึ่งเป็นพระราชธิดาในพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 5 แห่งเดนมาร์กและมีทายาทชายอ่อนอาวุโสซึ่งมีสิทธิในชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์ ซึ่งก็คือ เจ้าชายคริสเตียนแห่งกลึคส์บูร์ก(1818–1906)และพระเชษฐาสองพระองค์ พระองค์โตทรงไร้รัชทายาทแต่พระองค์รองมีพระโอรส

เจ้าชายคริสเตียนแห่งกลึคส์บูร์ก(1818–1906)เป็นพระนัดดาบุญธรรมในพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 6กับสมเด็จพระราชินีมารี โซฟี ดังนั้นทำให้ทรงคุ้นเคยดีกับพระราชประเพณีและธรรมเนียมของราชวงศ์ เจ้าชายคริสเตียนเป็นพระปนัดดาในสมเด็จพระราชินีมารี โซฟีและทรงเป็นเชื้อสายของพระญาติชั้นหนึ่งในพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 6 พระองค์ถูกส่งมายังเดนมาร์กเพื่อประทับในพระราชวงศ์และตรัสภาษาเดนมาร์กและไม่ทรงเป็นชาตินิยมเยอรมัน แม้ว่าสิ่งที่ทางราชวงศ์ทำจะไม่เป็นไปตามกฎหมาย แต่ราชวงศ์ทำให้เจ้าชายทรงเป็นที่นิยมและเป็นจุดสนใจในชาวเดนมาร์ก ในขณะเป็นทายาทชายซึ่งอ่อนอาวุโส พระองค์ทรงมีสิทธิในราชบัลลังก์ชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์ แต่ไม่ใช่พระองค์แรกในราชสันตติวงศ์ เนื่องจากทรงเป็นเชื้อสายของพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 3 ทำให้ทรงมีสิทธิสืบราชบัลลังก์เดนมาร์ก แต่ก็ไม่ใช่พระองค์แรกในราชสันตติวงศ์ อย่างไรก็ตามลำดับการสืบราชสันตติวงศ์ยังไม่ชัดเจน

เจ้าชายคริสเตียนแห่งกลึคส์บูร์กอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงหลุยส์แห่งเฮสส์-คาสเซิลพระธิดาองค์โตในเจ้าหญิงหลุยส์ ชาร์ล็อตแห่งเดนมาร์ก พระปิตุจฉาของพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 7 ซึ่งเป็นพระญาติฝ่ายหญิงที่ใกล้ชิดพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 7 มากที่สุด พระมารดาและพระอนุชาของเจ้าหญิงหลุยส์ได้สละสิทธิในการสืบราชบัลลังก์แก่เจ้าหญิงหลุยส์และพระสวามี ทำให้พระชายาในเจ้าชายคริสเตียนเป็นพระญาติซึ่งใกล้ชิดพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 7 มากที่สุด

"กฎหมายกึ่งแซลิก"ในการสืบราชสันตติวงศ์ที่สลับซับซ้อนได้ถูกแก้ปัญหาโดยเจ้าชายคริสเตียนแห่งกลึคส์บูร์กได้ถูกเลือกในปีพ.ศ. 2395 ให้สืบราชบัลลังก์ต่อจากพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 7 อย่างถูกต้องตามกฎหมายเมื่อพระเจ้าเฟรเดอริกเสด็จสวรรคตในปีพ.ศ. 2406 เจ้าชายคริสเตียนได้สืบราชบัลลังก์ต่อเป็นพระเจ้าคริสเตียนที่ 9 แห่งเดนมาร์ก

ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2406 เจ้าชายเฟรเดอริกแห่งออกัสเตนเบิร์กทรงอ้างสิทธิเหนือรัฐชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์โดยสืบบัลลังก์ดัชชีทั้งสองต่อจากการสวรรคตของพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 7 ปรัสเซียและออสเตรียประกาศสงครามชเลสวิชครั้งที่สองกับเดนมาร์ก ซึ่งผลของสงครามคือ เดนมาร์กพ่ายแพ้และสูญเสียดัชชีทั้งสอง

ใกล้เคียง

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ พระเจ้าอโศกมหาราช