พระเจ้าโจวลี่

พระเจ้าโจวลี่ (จีน: 周厲王; พินอิน: Zhōu Lì Wáng; อังกฤษ: King Li of Zhou; สิ้นพระชนม์ 828 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่สิบแห่งราชวงศ์โจวของจีนโบราณ เสวยราชย์ราว 877–841 หรือ 857–842 ปีก่อนคริสตกาล[1]พระเจ้าโจวลี่ทรงเป็นผู้ปกครองที่ฉ้อฉลกักขฬะ ทรงขึ้นภาษีและสร้างความเดือดร้อนนานาให้แก่ราษฎรเพื่อประโยชน์สุขส่วนพระองค์ ทรงห้ามสามัญชนใช้ประโยชน์จากป่าและแม่น้ำสาธารณะ ทั้งทรงตรากฎหมายให้อำนาจพระองค์ประหารผู้ใดก็ตามที่พูดจาขัดพระทัย เป็นเหตุให้ประชาชนและขุนนางก่อกบฏในราว 842 ปีก่อนคริสตกาล พระองค์เสด็จลี้ภัยไปยังสถานที่หนึ่งซึ่งอยู่ใกล้กับหลินเฝิน (臨汾) ในปัจจุบัน ทำให้ราชบัลลังก์ว่างลง นอกจากนี้ ขุนนางคนหนึ่งยังเอาพระโอรสองค์หนึ่งของพระองค์ไปซ่อนไว้ จึงมีการตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เป็นภาวะที่เรียกว่า ก้งเหอ (共和)[2]เมื่อพระเจ้าโจวลี่สิ้นพระชนม์ใน 828 ปีก่อนคริสตกาลขณะลี้ภัย พระโอรสองค์หนึ่งก็ขึ้นสืบราชย์ต่อ ทรงพระนาม พระเจ้าโจวเซฺวียน (周宣王)[3]

พระเจ้าโจวลี่

ราชวงศ์ ราชวงศ์โจว
ก่อนหน้า พระเจ้าโจวโยว
ครองราชย์ 877–841 ปีก่อนคริสตกาล
พระราชบิดา พระเจ้าโจวโยว
สวรรคต 828 ก่อนคริสตกาล
พระนามเต็ม
พระนามเต็ม
แซ่: จี (姬)
ชื่อ: หู (胡)
ถัดไป ราชบัลลังก์ว่าง

ใกล้เคียง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ