การจัดหมวดหมู่ ของ พระไตรปิฎกภาษาทิเบต

พระไตรปิฎกทิเบตออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่

กันจูร์ (หรือ bka'-'gyur) แปลว่า "พระสูตรแปล" ประกอบไปด้วยพุทธวจนะในรูปของพระสูตรต่างๆ เกือบทั้งหมดมีต้นฉบับเป็นภาษาสันสกฤต แต่ในบางกรณีได้รับการแปลจากภาษาจีน และภษาาอื่นๆ ที่แปลมาจากพระสูตรภาษาสันสกฤตอีกทอด

เตนจูร์ (bstan-'gyur) หรือ "ศาสตร์แปล" ประกอบไปด้วยอรรถกา ศาสตร์ และปกรณ์วิเศษต่างๆ รวมถึงคัมภีร์ฝ่ายอภิธรรม ของทั้งสายมหายาน และนอกสายมหายาน เตนจูร์ ประกอบไปด้วย 3626 คัมภีร์ แบ่งออกเป็น 224 เล่มสมุดทิเบต

กันจูร์ มีการจัดหมวดหมู่ที่ไม่เหมือนพระไตรปิฎกภาษาบาลี และภาษาจีน หรืออาจกล่าวได้ว่า ทั้ง 3 ฉบับมีการจัดหมวดหมู่ที่แตกต่างกันแทบจะโดยสิ้นเชิง ในส่วนของพากย์ภาษาทิเบตนั้น ในชั้นแรกมีการจัดหมวดหมู่โดย อัญเชิญพระสูตรฝ่ายมหายานขึ้นนำก่อน ตามด้วยพระสูตรฝ่ายเถรวาท ทั้งนี้ ในส่วนพระสูตรฝ่ายมหายานนั้น นำโดยพระสูตรหลักก่อน อาทิ พระสูตรปรัชญาปารมิตา ตามด้วยพระสูตรสายอวตังสกะ และพระสูตรสายรัตนกูฏ ติดตามด้วยพระสูตรปกิณกะ และปิดท้ายด้วยคัมภีร์ฝ่ายตันตระ และพระวินัย จากนั้นจึงตามด้วยพระสูตรฝ่ายเถรวาท การจัดพระสูตรในลักษณะนี้ ปรากฏขึ้นครั้งแรก ในการทำบัญชีพระคัมภีร์ครั้งแรกเมื่อราวศตวรรษที่ 7 เรียกว่าบัญชีดันการ์มะ (lDan kar ma) [4]

ในเวลาต่อมาการจัดหมวดหมู่ในกันจูร์เปลี่ยนไป โดยในช่วงศตวรรษที่ 14 - 15 มีการจัดหมวดหมู่ออกเป็นพระวินัย (Dul ba ), พระสูตร (mDo) และคัมภีร์ตันตระ (rGyud) การแบ่งในทำนองนี้ ทำให้กันจูร์ มีลักษณะคล้ายกับพระไตรปิฏกไปโดยปริยาย เพียงแต่เปลี่ยนจากพระอภิธรรม เป็น คัมภีร์ตันตระ

อย่างไรก็ตามการจัดหมวดหมู่ทำนองนี้ ยังมีนัยยะจากการจัดหมวดตามแนวคิดเรื่อง ยาน ทั้ง 3 กล่าวคือ ในทิศนะของชาวพุทธทิเบตนั้น พระวินัย หมายถึงครรลองของฝ่ายเถรวาท หรือหีนยาน พระสูตรหมายถึงครรลองฝ่ายมหายาน และตันตระหมายถึงครรลองฝ่ายวัชรยาน [5]

ใกล้เคียง

พระไตรปิฎกภาษาจีน พระไตรปิฎกภาษาบาลี พระไตรปิฎก พระไตรปิฎกภาษาทิเบต พระไตรปิฎกฉบับซีเซี่ย พระไตรโลกยวิชัย พระไชยบูลย์ ธมฺมชโย พระไกรสรราช (สิงห์ ไตรยวงค์) พระตำหนักในพระราชวังดุสิต พระไพศาล วิสาโล