พระไตรปิฎกทิเบตฉบับต่างๆ ของ พระไตรปิฎกภาษาทิเบต

พระไตรปิฎกทิเบตได้รับการเผยแพร่ผ่านระบบการพิมพ์ด้วยแม่พิพม์แกะไม้ (Woodcut) เป็นส่วนใหญ่ จึงมีความแพร่หลายระดับหนึ่ง หากจะแบ่งฉบับต่างๆ ต่ามสำนักพิมพ์แล้ว จะมี 3 แห่งที่สำคัญ คือ ฉบับโรงพิมพ์ที่กรุงลาซา ฉบับโรงพิมพ์ที่นาร์ทัง และฉบับโรงพิมพ์เดเก ปัจจุบันเหลือเพียงโรงพิมพ์ที่เดเก เท่านั้นที่ยังจัดพิมพ์คัมภีร์แบบเดิมอยู่ ส่วนที่นาร์ทัง ถูกทำลายไปในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรม

ทั้งนี้ ยังมีการจัดแบ่งฉบับต่างๆ ตามสถานที่ค้นพบ ผู้รวบรวม และสถานที่รวบรวมคัมภีร์อาทิเช่น ฉบับหย่งเล่อ รวบรวมขึ้นในสมัยจักรพรรดิหย่งเล่อ แห่งราชวงศ์หมิงของจีน (ค.ศ. 1410) ฉบับว่านหลี่ รวบรวมขึ้นในสมัยจักรพรรดิว่านหลี่แห่งราชวงศ์หมิง (ค.ศ. 1606) ฉบับคังซี รวบรวมขึ้นในสมัยจักรพรรดิคังซี แห่งราชวงศ์ชิง (ค.ศ. 1684–92)

นอกจากนี้ ยังมีฉบับอูรกา (Urga Kanjur) พบที่กรุงอูลัน บาตอร์ ประเทศมองโกเลีย ฉบับโชเน (Cone Kanjur) พบที่เขตโชเน ทางตอนใต้ของทิเบต ฉบับมูตัง (Mustang Kangyur) พบที่แคว้นมูตัง ทางตอนเหนือของเนปาล เป็นต้น [8] [9] [10]

ใกล้เคียง

พระไตรปิฎกภาษาจีน พระไตรปิฎกภาษาบาลี พระไตรปิฎก พระไตรปิฎกภาษาทิเบต พระไตรปิฎกฉบับซีเซี่ย พระไตรโลกยวิชัย พระไชยบูลย์ ธมฺมชโย พระไกรสรราช (สิงห์ ไตรยวงค์) พระตำหนักในพระราชวังดุสิต พระไพศาล วิสาโล