ผลต่อสุขภาพ ของ พรุน

ประโยชน์

พรุนและน้ำพรุนมีฤทธิ์เป็น ยาระบายอ่อนๆ ซึ่งมีสารประกอบฟีนอล (ประกอบด้วย กรด neochlorogenic acids และ chlorogenic acids) และสาร sorbitol.[2] พรุนยังมีกากใยอาหาร (ประมาณ 7%หรือ 0.07 g ต่อพรุน 1 กรัม) พรุนและน้ำพรุน จึงเป็นยาสามัญพื้นบ้านที่ใช้ในการรักษาอาการท้องผูก บทวิจารณ์บางบทยังไม่สามารถหาหลักฐานที่น่าเชื่อถือ(จากสถาบัน EFSA)ในการนำมายืนยันหรือปฏิเสธประสิทธิภาพของพรุนในการรักษา[3] แต่ถึงอย่างไรพรุนก็มีสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณสูง[4]

ข้อด้อย

ในพรุนแห้งพบว่ามีสารทางเคมีชื่อ acrylamide ที่รู้จักกันว่ามีพิษต่อระบบประสาทและเป็นสารก่อมะเร็ง [5] สาร Acrylamide ซึ่งไม่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่เกิดจากกระบวนการปรุงอาหารที่ใช้ความร้อนมากกว่า 100°C ถึงแม้ว่าการอบแห้งของลูกพรุนด้วยการอบโดยเครื่องจักรโดยทั่วไปแล้วจะไม่ได้ใช้ความร้อนสูงขนาดนั้น แต่ก็มีรายงานการพบว่ามีการก่อตัวของสารAcrylamide ในผลลูกพรุนแห้งเช่นเดียวกับลูกแพร์แห้ง

แม้ว่าสาร acrylamide จะรู้กันว่าเป็นพิษต่อระบบประสาท และระบบเจริญพันธุ์ แต่จากรายงานการประชุมในเดือน มิถุนายน 2014 ขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ และองค์การอนามัยโลก ได้สรุปบริมาณที่เฝ้าระวังในการบริโภคซึ่งจะก่อให้เกิดโรคทางเส้นประสาทไว้ที่ (0.5 มิลิกรัม/ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน) มากกว่า 500 เท่าของค่าเฉลี่ยในการบริโภค และต้องรับสาร acrylamide (1 μg/น้ำหนักตัว 1กิโลกรัม/วัน) หรือมากกว่า 2,000 เท่าในค่าเฉลี่ยในการรับประทานจึงจะส่งผลต่อระบบเจริญพันธุ์[6] จากรายงานดังกล่าว จึงสรุปได้ว่าการบริโภคสารacrylamide จากอาหารอยู่ในระดับที่ปลอดภัยจากการเกิดโรคทางเส้นประสาท แต่อาจเพิ่มความเสี่ยงเรื่องการเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ เช่นเดียวกับการเป็นสารก่อมะเร็งในสัตว์ทดลอง[6]

ใกล้เคียง

พรุน พรนับพัน พรเพ็ญพิพัฒน์ พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี พระนางเธอ ลักษมีลาวัณ พระนางจามเทวี พระนางสิริมหามายา พรินซ์ พระนางจิรประภาเทวี พระนามของพระเป็นเจ้าในศาสนาอิสลาม พระนางวิสุทธิเทวี