ประเภท ของ พายุ

  • พายุหิมะ (ฺBlizzard) - ที่ทำให้เกิดหิมะจำนวนมาก จนมองไม่เห็นทางข้างหน้า ผลที่เกิดขึ้นคือทำให้วิสัยทัศน์ในการมองเห็นแทบจะเหลือศูนย์ โดยมีลมแรงอย่างน้อย 35 ไมล์ต่อชั่วโมง (56 กม. / ชม.) และมีผลกระทบอยู่เป็นเวลานาน
  • พายุฝุ่น (Dust storm) - เกิดจากสถานการณ์ที่ลมพัดเอาทรายหรือดินในปริมาณมาก มีผลกระทบทำให้ลดการมองเห็นเป็นอย่างมาก
  • Gale - พายุลมแรงด้วยความเร็ว 34-48 นอต (39–55 ไมล์ต่อชั่วโมงหรือ 63–90 กม. / ชม.)
  • พายุลูกเห็บ (Hailstorm) - พายุชนิดหนึ่ง เป็นปรากปรากฏการณ์ทำให้เกิดลูกเห็บจำนวนมากตกลงมาจากท้องฟ้า
  • พายุฟ้าคะนอง (Thunderstorm) - เป็นพายุชนิดหนึ่งที่ถูกจัดลักษณะโดยปรากฏการณ์จากผลกระทบของ แสง และ เสียง บนบรรยากาศของโลก ที่รู้จักกันในชื่อ ฟ้าร้อง
  • ทอร์นาโด (Tornado) - เป็นพายุที่เกิดจากการหมุนของอากาศ สามารถเกิดขึ้นได้ในหลายลักษณะ โดยลักษณะที่พบได้บ่อยที่สุดคือลักษณะรูปทรงกรวย โดยส่วนปลายโคนชี้ลงที่พื้น
  • พายุหมุนเขตร้อน (Tropical cyclone) - เป็นระบบพายุที่หมุนอย่างรวดเร็ว มีลักษณะได้แก่ ศูนย์กลางความกดอากาศต่ำ การไหลเวียนของบรรยากาศระดับต่ำแบบปิด ลมกระโชกแรง และการจัดเรียงของพายุฟ้าคะนองแบบก้นหอยซึ่งให้เกิดฝนตกหนัก
  • พายุหมุนนอกเขตร้อน (extratropical cyclone) เป็นบริเวณความกดอากาศต่ำซึ่งขับเคลื่อนลมฟ้าอากาศในพื้นที่ส่วนใหญ่ของโลกร่วมกับแอนไทไซโคลนในเขตละติจูดสูง พายุหมุนนอกเขตร้อนสามารถทำให้เกิดท้องฟ้ามีเมฆมากและมีฝนตก

ใกล้เคียง

พายุ พายุหมุนเขตร้อน พายุไต้ฝุ่นเกย์ (พ.ศ. 2532) พายุไต้ฝุ่นมังคุด (พ.ศ. 2561) พายุไต้ฝุ่นทุเรียน พายุไต้ฝุ่นรามสูร (พ.ศ. 2557) พายุหมุนเขตร้อนในแอตแลนติกใต้ พายุแดเนียล พายุไต้ฝุ่นวิภา (พ.ศ. 2550) พายุหมุนเขตร้อนใน พ.ศ. 2562