ทฤษฎีเกี่ยวกับความถี่ของการปรากฏ ของ พายุหมุนเขตร้อนในแอตแลนติกใต้

ช่วงก่อนเดือนเมษายน พ.ศ. 2534 เราคิดว่าพายุหมุนเขตร้อนนั้นไม่สามารถก่อตัวขึ้นภายในมหาสมุทรแอตแลนติกใต้ได้[1] เนื่องจากลมเฉือนแนวตั้งที่มีกำลังแรงมากในบรรยากาศชั้นโทรโพสเฟียร์นั้นเป็นตัวยับยั้ง[2] ร่องความกดอากาศต่ำที่เลื่อนต่ำลงมาหนึ่งถึงสององศาทางใต้จากเส้นศูนย์สูตร[3] ก็ไม่ได้ห่างจากเส้นศูนย์สูตรจนจะทำให้แรงคอริออลิสช่วยเหลือให้เกิดการก่อตัวได้ อีกทั้งอุณหภูมิน้ำทะเลในเขตร้อนของมหาสมุทรแอตแลนติกตอนใต้ก็เย็นเกินกว่าในเขตร้อนของมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือเกินไป[4]

ในช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2534 การยืนยันเหล่านี้ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าไม่ถูกต้อง เมื่อศูนย์เฮอร์ริเคนแห่งชาติของสหรัฐ ได้รายงานว่ามีพายุหมุนเขตร้อนก่อตัวขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ด้านตะวันออก[1][5] ในปีต่อ ๆ มา มีระบบพายุบางลูกที่มีการสงสัยว่ามันมีลักษณะบางอย่างที่ต้องจัดให้มันเป็นพายุหมุนเขตร้อน เช่น ระบบพายุในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2537 และเดือนมกราคม พ.ศ. 2547[6][7] ในช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2547 มีพายุหมุนนอกเขตร้อนก่อตัวขึ้นแล้วเปลี่ยนผ่านมาเป็นพายุหมุนเขตร้อน จากนั้นได้พัดขึ้นฝั่งประเทศบราซิล ซึ่งมีความรุนแรงเป็นถึงพายุเฮอร์ริเคนระดับ 2 ตามมาตราเฮอร์ริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน ในขณะที่พายุดังกล่าวกำลังเป็นภัยคุกคามต่อรัฐซานตากาตารีนาของประเทศบราซิลอยู่นั้น หนังสือพิมพ์ได้เรียกพายุนี้ในพัดหัวข่าวว่า "Furacão Catarina" ซึ่งหมายถึง พายุเฮอร์ริเคนกาตารีนา (Furacão แปลว่า พายุเฮอร์ริเคน และ Catarina ที่เป็นชื่อของรัฐกาตารีนา หมายความถึง พายุเฮอร์ริเคนที่กำลังคุกคาม(รัฐ)กาตารีนา)[1] หลังจากนั้นสื่อสากลก็ได้ติดตามระบบพายุดังกล่าวและเรียกพายุดังกล่าวว่า "Hurricane Catarina" ชื่อนี้จึงได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการ

ในการประชุมเชิงปฏิบัติการสากลครั้งที่หกขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลกในเรื่องพายุหมุนเขตร้อน (IWTC-VI) เมื่อปี พ.ศ. 2549 มีการตั้งคำถามว่ามีพายุหมุนเขตร้อนหรือนอกเขตร้อนก่อตัวขึ้นภายในแอตแลนติกใต้ก่อนพายุกาตารีนาหรือไม่[7] พบว่าระบบพายุที่อาจเกิดขึ้นจริงนั้น ก่อตัวขึ้นในเดือนมกราคม พ.ศ. 2513, มีนาคม พ.ศ. 2537, มกราคม พ.ศ. 2547, มีนาคม พ.ศ. 2547, พฤษภาคม พ.ศ. 2547, กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 และมีนาคม พ.ศ. 2549[7] และมีข้อเสนอแนะว่าควรพยายามค้นหาระบบพายุผ่านทางภาพถ่ายดาวเทียมและข้อมูลใจความสำคัญ อย่างไรก็ตาม มีการตั้งข้อสังเกตว่าความพยายามนี้อาจมีอุปสรรค เนื่องจากขาดภาพถ่ายดาวเทียมเหนือแอ่งนี้ในช่วงก่อนปี พ.ศ. 2509[7] การศึกษาได้รับการดำเนินการและถูกเผยแพร่ในปี พ.ศ. 2555 ซึ่งสรุปว่ามีพายุหมุนกึ่งเขตร้อนในแอตแลนติกใต้จำนวน 63 ลูก ระหว่าง พ.ศ. 2500 ถึง 2550[8] ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2552 มีพายุกึ่งโซนร้อนก่อตัวขึ้นภายในแอ่ง และในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2553 ก็มีพายุโซนร้อนก่อตัวขึ้น และได้รับชื่อว่า อะนีตา โดยศูนย์ลมฟ้าอากาศเอกชนและสาธารณะบราซิล[9][10] ในปี พ.ศ. 2554 ศูนย์อุทกศาสตร์ กองทัพเรือบราซิลได้ริเริ่มการกำหนดชื่อให้กับพายุหมุนเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน ที่ก่อตัวภายในพื้นที่รับผิดชอบไปจนถึงด้านตะวันตกของเส้นเมริเดียนที่ 20 องศาตะวันตก เมื่อพายุมีความเร็วลมต่อเนื่องอย่างน้อย 65 กม./ชม.[11]

ใกล้เคียง

พายุหมุนเขตร้อน พายุหมุนเขตร้อนในแอตแลนติกใต้ พายุหมุนเขตร้อนใน พ.ศ. 2562 พายุหมุนหลังเขตร้อน พายุหิมะในประเทศอิหร่าน ค.ศ. 1972 พายุหมุนนอกเขตร้อน พายุหลี่ผี พายุหนองฟ้า พายุหีนหนามหน่อ พายุหยินซิ่ง

แหล่งที่มา

WikiPedia: พายุหมุนเขตร้อนในแอตแลนติกใต้ http://img0.cptec.inpe.br/~rgptimg/Produtos-Pagina... //www.amazon.com/dp/B0006BM85S http://australiasevereweather.com/cyclones/2004/su... http://australiasevereweather.com/cyclones/2004/su... http://australiasevereweather.com/cyclones/2009/su... http://www.australiasevereweather.com/cyclones/201... http://adsabs.harvard.edu/abs/2012JCli...25.7328E http://cimss.ssec.wisc.edu/goes/blog/archives/4659 http://www.aoml.noaa.gov/hrd/tcfaq/A15.html http://www.aoml.noaa.gov/hrd/tcfaq/G6.html