พายุไต้ฝุ่นบัวลอย_(พ.ศ._2562)
พายุไต้ฝุ่นบัวลอย_(พ.ศ._2562)

พายุไต้ฝุ่นบัวลอย_(พ.ศ._2562)

(กลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนหลังจาก 25 ตุลาคม พ.ศ. 2562)พายุไต้ฝุ่นบัวลอย เป็นพายุหมุนเขตร้อนที่มีความรุนแรงที่สุดเป็นอันดับสองรองจากพายุไต้ฝุ่นฮากีบิส และพายุไต้ฝุ่นหะลอง และเป็นพายุลูกที่สองบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันตกในช่วงปี พ.ศ. 2562 พายุไต้ฝุ่นบัวลอยเป็นพายุดีเปรสชันลูกที่ 39, พายุโซนร้อนลูกที่ 21 และพายุไต้ฝุ่นลูกที่ 11 ในฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2562 ก่อตัวขึ้นจากความกดอากาศต่ำเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2562 อยู่ทางตะวันออกของสาธารณรัฐหมู่เกาะมาร์แชลล์ ความปั่นป่วนได้ก่อตัวเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนอย่างรวดเร็ว เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยด้วยอุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลที่อบอุ่นมาก และแรงลมต่ำ ทำให้ระบบมีความรุนแรงขึ้น เมื่อถึงวันที่ 19 ตุลาคม พายุโซนร้อนบัวลอยได้ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง และต่อมาเป็นพายุไต้ฝุ่นในเวลาต่อมา อัตราการเสริมกำลังอ่อนตัวลงจนถึงวันที่ 21 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่นบัวลอยถึงสถานะความรุนแรงสูงสุดในวันที่ 22 ตุลาคม ด้วยความเร็วลม 10 นาทีที่ 205 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (130 ไมล์ต่อชั่วโมง) และด้วยความเร็วลมสูงสุด 1 นาทีที่ความเร็วลมสูงสุด 285 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (180 ไมล์ต่อชั่วโมง) เทียบเท่ากับความเข้มข้นเทียบเท่าหมวด 5 ในระดับลมมาตราเฮอริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน และระบบเริ่มอ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็วในวันรุ่งขึ้น[1]หลังจากพายุไต้ฝุ่นฮากีบิสผ่านพ้นไป ประเทศญี่ปุ่นเตรียมรับมือพายุ 2 ลูก อีกครั้ง เช่น พายุไต้ฝุ่นนอกูรี และพายุไต้ฝุ่นบัวลอย เป็นต้น[2] มีความเป็นไปได้ที่อาจจะเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง แผ่นดินถล่ม และน้ำท่วม ในพื้นที่ราบต่ำ หรือพื้นที่ริมแม่น้ำทางชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก เนื่องจากพายุไต้ฝุ่นนอกูรีกำลังเคลื่อนที่ไปยังภูมิภาคดังกล่าว ในขณะเดียวกัน พายุไต้ฝุ่นบัวลอยกำลังเคลื่อนตัวมุ่งหน้าไปยังชายฝั่งตะวันออกของประเทศญี่ปุ่นด้วยเช่นเดียวกัน[3]ภายใต้อิทธิพลของความกดอากาศต่ำทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น ทำให้เกิดฝนตกหนักในภาคตะวันออกของประเทศญี่ปุ่น[4] โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดชิบะ และจังหวัดฟูกูชิมะ มีปริมาณน้ำฝนรวมเกิน 200 มิลลิเมตร (8 นิ้ว) ซึ่งเป็นปริมาณน้ำฝนที่ตกหนักเป็นประวัติการณ์ในเวลาไม่ถึงครึ่งวัน เกินปริมาณน้ำฝนเป็นเวลาหนึ่งเดือนในเดือนตุลาคมของปี[5][6] ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 11 ราย ในจังหวัดชิบะ[7] และ 2 ราย ในจังหวัดฟูกูชิมะ

ใกล้เคียง

พายุไต้ฝุ่นเกย์ (พ.ศ. 2532) พายุไต้ฝุ่นมังคุด (พ.ศ. 2561) พายุไต้ฝุ่นรามสูร (พ.ศ. 2557) พายุไต้ฝุ่นทุเรียน พายุไต้ฝุ่นวิภา (พ.ศ. 2550) พายุไต้ฝุ่นรามสูร (พ.ศ. 2545) พายุไต้ฝุ่นชบา (พ.ศ. 2547) พายุไต้ฝุ่นชบา (พ.ศ. 2559) พายุไต้ฝุ่นบัวลอย (พ.ศ. 2562) พายุไต้ฝุ่นชบา (พ.ศ. 2553)

แหล่งที่มา

WikiPedia: พายุไต้ฝุ่นบัวลอย_(พ.ศ._2562) http://agora.ex.nii.ac.jp/digital-typhoon/summary/... https://www.asahi.com/articles/ASMBV2VPLMBVUDCB006... https://www.bangkokbiznews.com/world/852224 https://www.bastillepost.com/hongkong/article/5303... https://hilight.kapook.com/view/195198 https://www.tnnthailand.com/news/world/19968/ https://www.severe-weather.eu/tropical-weather/bua... https://blogs.nasa.gov/hurricanes/tag/bualoi-2019/ https://typhoon.yahoo.co.jp/weather/calendar/400/ https://www.jma.go.jp/bosai/map.html#4/15.072/144....