โครงสร้างและส่วนการทำงาน ของ พาราเซตามอล

บริเวณพื้นผิวมีขั้วของโมเลกุลพาราเซตามอล

พาราเซตามอลประกอบไปด้วยวงเบนซีน ถูกแทนที่ด้วยหมู่ไฮดรอกซิลและไนโตรเจนจากหมู่เอไมด์ในรูปแบบ para (1,4)[7] หมู่เอไมด์คืออะเซตาไมด์ (เอทามาไมด์ในระบบคอนจูเกตด์) อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวของหมู่ไฮดรอกซิล ณ ตำแหน่งของออกซิเจน, หมอกอิเล็กตรอนของวงเบนซีน, อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวของไนโตรเจน, p ออร์บิตัลหมู่หมู่คาร์บินิลของคาร์บอน และอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวของออกซิเจนในหมู่คาร์บอนิลจะสร้างพันธะแก่กัน (conjugate) ทำให้มีหมู่กระตุ้น (activating group) 2 หมู่ทำให้วงเบนซีนจะทำปฏิกิริยากับสารจำพวกอิเล็กโตรฟิลิก อะโรมาติก (สารที่ทำปฏิกิริยากับสารที่มีอิเล็กตรอน) การแทนที่ของอะตอมเกิดขึ้นในตำแหน่งออร์โธและพาราโดยตรง ทุกตำแหน่งในวงจะมีความสามารถถูกกระตุ้นเพิ่มขึ้นหรือลดลง การทำปฏิกิรยาของสารจะทำให้เบสจากออกซิเจนและไนโตรเจนลดลง ขณะที่ทำให้ความเป็นกรดจากหมู่ไฮดรอกซิลเพิ่มขึ้นจากการย้ายตำแหน่งประจุของประจุฟีนอกไซด์

แหล่งที่มา

WikiPedia: พาราเซตามอล http://www.mja.com.au/public/issues/188_05_030308/... http://www.chemspider.com/Chemical-Structure.1906.... http://www.drugs.com/acetaminophen.html //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/17335680 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/17536874 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/18312195 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/3987005 http://www.yaandyou.net/index_list.php?drugname=AC... http://www.clinchem.org/cgi/reprint/31/5/757 http://www.commonchemistry.org/ChemicalDetail.aspx...