พิงก์ฟลอยด์
พิงก์ฟลอยด์

พิงก์ฟลอยด์

บทความนี้ใช้ระบบคริสต์ศักราช เพราะอ้างอิงคริสต์ศักราชและคริสต์ศตวรรษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งพิงก์ พลอยด์ (อังกฤษ: Pink Floyd) เป็นวงดนตรีร็อก ก่อตั้งขึ้นที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1965 พิงก์ ฟลอยด์ ได้เป็นหนึ่งในผู้ทำดนตรีโพรเกรสซีฟร็อค และไซคีเดลิกร็อก อย่างโดดเด่นจนประสบความสำเร็จในระดับสากล ทั้งการแต่งเนื้อเพลงที่อิงเรื่องปรัชญาและแนวความคิดในสังคม การแต่งเพลงที่บรรเลงยาวกว่าเพลงทั่วไป และเทคนิคเอ็ฟเฟกต์เสียงที่สอดแทรกในดนตรี รวมไปถึงการแสดงสดที่แสดงได้อย่างยอดเยี่ยม ฟิงก์ ฟลอยด์ ได้กลายเป็นหนึ่งในวงดนตรีที่ทรงอิทธิพลและประสบความสำเร็จด้านยอดจำหน่ายมากที่สุดตลอดกาลวงหนึ่งในประวัติศาสตร์ดนตรียอดนิยม[2]ฟิงก์ ฟลอยด์ได้กำเนิดขึ้นเมื่อนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมจากมหาวิทยาลัยเวสต์มินสเตอร์ 3 คน[3] ได้แก่ โรเจอร์ วอเทอรส์ (มือเบส), มิค เมสัน (มือกลอง) และริชาร์ท ไรท์ (มือคีย์บอร์ด) พิงก์ ฟลอยด์ ได้รวมวงกันชั่วคราว ต่อมาได้ซิด บาร์เร็ตต์ เข้ามาร่วมเป็นมือกีตาร์อีกคน จึงได้ตั้งวงฟิงก์ ฟลอยด์ ขึ้นในปี ค.ศ. 1965 พวกเขาไต่ชื่อเสียงขึ้นจากการเป็นวงดนตรีใต้ดินในกรุงลอนดอน ภายใต้การเป็นหัวหน้าวงของบาร์เร็ตต์ ทำให้อัลบั้มเปิดตัว The Piper at the Gates of Dawn ประสบผลสำเร็จด้วยการขึ้นชาร์ทอันดับ 6 ของอังกฤษ พร้อมกับซิงเกิลที่ได้ขึ้นชาร์ทถึง 2 ซิงเกิล เดวิด กิลมอร์ ได้เข้ามาร่วมวงในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1967 และบาร์เร็ตต์ ก็ได้ออกจากวงไปในเดือนเมษายน ค.ศ. 1968 จากปัญหาทางสุขภาพจิต วอเทอรส์ได้กลายเป็นหัวหน้าวงโดยเป็นผู้แต่งเพลงหลัก ทั้งคิดคอนเซปต์เบื้องหลังอัลบั้มต่างๆ จนประสบความสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็น เดอะดาร์กไซด์ออฟเดอะมูน (1973), วิชยูเวอร์เฮียร์ (1975), แอนิมัลส์ (1977), เดอะวอลล์ (1979) และ เดอะไฟนอลคัต (1983) และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในอัลบั้ม เดอะดาร์กไซด์ออฟเดอะมูน ที่ได้ติดอันดับชาร์ทของบิลบอร์ด 200ต่อเนื่องยาวนานถึง 741 สัปดาห์ หรือเกือบ 14 ปี ระหว่าง ค.ศ. 1973 - 1988[4][5] ทำให้อัลบั้มนี้ได้กลายเป็นอัลบั้มที่มียอดจำหน่ายสูงที่สุดอันดับ 2 ตลอดกาลอีกด้วยวงได้เกิดปัญหาที่ตรึงเคลียดจน ไรท์ ได้ออกจากฟิงก์ ฟลอยด์ ในปี ค.ศ. 1979 ตามมาด้วยวอเทอรส์ในปี ค.ศ. 1985 จนเหลือเพียงกิลมอร์และเมสัน ซึ่งยังคงวงต่อไป จนไรท์ ได้กลับมาร่วมเป็นครั้งๆ สมาชิกทั้ง 3 ได้ออกอัลบั้มเพิ่มเติมอีก 2 อัลบั้ม คือ อะโมเมนทารีลาฟส์ออฟรีซัน (1987) และ เดอะดิวิชันเบลล์ (1994) และได้ทำการทัวร์จนถึงปี ค.ศ. 1994 ในที่สุดวอเทอรส์ก็กลับมาร่วมวง ในปี ค.ศ. 2005 ในการแสดงสดคอนเสิร์ตไลฟ์เอท เพียงงานเดียว แต่เขาก็ไม่ได้คิดที่จะร่วมวงอีกต่อไป จนบาร์เร็ตต์ได้เสียชีวิตลงปี ค.ศ. 2006 และไรท์ในปี ค.ศ. 2008 ฟิงก์ ฟลอยด์ได้ออกสตูดิโออัลบั้มครั้งในชื่อ ดิเอนเลสส์ริเวอร์ (2014) ซึ่งอัลบั้มก็ไม่มีวอเทอรส์ร่วมบันทึกเสียง แต่ในส่วนอัลบั้มเป็นการนำดนตรีที่เคยร่วมทำไว้มาทำต่อ ซึ่งได้ทิ้งไว้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1993-94ฟิงก์ ฟลอยด์ ได้รับการบรรจุเข้าสู่หอเกียรติยศร็อกแอนด์โรลของสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1996 และหอเกียรติยศทางดนตรีประเทศอังกฤษ ในปี ค.ศ. 2005[6] อ้างข้อมูลจากปี ค.ศ. 2013 วงได้จำหน่ายอัลบั้มไปแล้วกว่า 250 ล้านชุด ทั่วโลก[7] โดยกว่า 75 ล้านชุด ในสหรัฐอเมริกาเพียงที่เดียว

พิงก์ฟลอยด์

เว็บไซต์ pinkfloyd.com
ที่เกิด กรุงลอนดอน, ประเทศอังกฤษ
ค่ายเพลง
ช่วงปี
  • ค.ศ. 1965–1995
  • ค.ศ. 2012–2014
    (รวมตัวอีกครั้งในปี ค.ศ. 2005)
แนวเพลง
อดีตสมาชิก เดวิด กิลมอร์
นิค เมสัน
ริคชาร์ท ไรต์
โรเจอร์ วอเทอร์ส
ซิด บาร์เร็ตต์

แหล่งที่มา

WikiPedia: พิงก์ฟลอยด์ http://allaccessmagazine.com/vol7/issue12/steve-ro... http://www.allmusic.com/subgenre/neo-prog-ma000001... http://www.billboard.com/articles/news/58524/floyd... http://www.billboard.com/articles/review/1552399/p... http://www.bloomberg.com/apps/news?pid=newsarchive... http://www.businesswire.com/news/home/201301040051... http://www.davidgilmour.com/ http://www.frostmagazine.com/2013/04/sunday-times-... http://www.hitparadehalloffame.com/Inductees_all/P... http://www.nme.com/news/pink-floyd/23574