ฟุตบอลทีมชาติปาเลสไตน์
ฟุตบอลทีมชาติปาเลสไตน์

ฟุตบอลทีมชาติปาเลสไตน์

ฟุตบอลทีมชาติปาเลสไตน์ เป็นทีมฟุตบอลตัวแทนจากรัฐปาเลสไตน์ สำหรับการแข่งขันในระดับชาติ อยู่ภายใต้การดูแลของสมาคมฟุตบอลปาเลสไตน์ (PFA) โดยเป็นชาติสมาชิกของสมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย (AFC)ในสมัยที่รัฐปาเลสไตน์ยังเป็นดินแดนปาเลสไตน์ในอาณัติที่ปกครองโดยสหราชอาณาจักร สมาคมฟุตบอลปาเลสไตน์ในอาณัติได้ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1928 ต่อมาดินแดนปาเลสไตน์ได้ประกาศอิสรภาพในปี ค.ศ.1988 และสมาคมฟุตบอลของปาเลสไตน์ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของฟีฟ่าและสมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย (AFC) ในปี ค.ศ. 1998 ภายหลังจากการก่อตั้งองค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ทีมชาติปาเลสไตน์ยังไม่เคยผ่านเข้าไปเล่นในฟุตบอลโลก แต่ผ่านเข้าไปเล่นในรายการสำคัญระดับทวีปเอเชียเป็นครั้งแรกในการแข่งขันเอเชียนคัพ 2015 รอบสุดท้ายที่ประเทศออสเตรเลีย โดยผ่านเข้ารอบมาในฐานะแชมป์ของรายการเอเอฟซีแชลเลนจ์คัพ 2014 ที่จัดขึ้นที่สาธารณรัฐมัลดีฟส์ โดยในนัดชิงชนะเลิศที่สนามกีฬาแห่งชาติมัลดีฟส์ กรุงมาเล ปาเลสไตน์สามารถเอาชนะทีมชาติฟิลิปปินส์ได้ 1-0 โดยถือเป็นแชมป์รายการแรกของปาเลสไตน์ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาทีมชาติปาเลสไตน์ไม่มีการแข่งในบ้าน เนื่องจากปัญหาความขัดแย้งและสงคราม ในบริเวณเวสต์แบงก์และฉนวนกาซา ซึ่งการแข่งครั้งทั้งหมดจะแข่งในประเทศกาตาร์และประเทศอียิปต์ นอกจากนี้ปัญหาในทีมชาติปาเลสไตน์ที่เกิดขึ้นได้แก่ การห้ามเดินทางออกนอกประเทศของประชาชนปาเลสไตน์ ที่เกิดจากความขัดแย้งกับอิสราเอล รวมถึงการขอวีซ่าในการเข้าประเทศจากทางรัฐบาลในปี 2549 ได้มีภาพยนตร์ชื่อ โกลดรีมส์ (Goal Dreams) ถูกสร้างขึ้นเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับทีมชาติปาเลสไตน์ที่พยายามจะผ่านรอบคัดเลือก ฟุตบอลโลก 2006 และภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ถูกนำมาออกอากาศเป็นสารคดีในช่องสถานีบีบีซีโดยในการแข่งขันเอเชียนคัพ 2015 รอบแรก ทีมชาติปาเลสไตน์ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่ม D ร่วมกับญี่ปุ่น ,จอร์แดน และอิรัก

ฟุตบอลทีมชาติปาเลสไตน์

ฉายา Al-Fursan (The Knights)
รหัสฟีฟ่า PLE
สมาคม สมาคมฟุตบอลปาเลสไตน์
(PFA)
เข้าร่วม 3 (ครั้งแรกใน 2006)
อันดับฟีฟ่าต่ำสุด 191 (เมษายน ค.ศ. 2009)
สมาพันธ์ เอเอฟซี (ทวีปเอเชีย)
อันดับอีแอลโอสูงสุด 123 (พฤษภาคม ค.ศ. 2014)
ผลงานดีที่สุด ชนะเลิศ (2014)
อันดับอีแอลโอ 130 (มิถุนายน ค.ศ. 2015)
สนามเหย้า ฟัยศ็อล อัลฮุสเซนี สเตเดี้ยม
อันดับฟีฟ่าสูงสุด 85 (กรกฎาคม ค.ศ. 2014)
ทำประตูสูงสุด ฟะฮัด อัตตาล
อัชรอฟ นุอ์มาน (14)
สมาพันธ์ย่อย สหพันธ์ฟุตบอลเอเชียตะวันตก
(WAFF)
อันดับอีแอลโอต่ำสุด 159 (ตุลาคม ค.ศ. 2011)
กัปตัน รัมซี ศอลิห์
หัวหน้าผู้ฝึกสอน อับดุล นาศิร บารอกัต
ติดทีมชาติสูงสุด รัมซี ศอลิห์ (107)
อันดับฟีฟ่า 137 (พฤศจิกายน ค.ศ. 2015)

ใกล้เคียง

ฟุตบอลทีมชาติไทย ฟุตบอลโลก ฟุตบอล ฟุตบอลทีมชาติไทยรุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี ฟุตบอลโลก 2022 ฟุตบอลทีมชาติเยอรมนี ฟุตบอลทีมชาติอาร์เจนตินา ฟุตบอลทีมชาติบราซิล ฟุตบอลทีมชาติญี่ปุ่น ฟุตบอลทีมชาติเกาหลีใต้