หลังเกิดเหตุ ของ ภัยพิบัติเชียร์โนบีล

หลังการเกิดอุบัติเหตุ มีหลายคำถามเกี่ยวกับอนาคตของโรงงานและชะตากรรมของมันในที่สุด งานทั้งหมดบนเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์หมายเลข 5 และ 6 ที่ยังไม่เสร็จถูกระงับสามปีต่อมา อย่างไรก็ตามปัญหาที่โรงงานเชียร์โนบีลไม่ได้จบลงพร้อมกับภัยพิบัติในเครื่องปฏิกรณ์หมายเลข 4 เครื่องปฏิกรณ์ที่เสียหายถูกปิดผนึกและ 200 ลูกบาศก์เมตร (260 ลูกบาศ์กหลา) ของคอนกรีตถูกวางอยู่ระหว่างสถานที่เกิดภัยพิบัติและอาคารการดำเนินงาน[ต้องการอ้างอิง] งานนี้ได้รับการจัดการโดย Grigoriy Mihaylovich Naginskiy รองหัวหน้าวิศวกรของการติดตั้งและผู้อำนวยการก่อสร้าง-90 รัฐบาลยูเครนยังคงยอมให้สามเครื่องปฏิกรณ์ที่เหลือทำงานเพราะปัญหาการขาดแคลนพลังงานในประเทศ

การรื้อถอน

บทความหลัก: โรงไฟฟ้​​านิวเคลียร์เชียร์โนบีล รื้อถอน

ในปี 1991 เกิดไฟไหม้ในอาคารกังหันของเครื่องปฏิกรณ์ที่ 2[171] ต่อมาเจ้าหน้าที่ประกาศว่าเครื่องปฏิกรณ์ได้รับความเสียหายเกินกว่าจะซ่อมแชมและถูกทำให้เป็นออฟไลน์ เครื่องปฏิกรณ์ 1 ถูกรื้อถอนในเดือนพฤศจิกายนปี 1996 โดยเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงระหว่างรัฐบาลยูเครนและองค์กรระหว่างประเทศเช่น IAEA เพื่อสิ้นสุดการดำเนินงานที่โรงงาน ในวันที่ 15 ธันวาคม 2000 ประธานาธิบดีในเวลานั้น Leonid Kuchma ปิดเครื่องปฏิกรณ์ที่ 3 ด้วยตัวเองในพิธีปิดโรงไฟฟ้าทั้งหมดอย่างเป็นทางการ[172]

การจัดการกับกากกัมมันตรังสี

การบรรจุของเครื่องปฏิกรณ์

เครื่องปฏิกรณ์เชียร์โนบีลขณะนี้ถูกปิดล้อมอยู่ในโลงศพคอนกรีตขนาดใหญ่ ซึ่งถูกสร้างขึ้นอย่างรวดเร็วเพื่อให้สามารถดำเนินงานอย่างต่อเนื่องของเครื่องปฏิกรณ์อื่น ๆ ที่โรงไฟฟ้า[173]

ตัวเก็บที่ปลอดภัยใหม่จะต้องถูกสร้างขึ้นภายในสิ้นปี 2005 อย่างไรก็ตาม มันมีปัญหาเนื่องจากความล่าช้าอย่างต่อเนื่องและ ณ ปี 2010 เมื่อการก่อสร้างเริ่มได้ในที่สุด มันคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2013 มันถูกเลื่อนออกไปอีกครั้งไปที่ปี 2016 ซึ่งเป็นตอนปลายของอายุการใช้งาน 30 ปีของโลงศพ โครงสร้างจะถูกสร้างขึ้นติดกับโรงเก็บเดิมและจะถูกเลื่อนให้เข้าที่โดยราง มันจะเป็นโลหะโค้งสูง 105 เมตร (344 ฟุต) และทอดยาว 257 เมตร (843 ฟุต) เพื่อให้ครอบคลุมทั้งหน่วยที่ 4 และโครงสร้างอื่นที่สร้างขึ้นอย่างเร่งรีบในปี 1986 'กองทุนโรงเก็บเชียร์โนบีล' ถูกตั้งขึ้นในปี 1997 ได้รับ €810 ล้านจากผู้บริจาคและโครงการระหว่างประเทศเพื่อให้ครอบคลุมโครงการนี​​้และงานก่อนหน้า กองทุนนี้และ 'บัญชีความปลอดภัยนิวเคลียร์' ยังถูกใช้ในการรื้อถอนเชียร์โนบีลอีกด้วย ทั้งสองกองทุนมีการจัดการโดยธนาคารยุโรปเพื่อการบูรณะและพัฒนา (EBRD)[ต้องการอ้างอิง]

ในปี 2002 คนงานยูเครนประมาณ 15,000 คนยังคงทำงานในโซนการยกเว้น ทำการบำรุงรักษาโรงงานและปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการบรรจุและการวิจัยอื่น ๆ และมักจะอยู่ในสภาพที่อันตราย[170]:2 นักวิทยาศาสตร์ยูเครนทำงานเต็มกำลังภายในโลงศพ แต่บุคคลภายนอกจะยากที่จะได้รับอนุญาตให้เข้าไป ในปี 2006 ทีมงาน '60 นาที' ของออสเตรเลีย นำโดยนักข่าว ริชาร์ด Carleton และผู้ผลิต สตีเฟ่น Rice ได้รับอนุญาตให้เข้าไปในโลงศพเป็นเวลา 15 นาทีและถ่ายเป็นภาพยนตร์ภายในห้องควบคุม[174]

เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2013 ส่วนหลังคาพื้นที่ 600 m2 (6,500 ตารางฟุต) ของอาคารกังหันที่อยู่ติดกับโลงศพได้ทรุดตัวลงมา ตอนแรกมีการสันนิษฐานว่าหลังคาทรุดตัวลงเพราะน้ำหนักของหิมะบนนั้น อย่างไรก็ตามปริมาณของหิมะไม่ได้มีอะไรพิเศษ และรายงานของคณะกรรมการแสวงหาข้อเท็จจริงของยูเครนสรุปว่าชิ้นส่วนที่ทรุดตัวลงมาของอาคารกังหันเป็นผลมาจากงานซ่อมแซมที่ไม่เป็นระเบียบและความเก่าแก่ของโครงสร้าง รายงานกล่าวถึงความเป็นไปได้ที่ว่าส่วนซ่อมแซมของอาคารกังหันเพิ่มแรงเครียดขนาดใหญ่บนโครงสร้างรวมมากกว่าที่คาดไว้ และคานรองรับหลังคาได้รับความเสียหายจากการกัดกร่อนและการเชื่อมที่ไม่เรียบร้อย ผู้เชี่ยวชาญหลายคน อย่างเช่น Valentin Kupny อดีตรองผู้อำนวยการโรงไฟฟ้​​านิวเคลียร์ ได้เตือนว่ากลุ่มอาคารอยู่บนปากเหวของการล่มสลาย ปล่อยให้อาคารอยู่ในสภาพที่อันตรายมาก โครงสร้างเสริมแรงที่ถูกนำเสนอในปี 2005 ถูกยกเลิกโดยเจ้าหน้าที่ระดับสูง หลังจากเหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ระดับกัมมันตภาพรังสีเพิ่มขึ้นไปที่ 19 becquerels ต่อลูกบาศก์เมตรของอากาศ หรือ 12 เท่าของค่าปกติ รายงานสันนิษฐานว่าสารกัมมันตรังสีจากภายในโครงสร้างแพร่กระจายไปยังสภาพแวดล้อมหลังจากหลังคาทรุดตัวลง คนงานทั้งหมด 225 คนที่ถูกจ้างโดยเชียร์โนบีลและบริษัทฝรั่งเศสที่กำลังสร้างโรงเก็บใหม่ถูกอพยพไม่นานหลังจากการถล่ม อ้างถึงผู้จัดการของกลุ่มอาคาร ระดับรังสีโดยรอบโรงงานอยู่ในระดับปกติ (ระหว่างวันที่ 5 และ 6 μSv/ชม) และไม่ควรมีผลต่อสุขภาพของคนงาน อ้างถึง Kupny สถานการณ์ได้รับการประเมินต่ำเกินไปโดยผู้จัดการกลุ่มอาคารนิวเคลียร์เชียร์โนบีลและข้อมูลต่างๆก็ถูกเก็บไว้เป็นความลับ[175][176]

การจัดการกับวัสดุและกากกัมมันตรังสี

ณ ปี 2006 เชื้อเพลิงบางส่วนยังคงอยู่ในเครื่องปฏิกรณ์หน่วยที่ 1 ถึง 3 ส่วนใหญ่ในบ่อเชื้อเพลิงใช้แล้ว (อังกฤษ: spent fuel pool) ของแต่ละหน่วย เช่นเดียวกับวัสดุบางอย่างในบ่อสถานที่จัดเก็บเชื้อเพลิงใช้แล้วระหว่างกาล (อังกฤษ: interim storage facility (ISF-1)) ขนาดเล็ก

ในปี 1999 มีการเซ็นสัญญาเพื่อก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดการกากกัมมันตรังสีในการจัดเก็บ 25,000 ส่วนประกอบเชื้อเพลิงใช้แล้วจากหน่วยที่ 1-3 และของเสียจากการดำเนินงานอื่น ๆ รวมทั้งวัสดุจากการรื้อถอนหน่วย 1-3 (ซึ่งจะเป็นครั้งแรกที่หน่วย RBMK ถูกปลดประจำการ ) สัญญาจะรวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกในการประมวลที่สามารถตัดส่วนประกอบเชื้อเพลิง RBMK และบรรจุวัสดุในถังซึ่งจะถูกเติมเต็มด้วยก๊าซเฉื่อยและทำการปิดด้วยการเชื่อม

ถังเหล่านั้นจะถูกเคลื่อนย้ายไปยังห้องใต้ดินแห้ง ซึ่งเป็นสถานที่ที่ภาชนะบรรจุเชื้อเพลิงจะถูกปิดล้อมนานถึง 100 ปี สถานที่เพื่อความสะดวกนี้สามารถบำบัดถังเชื้อเพลิงได้ 2500 ถังต่อปี และสถานที่นี้จะเป็นครั้งแรกของชนิดของมันสำหรับเชื้อเพลิงของ RBMK อย่างไรก็ตามหลังจากส่วนสำคัญของโครงสร้างอาคารจัดเก็บถูกสร้างขึน ข้อบกพร่องทางเทคนิคในแนวคิดก็โผล่ออกมา และสัญญาได้ยกเลิกในปี 2007 สถานที่จัดเก็บเชื้อเพลิงใชัแล้วระหว่างกาล (ISF-2) ตอนนี้จะถูกสร้างให้แล้วเสร็จโดยคนอื่น ๆ ในช่วงกลางปี​​ 2013[ต้องการอ้างอิง]

สัญญาอีกอันหนึ่งได้ถูกเซ็นสำหรับโรงบำบัดกากกัมมันตรังสีที่ของเหลว เพื่อจัดการกับกากของเหลวระดับต่ำและระดับกลางประมาณ 35,000 ลูกบาศก์เมตรที่จุดผลิต กากเหล่านี้จะต้องมีการทำให้เป็นของแข็งและนำไปฝังในที่สุดพร้อมกับขยะแข็งในไซต์งาน[ต้องการอ้างอิง]

ในเดือนมกราคมปี 2008 รัฐบาลยูเครนประกาศแผนการรื้อถอน 4 ระยะที่รวมเอากิจกรรมกำจัดของเสียดังกล่าวกับการดำเนินไปสู่การชำระล้างไซต์[97]

วัสดุที่ประกอบด้วยเชื้อเพลิง (FCMs)

บทความหลัก: Corium (เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์)

ตามการประมาณการอย่างเป็นทางการ ประมาณ 95% ของเชื้อเพลิงในเครื่องปฏิกรณ์ 4 ในเวลาที่เกิดอุบัติเหตุ (ประมาณ 180 เมตริกตัน) ยังคงอยู่ภายในโรงเก็บ ที่มีกัมมันตภาพรังสีรวมเกือบ 18 ล้านคูรี (670 PBq) วัสดุกัมมันตรังสีประกอบด้วยชิ้นส่วนแกนกลาง ฝุ่นและ "วัสดุที่ประกอบด้วยเชื้อเพลิง" (อังกฤษ: fuel-containing materials (FCM)) ที่มีลักษณะเหมือนลาวา หรือที่เรียกว่า "corium" ที่ไหลไปทั่วอาคารปฏิกรณ์ที่พังเสียหายก่อนที่จะแข็งตัวอยู่ในรูปแบบเซรามิก

มีลาวาสามชนิดที่แตกต่างกันที่พบในห้องใต้ดินของอาคารเครื่องปฏิกรณ์ ได้แก่ลาวาสีดำ, สีน้ำตาล, และลาวาเซรามิกรูพรุน วัสดุลาวาเป็นแก้วซิลิเกตที่มีวัสดุอื่น ๆ ผสมอยู่ภายใน ลาวารูพรุนเป็นลาวาสีน้ำตาลที่หยดลงในน้ำและถูกทำให้เย็นลงอย่างรวดเร็ว

มันก็ไม่มีความชัดเจนว่าอีกนานเท่าไรที่รูปแบบเซรามิกจะสามารถชะลอการปลดปล่อยกัมมันตภาพรังสี จากปี 1997 ถึงปี 2002 สิ่งตีพิมพ์ที่ออกมาอย่างต่อเนื่องได้แนะนำว่าการฉายรังสีด้วยตัวเองของลาวาจะแปลงทั้งหมด 1,200 ตันให้เป็นฝุ่นขนาดหนึ่งในล้านเมตรและฟุ้งกระจายได้ภายในไม่กี่สัปดาห์[177] แต่มีรายงานว่าการสลายตัวของลาวามีแนวโน้มที่จะเป็นกระบวนการที่ช้าและค่อยเป็นค่อยไปมากกว่าอย่างฉับพลันและรวดเร็ว[178] เอกสารเดียวกันระบุว่าการสูญเสียของยูเรเนียมจากเครื่องปฏิกรณ์ที่อับปางเป็นเพียง 10 กิโลกรัม (22 ปอนด์) ต่อปี อัตราที่ต่ำของการฉุดรั้งยูเรเนียมแนะนำว่าลาวานี้มีลักษณะที่ต้านทานต่อสภาพแวดล้อม[178] เอกสารยังระบุอีกด้วยว่าเมื่อโรงเก็บได้รับการปรับปรุง อัตราการฉุดรั้งของลาวาจะลดลง[178]

บางส่วนของพื้นผิวของการไหลของลาวาได้เริ่มต้นที่จะแสดงให้เห็นถึงแร่ธาตุยูเรเนียมใหม่ ๆ เช่น NA4(UO2)(CO3)3 และ uranyl carbonate อย่างไรก็ตาม ระดับของกัมมันตภาพรังสีเป็นเช่นว่าในช่วง 100 ปี การฉายรังสีด้วยตนเองของลาวา (2×1016 α สลายตัวต่อกรัมและ 2 ถึง 5×105 Gy ของ β หรือ γ) จะตกลงในระยะสั้นของระดับที่จำเป็นเพื่อเปลี่ยนคุณสมบัติของแก้ว (1018 α สลายตัวต่อกรัม และ 108 ถึง 109 Gy ของ β หรือ γ) นอกจากนี้อัตราการละลายของลาวาในน้ำจะต่ำมาก (10−7 กรัม·ซม−2·วัน−1) ที่แนะนำว่าลาวาไม่น่าที่จะละลายในน้ำ[178]

เขตยกเว้น

บทความหลัก: เขตยกเว้นเชียร์โนบีล

ทางเข้าเขตยกเว้นเชียร์โนบีลหรือ'โซนของการแยก'รอบเชียร์โนบีล

พื้นที่ที่แต่เดิมขยายออกไป 30 กิโลเมตร (19 ไมล์) ในทุกทิศทางจากโรงไฟฟ้าถูกเรียกอย่างเป็นทางการว่า "โซนของการแยก" (อังกฤษ: zone of alienation) ซึ่งไม่มีใครอยู่เป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นประมาณ 300 คนที่ปฏิเสธที่จะออกจากพื้นที่ พื้นที่นี้ส่วนใหญ่ได้ถูกเปลี่ยนกลับไปเป็นป่า และได้ถูกบุกรุกโดยสัตว์ป่าเพราะขาดการแข่งขันกับมนุษย์สำหรับพื้นที่และทรัพยากร แม้กระทั่งทุกวันนี้ ระดับรังสีมีสูงซะจนกระทั่งคนงานที่รับผิดชอบในการสร้างโลงศพได้รับอนุญาตให้ทำงานแค่ห้าชั่วโมงต่อวันเท่านั้นเป็นเวลาหนึ่งเดือนก่อนที่จะพักได้ 15 วัน เจ้าหน้าที่ยูเครนประเมินว่าพื้นที่นี้จะไม่ปลอดภัยต่อชีวิตมนุษย์ไปอีก 20,000 ปี[58]

ในปี 2011 ยูเครนได้เปิดโซนที่ถูกปิดผนึกรอบ ๆ เครื่องปฏิกรณ์เชียร์โนบีลให้กับนักท่องเที่ยวที่ต้องการที่จะเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นในปี 1986[179][180]

ไฟป่า

ถ้าป่าที่ถูกปนเปื้อนด้วยสารกัมมันตรังสีถูกไฟใหม้ ไฟจะแพร่กระจายสารกัมมันตรังสีให้ออกไปไกลมากขึ้นโดยไปกับควัน[181][182]

ใกล้เคียง

ภัยพิบัติเชียร์โนบีล ภัยพิบัตินิวเคลียร์ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่ง ภัยพิบัติแห่งอียิปต์ ภัยพิบัติทางอากาศมิวนิก ภัยพิบัติกระสวยอวกาศแชลเลนเจอร์ ภัยพิบัติท่าอากาศยานเตเนริเฟ ภัยพิบัติสนามกีฬากันจูรูฮัน ภัยพิบัติกอสตากอนกอร์เดีย ภัยพิบัติเรือผู้อพยพในเมซีนีอา พ.ศ. 2566 ภัยพิบัติฮิลส์โบโร

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภัยพิบัติเชียร์โนบีล http://www.zamg.ac.at/aktuell/index.php?seite=1&ar... http://www.iaea.or.at/NewsCenter/Features/Chernoby... http://www.susandwhite.com.au/drawings_prints/1986... http://www.genzyme.ca/thera/ty/ca_en_p_tp_thera-ty... http://www.atomictv.com/heavywater.html http://www.bbc.com/news/magazine-18721292 http://chernobylgallery.com/chernobyl-disaster/tim... http://www.cnn.com/WORLD/9604/26/chernobyl/230pm/i... http://www.ebrd.com/pages/news/press/2011/110408e.... http://www.foxnews.com/world/2010/12/13/ukraine-op...