โครงการกู้คืน ของ ภัยพิบัติเชียร์โนบีล

กองทุนโรงเก็บเชียร์โนบีล

บทความหลัก: Chernobyl Shelter Fund และ Chernobyl New Safe Confinement

กองทุนโรงเก็บเชียร์โนบีลได้ก่อตั้งขึ้นในปี 1997 ที่ประชุมสุดยอด G8 ครั้งที่ 23 ที่เดนเวอร์ เพื่อเป็นเงินทุนการดำเนินงานตามแผนการสร้างโรงเก็บ (SIP) แผนนี้เรียกร้องให้มีการเปลี่ยนสถานที่ให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยทางระบบนิเวศโดยใช้วิธีการรักษาเสถียรภาพของโลงศพหลังการก่อสร้างอาคารเก็บที่ปลอดภัยใหม่ (อังกฤษ: new safe confinement (NSF)) ในขณะที่การประมาณการค่าใช้จ่ายเดิมของ SIP อยู่ที่ USD 768 ล้าน การประมาณการในปี 2006 จะอยู่ที่ USD 1.2 พันล้าน SIP จะถูกจัดการโดยบริษัทร่วมทุนของ Bechtel Battelle และไฟฟ้าฝรั่งเศส และออกแบบตามแนวความคิดสำหรับ NSC ที่ประกอบด้วยซุ้มประตูเคลื่อนที่ โดยสร้างให้ไกลจากโรงเก็บเพื่อหลีกเลี่ยงรังสีที่สูง ที่จะตกลงไปในโลงศพ NSC คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2015[183] และจะเป็นโครงสร้างที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยสร้างมา

ขนาด:

  • ช่วง: 270 เมตร (886 ฟุต)
  • ความสูง: 100 เมตร (330 ฟุต)
  • ความยาว: 150 เมตร (492 ฟุต)

โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ

โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติในปี 2003 ได้เปิดตัวโครงการเฉพาะที่เรียกว่าโครงการการกู้คืนและพัฒนาเชียร์โนบีล (CRDP) เพื่อกู้คืนพื้นที่ได้รับผลกระทบ[184] โปรแกรมถูกริเริ่มขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2002 ตามคำแนะนำในรายงานเกี่ยวกับผลกระทบที่ตามมากับมนุษย์เนื่องจากอุบัติเหตุนิวเคลียร์เชียร์โนบีล เป้าหมายหลักของกิจกรรมของ CRDP ก็คือการสนับสนุนรัฐบาลของประเทศยูเครนในการบรรเทาผลกระทบทางสังคม เศรษฐกิจ และระบบนิเวศระยะยาวของภัยพิบัติเชียร์โนบีล. CRDP ทำงานอยู่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากเชียร์โนบีลในยูเครน 4 แห่ง ได้แก่ Kyivska, Zhytomyrska, Chernihivska และ Rivnenska

โครงการระหว่างประเทศเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพของเชียร์โนบีลอุบัติเหตุโครงการระหว่างประเทศเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพของอุบัติเหตุเชียร์โนบีล (IPEHCA) ถูกจัดตั้งขึ้นและได้รับ US$ 20 ล้าน ส่วนใหญ่มาจากประเทศญี่ปุ่น ในความหวังของการค้นพบสาเหตุหลักของปัญหาสุขภาพอันเนื่องมาจากรังสี 131I เงินทุนเหล่านี้ถูกแบ่งให้กับยูเครน เบลารุสและรัสเซีย ทั้งสามประเทศที่ได้รับผลกระทบหลัก สำหรับการสืบสวนต่อไปของผลกระทบต่อสุขภาพ เนื่องจากมีการคอร์รับชั่นอย่างมีนัยสำคัญในประเทศอดีตสหภาพโซเวียต ส่วนใหญ่ของการช่วยเหลือจากต่างประเทศได้ถูกส่งไปยังรัสเซียและไม่มีผลลัพธ์ด้านบวกจากเงินจำนวนนี้มีการแสดงออกให้เห็น[ต้องการอ้างอิง]

ใกล้เคียง

ภัยพิบัติเชียร์โนบีล ภัยพิบัตินิวเคลียร์ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่ง ภัยพิบัติแห่งอียิปต์ ภัยพิบัติทางอากาศมิวนิก ภัยพิบัติกระสวยอวกาศแชลเลนเจอร์ ภัยพิบัติท่าอากาศยานเตเนริเฟ ภัยพิบัติสนามกีฬากันจูรูฮัน ภัยพิบัติกอสตากอนกอร์เดีย ภัยพิบัติเรือผู้อพยพในเมซีนีอา พ.ศ. 2566 ภัยพิบัติฮิลส์โบโร

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภัยพิบัติเชียร์โนบีล http://www.zamg.ac.at/aktuell/index.php?seite=1&ar... http://www.iaea.or.at/NewsCenter/Features/Chernoby... http://www.susandwhite.com.au/drawings_prints/1986... http://www.genzyme.ca/thera/ty/ca_en_p_tp_thera-ty... http://www.atomictv.com/heavywater.html http://www.bbc.com/news/magazine-18721292 http://chernobylgallery.com/chernobyl-disaster/tim... http://www.cnn.com/WORLD/9604/26/chernobyl/230pm/i... http://www.ebrd.com/pages/news/press/2011/110408e.... http://www.foxnews.com/world/2010/12/13/ukraine-op...