ที่ตั้ง ของ ภาพเหมือนผู้อุทิศ

บานพับภาพของฉากแท่นบูชาโดยฮันส์ เม็มลิง
คริสต์ศตวรรษที่ 15
เป็นภาพพระเยซูบนไหล่ของนักบุญคริสโตเฟอร์
ขนาบด้วยนักบุญสองข้าง
<--- ผู้อุทิศฝ่ายชายทางแผงซ้ายประคองโดยนักบุญผู้พิทักษ์
โดยมีลูกชายห้าคนอยู่ข้างหลัง
ผู้อุทิศฝ่ายหญิงทางแผงขวาประคองโดยนักบุญผู้พิทักษ์--->
เช่นกัน กับสมาชิกในครอบครัวสตรีอีกสิบสองคน

จุดประสงค์ของภาพเหมือนผู้อุทิศก็เพื่อสร้างอนุสรณ์สำหรับผู้อุทิศและครอบครัว ที่เป็นการแสดงว่ายังคงสามารถแสดงความสักการะได้แม้ว่าหลังจากที่เสียชีวิตไปแล้ว[2] สิ่งที่อุทิศเช่นตัวคริสต์ศาสนสถาน, ฉากแท่นบูชา หรือหน้าต่างประดับกระจกสี มักจะรวมทั้งเงินบริจาคจำนวนหนึ่งให้มีผู้สวดมนต์ให้ผู้อุทิศแม้ว่าหลังจากที่เสียชีวิตไปแล้ว การมีภาพเหมือนของผู้อุทิศจึงเป็นการเพิ่มแรงบันดาลใจให้แก่ผู้ที่จะมาสวดมนต์ให้ นอกจากนั้นการมีภาพเหมือนก็ยังเป็นการแสดงความมีหน้ามีตาในสังคมด้วย ภาพเหมือนผู้อุทิศคล้ายคลึงกับการมีอนุสรณ์ผู้ตายในวัด แต่ที่ต่างกันตรงที่ผู้อุทิศของ “ภาพเหมือนผู้อุทิศ” สามารถเห็นภาพเหมือนของตนเองในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ได้

ถ้าผู้บริจาคถวายเงินสร้างสำหรับสิ่งก่อสร้างทั้งหลังหรือมีบทบาทสำคัญในการก่อสร้างก็อาจจะมีประติมากรรมของผู้อุทิศอยู่หน้าวัดหรือที่ใดที่หนึ่งภาพในตัววัด และมักจะเป็นภาพอุ้มรูปจำลองของสิ่งก่อสร้างพระแม่มารีโรแลง” โดย ยาน ฟาน เอคเป็นภาพเขียนขนาดเล็กที่ผู้อุทิศ นิโคลาส์ โรแลง (Nicolas Rolin) ร่วมอยู่ในภาพในบริเวณเดียวกับพระแม่มารี โรแลงบริจาคเงินจำนวนมากให้แก่วัดที่ภาพเขียนตั้ง ฟาน เอคแสดงให้เห็นจากภาพวัดในภูมิทัศนเมืองในฉากหลังไกลออกไปเหนือมือที่สวดมนต์ของโรแลง[3]

ในบางครั้งเช่นใน “ฉากแท่นบูชาเก้นท์” ของยาน ฟาน เอค ผู้อุทิศปรากฏอยู่บนบานพับภาพเมื่อปิด หรือผู้อุทิศอาจจะปรากฏอยู่บนบานสองข้างที่ขนาบแผงกลางเช่นใน “ฉากแท่นบูชาพอร์ตินาริ” (Portinari Altarpiece ) โดยฮูโก ฟาน เดอร์ โกส์ หรือในงานบานพับภาพ “ฉากแท่นบูชาเมโรด” (Merode Altarpiece) โดยโรแบร์ต แคมแพงที่ผู้อุทิศปรากฏอยู่ด้านเดียว ถ้าผู้อุทิศปรากฏสองด้านฝ่ายชายมักจะอยู่ด้านซ้ายของผู้ชมเพราะเป็นด้านที่ถือว่ามีเกียรติในการวางภาพเขียน ในการวางภาพครอบครัวมักจะแยกฝ่ายชายจากฝ่ายหญิง บางครั้งผู้อุทิศอาจจะเป็นกลุ่มภราดรภาพ และบางครั้งจะปรากฏกับครอบครัวด้วย[4]

“ภาพรวมผู้อุทิศ” สามารถมีการเพิ่มเติมได้ในภายหลัง เช่นเมื่อมีสมาชิกในครอบครัวเพิ่มขึ้นจากการแต่งงานหรือการมีบุตร และบางครั้งก็อาจจะบ่งการเสียชีวิตโดยการเขียนกางเขนเล็กๆ ในมือของผู้ที่เสียชีวิตไปแล้วก็ได้[5]

บางครั้งทางตอนเหนือของอิตาลีก็จะพบจิตรกรรมฝาผนังที่เป็นภาพของนักบุญองค์เดียวกับผู้อุทิศบนผนังด้านข้างของคริสต์ศาสนสถาน ที่อาจจะเป็นการเขียนทับของเดิมที่ไม่มีใครมาจุดเทียนสวดมนต์ให้แล้ว เพื่อทำที่สำหรับผู้มาใหม่ที่ต้องการจะมีภาพผู้อุทิศก็เป็นได้[6]

“เมื่อเดินตามนายช่างหินเพื่อตรวจดูว่าภาพใดควรทิ้งเอาไว้ภาพใดควรลบออก นักบวชมองไปเห็นภาพนักบุญแอนโทนีแล้วกล่าวว่า “เก็บอันนี้ไว้” แล้วก็เดินต่อไปจนพบภาพนักบุญซาโนนักบวชก็กล่าวว่า “ลบอันนี้ออก ไม่เห็นใครมาจุดเทียนให้ตั้งนานแล้ว และไม่เห็นมีประโยชน์อะไรกับใคร นายช่างกำจัดเสียเถอะ”

ใกล้เคียง

ภาพเหมือนตนเอง ภาพเหมือนอาร์นอลฟีนี ภาพเหมือนผู้อุทิศ ภาพเหมือน ภาพเหมือนของมาดามเอ็กซ์ ภาพเหมือนของนายแพทย์กาแช ภาพเหมือนของสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 ภาพเหมือนของชายคนหนึ่ง (ภาพเหมือนตนเอง?) ภาพเหมือนของหญิงสาว (ลา ฟอร์นารินา) ภาพเหมือนของมาฟเฟโอ บาร์เบอรินิ (คาราวัจโจ)

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภาพเหมือนผู้อุทิศ http://www.davis-art.com/portal/dai/DAIdefault.asp... http://employees.oneonta.edu/farberas/arth/arth214... http://www.nga.gov/cgi-bin/pinfo?Object=56+0+none http://www.nga.gov/exhibitions/2006/diptych/diptyc... http://www.metmuseum.org/toah/hd/neth/hd_neth.htm http://commons.wikimedia.org/wiki/File:Fouquet_Mad... http://commons.wikimedia.org/wiki/File:Gloucester_... http://commons.wikimedia.org/wiki/File:Jan_van_Eyc... http://commons.wikimedia.org/wiki/Image:9652_-_Mil... http://it.wikipedia.org/wiki/Piovano_Arlotto