รูปสัญลักษณ์ของภาพผู้อุทิศ ของ ภาพเหมือนผู้อุทิศ

“พระเยซูตรึงกางเขน” โดย อัลเบร็ช อัลท์ดอร์เฟอร์ (Albrecht Altdorfer) ราว ค.ศ. 1514 กับคู่ผู้อุทิศขนาดจิ๋วที่ปลายเท้าของบุคคลหลักในภาพ อัลท์ดอร์เฟอร์เป็นจิตรกรเอกคนสุดท้ายที่ยังวาดภาพแบบนี้อยู่ “การนำพระเยซูเข้าวัด” ราวปี ค.ศ. 1470 ผู้ที่ที่ยืนข้างครอบครัวพระเยซูเป็นเด็กหญิงสองคนที่แต่งตัวอย่างดีและชายหนุ่มทางขวาอาจจะเป็นผู้อุทิศภาพ[14]

ในยุคกลางผู้อุทิศมักจะมีขนาดเล็กกว่าบุคคลหลักในภาพมาก แต่เดิร์ค ค็อคซ์เริ่มสังเกตว่าเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงในคริสต์ศตวรรษ 14 แต่ก็มีตัวอย่างที่พบที่เริ่มในหนังสือมาก่อนหน้านั้น[15] การเขียนในสมัยต่อมาขนาดผู้อุทิศมักจะมีขนาดราวสามในสี่ของบุคคลหลักในภาพ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษ 15 ในสมัยจิตรกรรมยุคเนเธอร์แลนด์ตอนต้น จิตรกรเช่นยาน ฟาน เอครวมภาพเหมือนผู้อุทิศเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของภาพโดยมีขนาดเท่าเทียมกับบุคคลหลักในภาพ

ลักษณะคล้ายคลึงกันก็พบในการเขียนภาพของฟลอเรนซ์ในช่วงระยะเวลาเดียวกัน เช่นในงานเขียน “ตรีเอกานุภาพ” โดยมาซาชิโอ ที่เขียนระหว่างปี ค.ศ. 1425-1428 ในบาซิลิกาซานตามาเรียโนเวลลา แต่ผู้อุทิศยังคุกเข่าบนบันไดนอกบริเวณหัวใจของภาพ[16] แต่การวิวัฒนาการนี้ไม่ปรากฏในงานเขียนของเวนิสจนกระทั่งร้อยปีหลังจากนั้น[17] ตามปกติแล้วบุคคลหลักในภาพมักจะไม่แสดงความสนใจกับผู้อุทิศ แต่นักบุญผู้เป็นผู้ร่วมเหตุการณ์อาจจะวางมือบนไหล่ผู้อุทิศบนบานข้างก็ได้ แต่ในหัวข้อการเขียนการชื่นชมเช่นในภาพพระแม่มารีและพระบุตรซึ่งมักจะเป็นหัวเรื่องการวาดสำหรับการใช้ภายในที่อยู่อาศัยของผู้อุทิศ บุคคลหลักในภาพอาจจเปรยตาให้หรือประทานพรให้แก่ผู้อุทิศเช่นในภาพที่เขียนโดยฮันส์ เม็มลิง

ก่อนคริสต์ศตวรรษ 15 จิตรกรก็อาจจะไม่ได้พยายามเขียนภาพให้เหมือนผู้อุทิศจริงๆ เพราะผู้อุทิศอาจจะไม่มีเวลามานั่งเป็นแบบให้จิตรกรหรือผู้อุทิศอาจจะเสียชีวิตไปแล้วก็ได้[18]แต่เมื่อมาถึงคริสต์ศตวรรษ 15 วิธีภาพเหมือนผู้อุทิศก็เปลี่ยนไป ภาพผู้อุทิศที่ยังเหลืออยู่จะเห็นได้ว่าผู้อุทิศตั้งอกตั้งใจวางท่าให้จิตรกรเขียนอย่างจริงจัง

ผู้อุทิศเริ่มจะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในภาพที่อาจจะริเริ่มโดยโรเจียร์ ฟาน เดอ เวย์เด็น ที่จะสังเกตได้จากการแต่งตัวที่หรูและมีราคาของผู้อุทิศ ในฟลอเรนซ์ภาพเหมือนของบุคคลสำคัญๆ ในหมู่คนที่เห็นเหตุการณ์เริ่มเขียนกันแล้วในภาพเหตุการณ์ที่ประกอบด้วยชุมชน (ที่กล่าวถึงโดยลีออน บาตติสตา อัลเบอร์ติ) ในภาพ “ขบวนแมไจ” โดยเบนนอซโซ กอซโซลิ (ค.ศ. 1459-1461) ที่อยู่ในชาเปลส่วนตัวในวังเมดิชิ ที่เป็นขบวนอันหรูหราของบุคคลสำคัญๆ ของตระกูลเมดิชิและพรรคพวก ภายในปีค.ศ. 1490 เมื่อโดเมนนิโค เกอร์ลันเดาเขียนจิตรกรรมฝาผนังในชาเปลทอร์นาบุโอนิเสร็จก็ได้เห็นภาพเหมือนของสมาชิกของตระกูลทอร์นาบุโอนิและพรรคพวกในหลายฉากที่เขียนและมิได้เป็นแต่ภาพคุกเข่าเช่นภาพเหมือนของจิโอวานนิ ทอร์นาบุโอนิเองและภรรยา[19]

การเขียนภาพเหมือนผู้อุทิศได้รับการเสียดสีในบทที่มักจะอ้างถึงกันของจอห์น โพพ-เฮนเนสซีที่แพร่หลายในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่กล่าวถึงผู้อุทิศชาวอิตาลีว่า:[20]

“การเขียนภาพเหมือนผู้อุทิศก็มากขึ้นมากขึ้นทุกวัน ...ความมีหน้ามีตาในสังคมและการมีภาพเหมือนพัวพันกันจนแยกไม่ออก, และไม่มีอะไรที่ผู้อุทิศจะไม่ยอมทำในการที่จะเบียดตัวเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของภาพ ไม่ว่าจะให้เป็นคนขว้างก้อนหินไปยังผู้หญิงที่ถูกจับได้ว่านอกใจ หรือให้เป็นคนทำความสะอาดหลังจากการพลีชีพ หรือเป็นคนเสิร์พอาหารที่โต๊ะในภาพพระกระยาหารค่ำที่เอ็มมัส... ภาพชายแก่ในเรื่องซูซานาห์เห็นจะเป็นเพียงไม่ภาพกี่ภาพเท่านั้นแหละที่ผู้ที่มีหน้ามีตาในสังคมเวนิสไม่ยอมเป็นแบบให้ ...สิ่งที่ผู้อุทิศไม่สามารถทราบล่วงหน้าได้ก็คือหน้าตาของเขาเหล่านั้นยังคงมีให้เราดูแต่ชื่อนั้นหายสาปสูญกันไปหมดแล้ว”

ในอิตาลีผู้อุทิศหรือเจ้าของภาพจะเกือบไม่ปรากฏตัวเป็นคนสำคัญของศาสนา แต่ในราชสำนักในยุโรปตอนเหนือมีตัวอย่างหลายตัวอย่างจากคริสต์ศตวรรษที่ 15 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่ส่วนใหญ่จะเป็นแผงเล็กและเป็นแผงส่วนตัวที่ผู้อุทิศจะเป็นแบบให้บุคคลสำคัญ[5] ตัวอย่างชิ้นที่มีชื่อคือภาพ “พระแม่มารีให้นม” (Virgin lactans) โดยฌอง โฟเคท์ที่พระพักตร์ของพระแม่มารีเป็นใบหน้าของแอ็กเนส ซอเรล (Agnès Sorel) พระสนมของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศส

ภาพเหมือนผู้อุทิศทางศาสนาเขียนกันจนมาถึงสมัยบาโรกจนเมื่อวิวัฒนาการไปเป็นจิตรกรรมประวัติศาสตร์ แต่แตกต่างกันตรงที่ผู้อุทิศกลายเป็นบุคคลหลักของภาพ การวิวัฒนาการต่อมาคือภาพเหมือนประวัติศาสตร์ที่ผู้อุทิศเป็นแบบสำหรับบุคคลในประวัติศาสตร์หรือในตำนานปรัมปรา

แม้ว่าการศึกษาภาพเหมือนผู้อุทิศจะมีไม่มากพอที่จะแบ่งเป็นประเภทการเขียนอีกประเภทหนึ่ง แต่ก็หัวเรื่องนี้ก็เริ่มได้รับความสนใจมากขึ้นในระยะเวลาไม่นานที่ผ่านมา และการถกเถียงกันในหัวข้อความเกี่ยวข้องกับความนิยมในการเป็นตัวของตัวเองในต้นยุคเรเนอซองต์ หรือความเปลี่ยนแปลงของรูปสัญลักษณ์หลังจากกาฬโรคระบาดในยุโรปในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 14[21] เป็นต้น

ใกล้เคียง

ภาพเหมือนตนเอง ภาพเหมือนอาร์นอลฟีนี ภาพเหมือนผู้อุทิศ ภาพเหมือน ภาพเหมือนของมาดามเอ็กซ์ ภาพเหมือนของนายแพทย์กาแช ภาพเหมือนของสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 ภาพเหมือนของชายคนหนึ่ง (ภาพเหมือนตนเอง?) ภาพเหมือนของหญิงสาว (ลา ฟอร์นารินา) ภาพเหมือนของมาฟเฟโอ บาร์เบอรินิ (คาราวัจโจ)

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภาพเหมือนผู้อุทิศ http://www.davis-art.com/portal/dai/DAIdefault.asp... http://employees.oneonta.edu/farberas/arth/arth214... http://www.nga.gov/cgi-bin/pinfo?Object=56+0+none http://www.nga.gov/exhibitions/2006/diptych/diptyc... http://www.metmuseum.org/toah/hd/neth/hd_neth.htm http://commons.wikimedia.org/wiki/File:Fouquet_Mad... http://commons.wikimedia.org/wiki/File:Gloucester_... http://commons.wikimedia.org/wiki/File:Jan_van_Eyc... http://commons.wikimedia.org/wiki/Image:9652_-_Mil... http://it.wikipedia.org/wiki/Piovano_Arlotto