ประวัติ ของ ภาพเหมือนผู้อุทิศ

จิตรกรรมฝาผนังจากคริสต์ศตวรรษที่ 13 ที่มิลาน: พระแม่มารีกับพระบุตร, นักบุญแอมโบรสและผู้อุทิศ โดยโบนามิโค ทาแวร์นา (รายละเอียด[7])

การวาดภาพเหมือนผู้อุทิศมีมาตั้งแต่ปลายสมัยกรีกโรมันราวคริสต์ศตวรรษที่ 6 ภาพเหมือนในงานเขียน “ไดโอสโคริดีสฉบับเวียนนา” (Vienna Dioscurides) โดยนายแพทย์กรีกเพดานิอุส ไดโอสโคริดีส (Pedanius Dioscorides) ในคริสต์ศตวรรษที่ 6 อาจจะเป็นงานเขียนที่สะท้อนให้เห็นการริเริ่มการเขียนภาพผู้อุทิศทรัพย์ให้เขียนหนังสือในหนังสือเล่มเดียวกันนั้น ประเพณีอีกอย่างหนึ่งที่เริ่มมาก่อนหน้านั้นคือภาพของเจ้านายกับบุคคลในศาสนาที่มักจะเป็นพระเยซูหรือพระแม่มารีในทำนองเดียวกับภาพของคริสต์ศาสนา แม้จะไม่มีหลักฐานเหลือให้ชมแต่ก็ยังมีข้อเขียนที่กล่าวถึงเกี่ยวกับภาพเหมือนผู้อุทิศในชาเปลเล็กจากสมัยคริสเตียนตอนต้น[8] ธรรมเนียมนี้อาจจะทำกันต่อมาในวัดของผู้นอกศาสนา ต่อมาก็เริ่มเผยแพร่เข้ามาในสังคมของผู้นับถือคริสต์ศาสนา โดยเฉพาะในการเขียนหนังสือวิจิตรที่มักจะมีภาพเหมือนของเจ้าของ ในสมัยต้นยุคกลาง บาทหลวง, หลวงพ่อ และนักบวชอื่นๆ มักจะปรากฏในภาพเขียนทางศาสนาแทนที่จะเป็นภาพเจ้านาย และเป็นภาพที่ยังเขียนกันมากในสมัยต่อมา[9]

ภาพเหมือนผู้อุทิศของขุนนางและนักธุรกิจผู้มีฐานะเริ่มจะเป็นที่นิยมกันในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ในขณะเดียวกับที่ชนชั้นเดียวกันนี้เริ่มจ้างให้ช่างเขียนภาพเหมือนของตนเอง แต่ภาพที่หลงเหลืออยู่จากจากก่อน ค.ศ. 1450 มักจะเป็นภาพเหมือนของผู้อุทิศที่พบในคริสต์ศาสนสถานเสียมากกว่าที่จะเป็นจิตรกรรมแผงของภาพเหมือนส่วนบุคคล ภาพเหมือนผู้อุทิศที่พบโดยทั่วไปในศิลปะแบบเนเธอร์แลนด์ตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 มักจะเป็นบานพับภาพสองของพระแม่มารีและพระบุตรบนแผงซ้ายและ “ผู้อุทิศ” บนแผงขวา - ผู้อุทิศในกรณีนี้คือเจ้าของภาพ และเป็นภาพที่มักจะเขียนสำหรับการเก็บไว้สักการระในบ้านเรือน ในภาพเหมือนเหล่านี้ผู้อุทิศมักจะอยู่ในท่าสวดมนต์[10] หรืออาจจะวางท่าเช่นเดียวกับการวางท่าสำหรับภาพเหมือนที่ไม่ใช่ภาพเหมือนทางศาสนา[11] เช่นใน “ฉากแท่นบูชาวิลทัน” ที่สมเด็จพระเจ้าริชาร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษ ทรงเป็นผู้อุทิศในภาพ ในบานพับภาพสองบางภาพภาพเหมือนของเจ้าของเดิมอาจจะถูกเขียนทับเป็นเจ้าของใหม่ก็ได้[12]

ประเพณีอย่างหนึ่งของการเขียนหนังสือวิจิตรก็คือการ “การมอบภาพเหมือน” ซึ่งเป็นการเริ่มหนังสือด้วยภาพที่มักจะเป็นภาพผู้คุกเข่า “มอบ” หนังสือให้แก่เจ้าของหรือผู้จ้างให้เขียนหนังสือ ผู้ที่ “มอบ” อาจจะเป็นข้าราชสำนักผู้มอบหนังสือเป็นของขวัญแก่เจ้านาย แต่โดยทั่วไปแล้วจะเป็นนักประพันธ์/จิตรกร หรือผู้คัดหนังสือ ซึ่งในกรณีนี้ผู้รับเป็นผู้จ่ายค่าสร้างหนังสือ[13]

ใกล้เคียง

ภาพเหมือนตนเอง ภาพเหมือนอาร์นอลฟีนี ภาพเหมือนผู้อุทิศ ภาพเหมือน ภาพเหมือนของมาดามเอ็กซ์ ภาพเหมือนของนายแพทย์กาแช ภาพเหมือนของสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 ภาพเหมือนของชายคนหนึ่ง (ภาพเหมือนตนเอง?) ภาพเหมือนของหญิงสาว (ลา ฟอร์นารินา) ภาพเหมือนของมาฟเฟโอ บาร์เบอรินิ (คาราวัจโจ)

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภาพเหมือนผู้อุทิศ http://www.davis-art.com/portal/dai/DAIdefault.asp... http://employees.oneonta.edu/farberas/arth/arth214... http://www.nga.gov/cgi-bin/pinfo?Object=56+0+none http://www.nga.gov/exhibitions/2006/diptych/diptyc... http://www.metmuseum.org/toah/hd/neth/hd_neth.htm http://commons.wikimedia.org/wiki/File:Fouquet_Mad... http://commons.wikimedia.org/wiki/File:Gloucester_... http://commons.wikimedia.org/wiki/File:Jan_van_Eyc... http://commons.wikimedia.org/wiki/Image:9652_-_Mil... http://it.wikipedia.org/wiki/Piovano_Arlotto