ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ

ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ (อังกฤษ: Public Health Emergency of International Concern : PHEIC) คือการประกาศอย่างเป็นทางการโดยองค์การอนามัยโลกซึ่งเหตุการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อนานาประเทศ จากการแพร่ระบาดระหว่างประเทศและต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างประเทศในการรับมือกับเหตุการณ์นั้น ๆ [1][2] ภายใต้กฎอนามัยระหว่างประเทศ ค.ศ. 2005 (International Health Regulations : IHR) รัฐมีหน้าที่ต้องตอบสนองทันทีต่อภาวะฉุกเฉินดังกล่าว[2]การประกาศภาวะฯ ได้รับการเผยแพร่โดยคณะกรรมการฉุกเฉิน (EC) ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญระหว่างประเทศที่ดำเนินงานภายใต้ IHR [3] ภายหลังการระบาดของโรคซาร์สเมื่อปี 2002[4]ตั้งแต่ปี 2009 เป็นต้นมา องค์การอนามัยโลกได้ประกาศภาวะฉุกเฉินฯ ทั้งสิ้น 6 ครั้ง[5] ประกอบด้วย การระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009, การระบาดของโรคโปลิโอ 2014, การระบาดของไวรัสอีโบลาในแอฟริกาตะวันตก 2014, การระบาดของไวรัสซิกา 2015–16[6], การระบาดทั่วของอีโบลาในกีวู[7] และการระบาดของโคโรนาไวรัส 2020[8] การประกาศถือว่าเป็นการชั่วคราวที่ต้องได้รับการทบทวนทุก ๆ สามเดือน[2]

ใกล้เคียง

ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ ภาวะฉุกเฉิน ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ ภาวะโลกร้อน ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็ก ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ ภาวะเงินเฟ้อ ภาวะสมองเสื่อม ภาวะไม่รู้ใบหน้า ภาวะคอเลสเตอรอลสูงในเลือด

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/29345996 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5803810 http://www.who.int/features/qa/emergency-committee... //doi.org/10.1093%2Foso%2F9780198828945.003.0004 //doi.org/10.2105%2FAJPH.2017.304245 //www.worldcat.org/issn/0090-0036 http://envocc.ddc.moph.go.th/p/ihr-thailand https://www.oxfordscholarship.com/view/10.1093/oso... https://www.washingtonpost.com/news/monkey-cage/wp... https://www.who.int/ihr/about/en/