ภาวะคอเลสเตอรอลสูงในเลือด
ภาวะคอเลสเตอรอลสูงในเลือด

ภาวะคอเลสเตอรอลสูงในเลือด

ภาวะคอเลสเตอรอลสูงในเลือด (อังกฤษ: hypercholesterolemia, high cholesterol) หรือ คอเลสเตอรอลสูง เป็นการมีคอเลสเตอรอลในเลือดสูง[1]เป็นรูปแบบหนึ่งของภาวะสารไขมันสูงในเลือด (hyperlipidemia), ของภาวะมีไลโพโปรตีนสูงในเลือด (hyperlipoproteinemia) และของภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ (dyslipidemia)[1]การมีคอเลสเตอรอลหนาแน่นต่ำ (LDL) และแบบอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ HDL ในเลือดสูงอาจเป็นผลของอาหาร โรคทางพันธุกรรม (เช่น การกลายพันธุ์ของ LDL receptor ในภาวะคอเลสเตอรอลสูงในเลือดชนิดครอบครัว)หรือการมีโรคอื่น ๆ เช่น เบาหวานชนิดที่ 2 และภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย[1]คอเลสเตอรอลเป็นลิพิดประเภทหนึ่งในลิพิดหลัก 3 อย่างที่เซลล์ทั้งหมดของสัตว์ผลิตและใช้เพื่อสร้างเยื่อหุ้มเซลล์ส่วนเซลล์พืชผลิต phytosterol (ซึ่งคล้าย ๆ คอเลสเตอรอล) แต่เป็นจำนวนน้อยกว่า[2]คอเลสเตอรอลเป็นตัวตั้งต้นของฮอร์โมนสเตอรอยด์และกรดน้ำดีเพราะคอเลสเตอรอลละลายน้ำไม่ได้ จึงต้องขนส่งในเลือดโดยบรรจุในอนุภาคโปรตีน คือ ไลโพโปรตีนซึ่งสามารถจัดเป็นหมวด ๆ โดยความหนาแน่น คือ ไลโพโปรตีนหนาแน่นต่ำมาก (VLDL) ไลโพโปรตีนหนาแน่นปานกลาง (IDL) ไลโพโปรตีนหนาแน่นต่ำ (LDL) และไลโพโปรตีนหนาแน่นสูง (HDL)[3]ไลโพโปรตีนทุกชนิดมีหน้าที่บรรทุกคอเลสเตอรอลไป แต่การมีไลโพโปรตีนสูงนอกจาก HDL โดยเฉพาะ LDL ทำให้เสี่ยงมีภาวะหลอดเลือดแข็งและโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจเพิ่มขึ้น[4]ในนัยตรงกันข้าม การมี HDL สูงจะช่วยป้องกันโรคเหล่านั้น[5]ในผู้ใหญ่ การหลีกเลี่ยงกินไขมันทรานส์และการแทนไขมันอิ่มตัวในอาหารด้วยไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่หลายคู่ (polyunsaturated fats) เป็นวิธีการลดคอเลสเตอรอลรวมและ LDL ในเลือด[6][7]สำหรับคนที่มีคอเลสเตอรอลสูงมาก (เช่น มีภาวะคอเลสเตอรอลสูงในเลือดชนิดครอบครัว) การเปลี่ยนอาหารมักจะไม่พอลด LDL ให้ถึงระดับที่ต้องการ ดังนั้น จึงต้องกินยาลดไขมัน[8]ถ้าจำเป็น มีวิธีการรักษาอื่น ๆ รวมทั้งการกรอง LDL ในเลือดออก (LDL apheresis) หรือแม้แต่การผ่าตัด (โดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะคอเลสเตอรอลสูงในเลือดชนิดครอบครัวแบบรุนแรง)[8]รายงานผลสำรวจสุขภาพของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขเมื่อปี พ.ศ. 2557 พบว่า ประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป มีไขมันคอเลสเตอรอลในเลือดสูงเกินกว่ามาตรฐานที่กำหนด (200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร) ถึงร้อยละ 44 หรือคิดเป็นจำนวนประมาณ 26 ล้านคน โดยแบ่งเป็นผู้ชายร้อยละ 41 และผู้หญิงร้อยละ 47[9]

ภาวะคอเลสเตอรอลสูงในเลือด

สาขาวิชา หทัยวิทยา
ภาวะแทรกซ้อน โรคท่อเลือดแดงและหลอดเลือดแดงแข็ง, หลอดเลือดมีลิ่มเลือด, ภาวะสิ่งหลุดอุดหลอดเลือด, หัวใจวาย, โรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน, ภาวะหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจมีลิ่มเลือด, ภาวะไขมันอุดหลอดเลือด, โรคระบบหัวใจหลอดเลือด
ชื่ออื่น Hypercholesterolaemia, คอเลสเตอรอลสูง (high cholesterol)
สาเหตุ อาหารไม่ถูกสุขภาพ, อาหารที่ไม่มีคุณค่า, อาหารฟาสต์ฟู้ด, เบาหวาน, โรคพิษสุรา, monoclonal gammopathy, การล้างไต, กลุ่มอาการเนโฟรติก, ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย, กลุ่มอาการคุชิง, โรคเบื่ออาหารเหตุจิตใจ
โรคอื่นที่คล้ายกัน ภาวะสารไขมันสูงในเลือด, ภาวะไทรกลีเซอไรด์สูงในเลือด

ใกล้เคียง

ภาวะคู่หรือคี่ของ 0 ภาวะคอเลสเตอรอลสูงในเลือด ภาวะความเป็นชายเป็นพิษ ภาวะคู่หรือคี่ (คณิตศาสตร์) ภาวะคู่กันปวงกาเร ภาวะคอนเวกซ์ (เศรษฐศาสตร์) ภาวะความดันเลือดสูง ภาวะคันต่างที่ ภาวะคาร์บอนมอนอกไซด์พิษ ภาวะคิดว่าตนเขื่อง

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภาวะคอเลสเตอรอลสูงในเลือด https://doi.org/10.1016%2FS0140-6736(03)14234-1 https://doi.org/10.1021%2Fed082p1791 https://doi.org/10.1152%2Fadvan.00048.2003 https://doi.org/10.1161%2F01.CIR.0000131511.50734.... https://doi.org/10.1038%2Fncpcardio0500 https://doi.org/10.1136%2Fbmj.h3978 https://doi.org/10.1016%2Fj.jacl.2011.04.001 https://doi.org/10.1136%2Fbmj.a993 https://doi.org/10.1161%2FATVBAHA.108.179739 https://doi.org/10.1161%2F01.CIR.97.18.1876