การรักษา ของ ภาวะคอเลสเตอรอลสูงในเลือด

การรักษาจะขึ้นอยู่กับระดับความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจโดยแบ่งเป็น 4 ระดับ[50]ซึ่งใช้ระดับคอเลสเตอรอล LDL เป็นเป้าหมายและขีดเริ่มเปลี่ยนในการรักษาต่าง ๆ[50]ระดับเสี่ยงยิ่งสูงเท่าไร ขีดเริ่มเปลี่ยนของคอเลสเตอรอลก็ต่ำลงเท่านั้น[50]

ขีดเริ่มเปลี่ยนของระดับคอเลสเตอรอล LDL[50]
ความเสี่ยง เกณฑ์ เปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิต เปลี่ยนยา
จำนวนปัจจัยเสี่ยง† ความเสี่ยงใน 10 ปีที่จะมี
โรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ
mmol/litre mg/dL mmol/litre mg/dL
สูง เป็นโรคหัวใจมาก่อนหรือ >20%>2.6[51] >100>2.6 >100
เกือบสูง 2 หรือยิ่งกว่าและ 10-20%>3.4 >130>3.4 >130
ปานกลาง 2 หรือยิ่งกว่าและ <10%>3.4 >130>4.1 >160
ต่ำ 0 หรือ 1>4.1 >160>4.9 >190
†ปัจจัยเสี่ยงรวมการสูบบุหรี่ ความดันสูง (BP ≥140/90 mm Hg หรือกินยาความดันสูง), คอเลสเตอรอล HDL ต่ำ (<40 mg/dL), ประวัติครอบครัวที่มีโรคหัวใจก่อนวัย, อายุ (ชาย ≥45 ปี; หญิง ≥55 ปี)

สำหรับผู้เสี่ยงสูง การเปลี่ยนวิถีชีวิตบวกกับการกินยาสแตตินพบว่า ลดอัตราการตาย[10]

วิถีชีวิต

วิถีชีวิตที่แนะนำให้เปลี่ยนสำหรับผู้มีคอเลสเตอรอลสูงรวมทั้งเลิกสูบบุหรี่ จำกัดการดื่มสุรา เพิ่มออกกำลังกาย และรักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์[19]คนน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วนสามารถลดคอเลสเตอรอลในเลือดโดยการลดน้ำหนัก โดยเฉลี่ยแล้ว การลดน้ำหนักหนึ่งกิโลกรัมสารถลดคอเลสเตอรอล LDL ได้ 0.8 mg/dl[8]

อาหาร

การทานอาหารที่มีผัก ผลไม้ และใยอาหารมาก มีไขมันต่ำ จะลดคอเลสเตอรอลรวมได้พอสมควร[52][53][8]

การได้คอเลสเตอรอลจากอาหาร จะทำให้ระดับในเลือดสูงขึ้นเล็กน้อย[54][55]โดยสูงขึ้นแค่ไหนจะพยากรณ์ได้โดยใช้สูตรของคียส์[56][upper-alpha 1]และสูตรของเฮ็กสเต็ด (อังกฤษ: Hegsted equation)[59][upper-alpha 2]

เคยมีแนวทางปฏิบัติให้จำกัดคอเลสเตอรอลในอาหารในสหรัฐ แต่ก็ไม่มีในแคนาดา ในสหราชอาณาจักร หรือในออสเตรเลีย[54]อย่างไรก็ดี ในปี 2015 สหรัฐก็ได้เลิกข้อแนะนำให้จำกัดคอเลสเตอรอลจากอาหาร[62]

งานปริทัศน์เป็นระบบของคอเคลนปี 2020 พบว่าการแทนไขมันอิ่มตัวด้วยไขมันไม่อิ่มตัวลดโรคหัวใจและหลอดเลือดลงเล็กน้อยเพราะลดคอเลสเตอรอลในเลือด[63]แต่งานปริทัศน์เป็นระบบอื่น ๆ กลับไม่พบผลของไขมันอิ่มตัวต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด[64][7]ไขมันทรานส์จัดเป็นปัจจัยเสี่ยงสำหรับโรคหัวใจและหลอดเลือดที่เกี่ยวกับคอเลสเตอรอล ดังนั้นจึงแนะนำให้ผู้ใหญ่หลีกเลี่ยงไขมันทรานส์[7]สมาคมลิพิดแห่งชาติสหรัฐ (NLA) แนะนำให้ผู้ที่มีภาวะโรคชนิดครอบครัวจำกัดการกินไขมันให้เหลือเพียง 25-35% ของพลังงานทั้งหมดที่ได้[8] สำหรับอาหารที่มีพลังงานต่ำ การเปลี่ยนการกินไขมันดูเหมือนจะไม่มีผลต่อคอเลสเตอรอลในเลือด[65]

การเพิ่มกินใยอาหารที่ละลายน้ำได้พบว่า ลดระดับคอเลสเตอรอลแบบ LDL ได้โดยใยอาหารแต่ละกรัมจะลด LDL โดยเฉลี่ย 2.2 mg/dL (0.057 mmol/L)[66]การเพิ่มกินธัญพืชแบบไม่ขัดสียังพบว่าลดคอเลสเตอรอลแบบ LDL ได้ด้วย โดยข้าวโอ๊ตไม่ขัดสีให้ผลดีเป็นพิเศษ[67]การเพิ่ม phytosterols และ phytostanols จากพืช 2 กรัม/วัน และไฟเบอร์ละลายน้ำได้ 10-20 กรัม/วัน พบว่าลดการดูดซึมคอเลสเตอรอลจากอาหาร[8] อาหารที่มีฟรักโทสมากสามารถเพิ่มระดับคอเลสเตอรอล LDL ในเลือด[68]

ยา

แพทย์มักจะรักษาโดยสั่งยาสแตตินและให้เปลี่ยนการดำเนินชีวิตให้ถูกสุขภาพยิ่งขึ้น[69]สแตตินสามารถลดคอเลสเตอรอลรวมประมาณครึ่งหนึ่งสำหรับคนโดยมาก[38]และมีประสิทธิภาพลดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดในคนทั้งที่มี[70]และไม่มีโรคหัวใจและหลอดเลือดมาก่อน[71][72][73][74]ในบุคคลที่ไม่มีโรคหัวใจและหลอดเลือด สแตตินพบว่าลดอัตราการตายจากเหตุทั้งหมด ลดโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจทั้งที่ถึงตายและไม่ถึงตาย และลดโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน[75]โดยประโยชน์จะยิ่งขึ้นเมื่อให้กินยามาก (high-intensity statin therapy)[76]สแตตินอาจเพิ่มคุณภาพชีวิตสำหรับบุคคลที่ไม่มีโรคหัวใจและหลอดเลือดมาก่อน (คือเพื่อป้องกันโรคระดับปฐมภูมิ)[75]แม้สแตตินจะลดระดับคอเลสเตอรอลในเด็กที่มีโรคนี้ แต่จนถึงปี 2010 ก็ไม่พบว่าทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น[77]และจริง ๆ การเปลี่ยนอาหารก็เป็นวิธีรักษาหลักสำหรับเด็ก[38]

ยาอื่น ๆ ที่หมออาจจะให้รวมทั้ง fibrate, ไนอาซิน และคอเลสไตรามีน[78]แต่ปกติ นี้จะแนะนำก็ต่อเมื่อคนไข้ทนรับสแตตินไม่ได้ หรือสำหรับหญิงมีครรภ์[78]สารภูมิต้านทานสำหรับฉีดต่อต้านโปรตีน PCSK9 (รวมทั้ง evolocumab, bococizumab, alirocumab) ลดคอเลสเตอรอลได้ และพบว่าลดอัตราการตายด้วย[79]

แนวทางปฏิบัติ

ประเทศไทยมีแนวทางเวชปฏิบัตการใช้ยารักษาภาวะไขมันผิดปกติเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด พ.ศ. ๒๕๕๙ จากสมาคมโรคหลอดแดงแห่งประเทศไทย โดยได้รับอนุญาตจากราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย[80]

กลุ่มประชากรโดยเฉพาะ ๆ

สำหรับผู้มีการคาดหมายคงชีพค่อนข้างสั้น ภาวะนี้จะไม่เป็นปัจจัยเสี่ยงให้ตายไม่ว่าจะด้วยเหตุใด ๆ แม้กระทั่งโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ[81]สำหรับผู้อายุมากกว่า 70 ปี ภาวะนี้ไม่เป็นปัจจัยเสี่ยงให้เข้าโรงพยาบาลเนื่องกับกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดหรืออาการปวดเค้นหัวใจ[81]สำหรับผู้อายุเกิน 85 ปี การใช้ยาสแตตินจะเสี่ยงเพิ่มขึ้น[81]ด้วยเหตุนี้ ยาลดระดับลิพิดจึงไม่ควรใช้เป็นปกติกับผู้มีการคาดหมายคงชีพจำกัด[81]American College of Physicians แนะนำการรักษาผู้มีภาวะนี้ที่มีเบาหวาน คือ[82]

  1. ควรใช้ยาลดลิพิดเป็นการป้องกันในระดับทุติยภูมิ เพื่อป้องกันความตายและภาวะเนื่องกับโรคหัวใจและหลอดเลือดสำหรับผู้ใหญ่ ที่มีโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจและเบาหวานชนิด 2
  2. สแตตินควรใช้เป็นการป้องกันในระดับปฐมภูมิ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคหลอดเลือดส่วนปลาย สำหรับผู้ใหญ่ที่มีเบาหวานชนิด 2 และปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดอื่น ๆ
  3. หลังจากที่เริ่มการรักษาเพื่อลดลิพิด คนที่มีเบาหวานชนิด 2 ควรจะกินยาสแตตินในขนาดปานกลาง (moderate) เป็นอย่างน้อย[83]
  4. สำหรับคนไข้เบาหวานชนิด 2 ที่กินยาสแตติน การตรวจการทำงานของตับหรือตรวจเอนไซม์จากกล้ามเนื้อไม่แนะนำยกเว้นในกรณีโดยเฉพาะ ๆ

แพทย์ทางเลือก

งานสำรวจปี 2002 ของสหรัฐพบว่า ในบรรดาผู้ใหญ่ที่ใช้การรักษาโดยแพทย์ทางเลือก มี 1.1% เท่านั้นที่ใช้เพื่อรักษาภาวะคอเลสเตอรอลสูง55% ของคนไข้เหล่านั้นใช้ร่วมกับการรักษาของแพทย์ปัจจุบันซึ่งเหมือนกับการสำรวจครั้งก่อน ๆ[84]งานปริทัศน์เป็นระบบปี 2011[85]เกี่ยวกับประสิทธิภาพของยาจีนได้ผลที่สรุปไม่ได้เพราะงานที่มีให้ทบทวนใช้ระเบียบวิธีที่ไม่ดี งานทบทวนปี 2009 พบว่าการใช้ยา phytosterols และ/หรือ phytostanols โดยเฉลี่ย 2.15 กรัมต่อวันลดคอเลสเตอรอล LDL ได้ 9% โดยเฉลี่ย[86]ในปี 2000 องค์การอาหารและยาสหรัฐได้อนุมัติการลงป้ายอาหารที่มี phytosterol หรือ phytostanol ตามจำนวนที่กำหนดว่า ช่วยลดคอเลสเตอรอล แต่ในปี 2003 ก็ขยายอนุญาตให้ใช้ป้ายสำหรับทั้งอาหารและอาหารเสริมที่ให้ phytosterol หรือ phytostanol เกิน 0.8 กรัมต่อวัน แต่นักวิจัยบ้างพวกก็เป็นห่วงเรื่องการมีอาหารเสริมที่เป็นเอสเทอร์สเตอรอลของพืช และชี้ว่าไม่มีข้อมูลความปลอดภัยในระยะยาว[87]

ใกล้เคียง

ภาวะคู่หรือคี่ของ 0 ภาวะคอเลสเตอรอลสูงในเลือด ภาวะความเป็นชายเป็นพิษ ภาวะคู่หรือคี่ (คณิตศาสตร์) ภาวะคู่กันปวงกาเร ภาวะคอนเวกซ์ (เศรษฐศาสตร์) ภาวะความดันเลือดสูง ภาวะคันต่างที่ ภาวะคาร์บอนมอนอกไซด์พิษ ภาวะคิดว่าตนเขื่อง

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภาวะคอเลสเตอรอลสูงในเลือด https://doi.org/10.1016%2FS0140-6736(03)14234-1 https://doi.org/10.1021%2Fed082p1791 https://doi.org/10.1152%2Fadvan.00048.2003 https://doi.org/10.1161%2F01.CIR.0000131511.50734.... https://doi.org/10.1038%2Fncpcardio0500 https://doi.org/10.1136%2Fbmj.h3978 https://doi.org/10.1016%2Fj.jacl.2011.04.001 https://doi.org/10.1136%2Fbmj.a993 https://doi.org/10.1161%2FATVBAHA.108.179739 https://doi.org/10.1161%2F01.CIR.97.18.1876