อาการ ของ ภาวะคอเลสเตอรอลสูงในเลือด

กระเหลืองหนังตา (Xanthelasma palpebrarum) เป็นตุ่มเหลือง ๆ ที่หนังตาซึ่งมีคอเลสเตอรอลอยู่ข้างใน ผู้มีภาวะคอเลสเตอรอลสูงในเลือดชนิดครอบครัวจะมีอาการนี้อย่างสามัญกว่า

แม้ภาวะนี้โดยตนเองจะไม่มีอาการ แต่การมีคอเลสเตอรอลสูงในเลือดนาน ๆ อาจก่อภาวะหลอดเลือดแข็ง โดยไขมันจะเข้าไปเกาะในหลอดเลือดแดง[10]คือ เมื่อเวลาผ่านไปเป็นทศวรรษ ๆ ไขมันในเลือดสูงจะช่วยก่อตะกรันในท่อเลือดแดง (atheroma)ซึ่งจะทำให้ท่อเลือดค่อย ๆ แคบลง (stenosis)หรือตะกรันอาจจะหลุดออกไปอุดทางเดินของเลือด[11]

การอุดตันของเส้นเลือดแดงหล่อเลี้ยงหัวใจแบบฉับพลันอาจทำให้หัวใจวายการอุดตันของเส้นเลือดหล่อเลี้ยงสมองอาจก่อโรคลมเหตุหลอดเลือดสมอง (stroke)ถ้าหลอดเลือดแคบลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป เลือดก็จะไปเลี้ยงเนื้อเยื่อน้อยลงจนกระทั่งอวัยวะเริ่มมีปัญหา ในระยะนี้ การขาดเลือดของเนื้อเยื่อก็อาจปรากฏเป็นอาการโดยเฉพาะ ๆยกตัวอย่างเช่น ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว (TIA) อาจปรากฏเป็นอาการชั่วคราวรวมทั้งการมองไม่เห็น คลื่นไส้ ทรงตัวไม่ดี พูดลำบาก อัมพฤกษ์ หรือความรู้สึกสัมผัสเพี้ยน (paresthesia) โดยปกติที่ข้างเดียวของร่างกาย การมีเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่พออาจก่ออาการปวดเค้นหัวใจ การมีเลือดไปเลี้ยงตาไม่พออาจทำให้มองไม่เห็นข้างเดียวชั่วคราว (amaurosis fugax)การมีเลือดไปเลี้ยงขาไม่พออาจทำให้ปวดน่องเมื่อเดิน (claudication) การมีเลือดไปเลี้ยงลำไส้ไม่พออาจทำให้ปวดท้องหลังอาหาร (abdominal angina)[1][12]

ภาวะนี้บางชนิดก่ออาการโดยเฉพาะ ๆเช่น ภาวะคอเลสเตอรอลสูงในเลือดชนิดครอบครัว (Type IIa hyperlipoproteinemia) สัมพันธ์กับกระเหลืองหนังตา (Xanthelasma palpebrarum) ซึ่งเป็นตุ่มเหลือง ๆ ที่หนังตาซึ่งมีคอเลสเตอรอลอยู่ข้างใน[13],กับ arcus senilis คือรอบ ๆ กระจกตาจะออกสีขาว ๆ หรือเทา ๆ[14]และกับ xanthomata ซึ่งเป็นการพอกไขมันที่เส้นเอ็นโดยมักเป็นที่นิ้ว[15][16]ส่วน Type III hyperlipoproteinemia อาจสัมพันธ์กับ xanthomata ของฝ่ามือ เข่า และศอก[15]

ใกล้เคียง

ภาวะคู่หรือคี่ของ 0 ภาวะคอเลสเตอรอลสูงในเลือด ภาวะความเป็นชายเป็นพิษ ภาวะคู่หรือคี่ (คณิตศาสตร์) ภาวะคู่กันปวงกาเร ภาวะคอนเวกซ์ (เศรษฐศาสตร์) ภาวะความดันเลือดสูง ภาวะคันต่างที่ ภาวะคาร์บอนมอนอกไซด์พิษ ภาวะคิดว่าตนเขื่อง

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภาวะคอเลสเตอรอลสูงในเลือด https://doi.org/10.1016%2FS0140-6736(03)14234-1 https://doi.org/10.1021%2Fed082p1791 https://doi.org/10.1152%2Fadvan.00048.2003 https://doi.org/10.1161%2F01.CIR.0000131511.50734.... https://doi.org/10.1038%2Fncpcardio0500 https://doi.org/10.1136%2Fbmj.h3978 https://doi.org/10.1016%2Fj.jacl.2011.04.001 https://doi.org/10.1136%2Fbmj.a993 https://doi.org/10.1161%2FATVBAHA.108.179739 https://doi.org/10.1161%2F01.CIR.97.18.1876