การรักษา ของ ภาวะพิษจากเมทานอล

ภายะพิษสามารถรักษาด้วยการใช้ยา fomepizole หรือการดื่มเอทานอล[6][12][13] ทั้งคู่มีผลให้เกิดการลดลงของแอกอฮอลดีไฮโดรจีเนสในวิถีของเมทานอลผ่านการยับยั้งแบบแข่งขัน เอทานอลซึ่งเป็นองค์ประกอบออกฤทธิ์ในเครื่องดื่มแอลกอฮลจะทำหน้าที่เป็นตัวยับยั้งแข่งขัน (competitive inhibitor) ที่สามารถจับและเพิ่มความเข้มข้นของเอนไซม์ดีไฮโดรจีเนสในตับได้ดีกว่าและมีประสิทธิภาพสูงกว่า จึงส่งผลไม่ให้เมทานอลถูกเมตาบอไลส์ต่อ เมทานอลที่ไม่ถูกเมตาบอไลส์จะถูกขับออกทางไตโดยที่ไม่ต้องเปลี่ยนเป็นสารเมตาไบไลต์ที่เป็นพิษ (ฟอร์มอลดีไฮด์ และ กรดฟอร์มิก) เสียก่อน ในขณะที่แอลกอฮลดีไฮโดรจีเนสจะเเปลี่ยนเอทานอลเป็นอะซีทอลดีไฮด์ที่เป็นพิษต่ำกว่าแทน[6][14] นอกจากนี้อาจมีการรักษาเพิ่มเติมด้วยการใช้โซเดียมไบคาร์บอเนตเพื่อรักษาอาการเมตาบอลิกเอซิดอซิสและการใช้เฮโมไดอะไลซิส หรือ เฮโมไดอะฟิลเตรชั่นเพื่อขับเมทานอลและฟอร์เมตออกจากเลือด[6]นอกจากนี้อาจใช้ กรดฟอลินิก หรือ กรดฟอลิกเพื่อเพิ่มการเมตาบอไลส์กรดฟอร์มิกในร่างกาย[6]

ใกล้เคียง

ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ ภาวะพิษกาเฟอีน ภาวะพิษจากเมทานอล ภาวะพหุสัณฐานของยีน ภาวะพร่องออกซิเจน ภาวะพร่องเอนไซม์ไรโบส-5-ฟอสเฟตไอโซเมอเรส ภาวะพหุสัณฐาน (ชีววิทยา) ภาวะพร่องออกซิเจนแบบไม่แสดงอาการ ภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD ภาวะพบร่วม PHACE

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภาวะพิษจากเมทานอล http://www.bmj.com/cgi/content/full/339/sep30_1/b3... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/11134450 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/1665561 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/19458366 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/19793790 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/22998995 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/27538060 http://sds.chemtel.net/webclients/safariland/finis... http://pediatrics.aappublications.org/cgi/content/... //doi.org/10.1016%2Fj.ccc.2012.07.002