ภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่

ภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก พ.ศ. 2551–2555 เป็นการถดถอยทางเศรษฐกิจทั่วโลกที่ชัดเจนซึ่งเริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2550 และทรุดหนักโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือนกันยายน พ.ศ. 2551 ภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกกระทบต่อเศรษฐกิจของทั้งโลก โดยบางประเทศเสียหายกว่าประเทศอื่น ภาวะเศรษฐกิจถดถอยดังกล่าวมีลักษณะของความไม่สมดุลในระบบต่าง ๆ และเกิดขึ้นจากวิกฤตการณ์การเงิน พ.ศ. 2550–2551 ผลกระทบข้างเคียงทางเศรษฐกิจของวิกฤตหนี้สาธารณะยุโรป[1] ร่วมกับการเติบโตที่ช้าลงของสหรัฐอเมริกา[2]และจีน[3] ยังเป็นอุปสรรคขัดขวางการเติบโตทางเศรษฐกิจของโลกการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีความเสี่ยงที่ยากจะประเมิน ถูกวางขายทั่วโลก เครดิตเฟื่องฟูซึ่งมีหลากหลายกว่ายิ่งป้อนฟองสบู่เก็งกำไรในอสังหาริมทรัพย์และหุ้นของบริษัทจำกัด ซึ่งเสริมวิธีปฏิบัติสินเชื่อที่เสี่ยง[4][5] สถานการณ์ทางการเงินที่ไม่ปลอดภัยยิ่งยุ่งยากขึ้นไปอีกจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันและราคาอาหาร การเกิดความเสียหายจากสินเชื่อซับไพรม์ใน พ.ศ. 2550 เป็นจุดเริ่มต้นของวิกฤตการณ์ และเผยให้เห็นสินเชื่อที่เสี่ยงอื่น ๆ และราคาสินทรัพย์ที่เฟ้อเกิน ความเสียหายจากสินเชื่อเพิ่มขึ้นและการล้มละลายของเลห์แมนบราเธอร์ส (Lehman Brothers) เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2551 ทำให้เกิดความตื่นตระหนกใหญ่ในตลาดสินเชื่อระหว่างธนาคาร วาณิชธนกิจและธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่และมีฐานมั่นคงจำนวนมากในสหรัฐอเมริกาและยุโรปประสบการขาดทุนใหญ่หลวงและกระทั่งล้มละลาย ทำให้ต้องมีการให้ความช่วยเหลือทางการเงินสาธารณะอย่างใหญ่หลวงภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกนี้ได้ส่งผลให้การค้าระหว่างประเทศลดลงอย่างสาหัส อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นและราคาโภคภัณฑ์ถีบตัวสูงขึ้น ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 สำนักวิจัยเศรษฐกิจแห่งชาติ (NBER) ประกาศว่า สหรัฐอเมริกาอยู่ในภาวะเศรษฐกิจถดถอยมาตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2551[6] นักเศรษฐศาสตร์หลายคนทำนายว่า การฟื้นฟูอาจเกิดขึ้นหลัง พ.ศ. 2554 และภาวะเศรษฐกิจถดถอยนี้อาจเป็นครั้งร้ายแรงที่สุดนับตั้งแต่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930[7][8] สภาพที่นำสู่วิกฤตการณ์ ซึ่งแสดงลักษณะการเพิ่มขึ้นในราคาสินทรัพย์สูงเกินไป และการเฟื่องฟูที่สัมพันธ์กันในความต้องการทางเศรษฐกิจ ถูกมองว่าเป็นผลของการขยายเวลาของเครดิตที่หาได้ง่าย[9] และข้อบังคับและการควบคุมดูแลที่ไม่เพียงพอ[10]ภาวะเศรษฐกิจถดถอยนี้ได้นำแนวคิดเศรษฐกิจแบบเคนส์ว่าด้วยการรับมือกับสภาพเศรษฐกิจถดถอยกลับมาอีกครั้ง นโยบายการเงินและการคลังถูกทำให้ผ่อนคลายลงอย่างมากเพื่อสกัดภาวะเศรษฐกิจถดถอยและความเสี่ยงทางการเงิน นักเศรษฐศาสตร์แนะว่า ควรถอนการกระตุ้นทันทีที่เศรษฐกิจฟื้นตัวเพื่อ "ขีดเส้นทางสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน"[11][12][13]

ใกล้เคียง

ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็ก ภาวะเงินเฟ้อ ภาวะเสียการระลึกรู้ ภาวะเหล็กเกิน ภาวะเลือดจาง ภาวะเงินฝืด ภาวะเสียการระลึกรู้ทางตา ภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตนจากเบาหวาน ภาวะเพศกำกวม ภาวะเชิงการนับ

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่ http://www.bloomberg.com/apps/news?pid=newsarchive... http://money.cnn.com/2008/12/01/news/economy/reces... http://www.forbes.com/2009/01/14/global-recession-... http://www.latimes.com/business/money/la-fi-mo-ret... http://www.mcclatchydc.com/251/story/60822.html http://www.nytimes.com/2008/10/24/business/economy... http://www.reuters.com/article/newsOne/idUKTRE57K5... http://www.thefiscaltimes.com/Articles/2012/07/14/... http://www.foldvary.net/works/dep08.pdf http://www.imf.org/external/pubs/ft/weo/2009/01/pd...