สัทวิทยา ของ ภาษากฺ๋อง

พยัญชนะ

หน่วยเสียงพยัญชนะภาษากฺ๋องถิ่นกกเชียง จังหวัดสุพรรณบุรี[3]
ลักษณะการออกเสียงตำแหน่งเกิดเสียง
ริมฝีปากปุ่มเหงือกเพดานแข็งเพดานอ่อนเส้นเสียง
เสียงนาสิกmnɲŋ
เสียงกักไม่ก้องไม่พ่นลมptckʔ
พ่นลม
ก้องbdɡ
เสียงเสียดแทรกfsxh
เสียงข้างลิ้นl
เสียงเปิดwj


  • หน่วยเสียงที่เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้นและพยัญชนะท้ายมี 3 หน่วยเสียง ได้แก่ /ŋ/, /k/ และ /ʔ/
  • หน่วยเสียงพยัญชนะควบมี 4 หน่วยเสียง ได้แก่ /pʰl/, /kl/, /kʰl/ และ /bl/ เกิดในตำแหน่งต้นพยางค์เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ผู้พูดรุ่นใหม่ไม่นิยมออกเสียง /pʰl/ และ /bl/ เป็นพยัญชนะควบ โดยจะออกเสียงเฉพาะพยัญชนะตัวแรก
  • หน่วยเสียง /x/ พบเฉพาะในกลุ่มผู้พูดสูงอายุ โดยพบตัวอย่างคำเดียวคือ /xǎʔ/ 'เข็ม'
  • หน่วยเสียง /pʰ/ มีเสียงย่อย 2 เสียง ได้แก่ [pʰ] และ [f] ซึ่งมีการแปรอิสระ เช่น [e~fe] 'ไม้ (ไผ่)' ส่วนหน่วยเสียง /cʰ/ มีเสียงย่อย 2 เสียง ได้แก่ [cʰ] และ [s] ซึ่งมีการแปรอิสระเช่นกัน เช่น [ǒŋ~sǒŋ 'กิ้งก่า' ทั้งนี้ ผู้พูดรุ่นใหม่นิยมออกเสียง /pʰ/ และ /cʰ/ เป็น [f] และ [s] ตามลำดับ แต่ยังไม่เป็นทั้งระบบ

สระ

สระเดี่ยว

หน่วยเสียงสระเดี่ยวภาษากฺ๋องถิ่นกกเชียง จังหวัดสุพรรณบุรี[4]
ระดับลิ้นตำแหน่งลิ้น
หน้ากลางลิ้นหลัง
สูง    i    ɨ                 • ʉu
กึ่งสูงʊ
กลาง    e           • øəo
กึ่งต่ำ    ɛ •           œʌ
ต่ำ                 aɔ


  • หน่วยเสียง /e/ มีเสียงย่อย 2 เสียง ได้แก่ [e] และ [ɪ] โดยเสียงย่อย [e] ปรากฏในพยางค์ที่มีพยัญชนะท้าย เช่น [kěŋ] 'ตัวเอง' ส่วนเสียงย่อย [ɪ] ปรากฏในพยางค์ที่ไม่มีพยัญชนะท้าย เช่น [cɪ] 'ม้าม'
  • หน่วยเสียง /ɔ/ คือเสียง [ɔ̞] เนื่องจากเสียง /ɔ/ นั้น แท้จริงแล้วคือ เสียงกึ่งต่ำ แต่เสียง /ɒ/ จะปรากฏออกมาได้ไม่บ่อยนัก ดังนั้นค่าของเสียงหลักคือ เสียง /ɔ/

สระประสม

ภาษากฺ๋องถิ่นกกเชียงมีหน่วยเสียงสระประสม 3 หน่วยเสียง[4] ได้แก่ /i̯a/, /ɨ̯a/ และ /u̯ɔ/

วรรณยุกต์

ภาษากฺ๋องถิ่นกกเชียงมีหน่วยเสียงวรรณยุกต์ 4 หน่วยเสียง[5] ได้แก่

  • หน่วยเสียงกลางระดับ (mid tone)
  • หน่วยเสียงวรรณยุกต์ต่ำ-ตก (low-falling tone) ซึ่งอาจเปลี่ยนเสียงเป็นวรรณยุกต์กลาง-ตก-ขึ้นหรือวรรณยุกต์สูง-ตกในประโยคปฏิเสธ
  • หน่วยเสียงวรรณยุกต์สูง-ตก (high-falling tone)
  • หน่วยเสียงวรรณยุกต์กลาง-ตก-ขึ้น (mid falling-rising tone) มีเสียงย่อย 2 เสียง ได้แก่ เสียงต่ำ-ขึ้น ปรากฏเมื่อพยัญชนะท้ายเป็นเสียงกัก และเสียงกลาง-ตก-ขึ้น ปรากฏเมื่อพยัญชนะท้ายเป็นเสียงอื่นที่ไม่ใช่เสียงกัก