ภาษาจีนกวางตุ้ง

ภาษาจีนกวางตุ้ง (ชาวจีนเรียกว่า 粵 เยฺว่ Yuè หรือ ยฺหวืด Jyut6) เป็นหนึ่งในภาษาของตระกูลภาษาจีน ผู้พูดส่วนใหญ่อยู่ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน บริเวณมณฑลแถบตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งได้แก่ มณฑลกวางตุ้ง เขตบริหารพิเศษฮ่องกง มาเก๊า และยังใช้มากในหมู่ของชาวจีนแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับเหล่าชาวจีนโพ้นทะเลทั่วโลกที่อพยพไปจากมณฑลกวางตุ้งอีกด้วย โดยที่สำเนียงกวางเจาจัดเป็นสำเนียงกลางของภาษาจีนกวางตุ้ง มีผู้พูดทั่วโลกราวๆ 71 ล้านคน[2] ซึ่งภาษากวางตุ้งจัดได้ว่าเป็นภาษาถิ่นอันดับหนึ่งของจีนที่คนพูดมากที่สุด และเป็นภาษาที่ใช้ทางการเป็นอันดับสอง รองลงมาจากภาษาจีนกลางที่เป็นภาษาราชการหลักของประเทศ

ภาษาจีนกวางตุ้ง

ภูมิภาค สามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูเจียง (ตอนกลางของมณฑลกวางตุ้ง; ฮ่องกง, มาเก๊า) ; ทางตะวันออกและใต้ของเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง; หลายส่วนในมณฑลไหหลำ; มาเลเซีย (ซันดากัน, อิโปห์, กัวลาลัมเปอร์) ; สหราชอาณาจักร; แวนคูเวอร์; โทรอนโต; ซานฟรานซิสโก, นิวยอร์ก กรุงเทพมหานคร
ตระกูลภาษา
จีน-ทิเบต
ระบบการเขียน อักษรจีนตัวเต็ม
จำนวนผู้พูด 71 ล้านคน[1]  (ไม่พบวันที่)
ISO 639-1 zh
ISO 639-3 yue
ISO 639-2 chi (B)
zho (T)
ประเทศที่มีการพูด จีน; เวียดนาม และประเทศที่มีชาวจีนโพ้นทะเล มาเลเซีย ไทยอพยพมาจากจีนที่พูดภาษาจีนกวางตุ้ง
ภาษาทางการ ฮ่องกงและมาเก๊า (ทางการเรียกว่า "ภาษาจีน" ซึ่งหมายรวมถึงภาษาจีนกวางตุ้งและภาษาจีนกลาง)