ไวยากรณ์ ของ ภาษาชูวัช

ภาษาชูวัชเป็นภาษารูปคำติดต่อ มีปัจจัยจำนวนมากแต่ไม่มีอุปสรรค คำคำหนึ่งอาจมีปัจจัยจำนวนมากและใช้ปัจจัยเพื่อสร้างคำใหม่ได้ หรือใช้เพื่อแสดงหน้าที่ทางไวยากรณ์ของคำคำนั้น

นามและคุณศัพท์

คำนามภาษาชูวัชจะมีการลงท้ายเพื่อบอกบุคคลและความเป็นเจ้าของ มีปัจจัยของนามทั้งสิ้น 6 การก

กริยา

คำกริยาของภาษาชูวัชแสดงบุคคล กาล มาลาและจุดมุ่งหมาย

การเปลี่ยนเสียงสระ

เป็นหลักการที่พบได้ทั่วไปในรากศัพท์ของภาษาชูวัช ภาษาชูวัชแบ่งสระเป็นสองแบบคือสระหน้าและสระหลัง การเปลี่ยนเสียงสระอยู่บนหลักการว่าในคำคำหนึ่งจะไม่มีทั้งสระหลังและสระหน้าอยู่ด้วยกัน

คำประสมถือว่าเป็นคำเอกเทศคำหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงการเปลี่ยนเสียงสระ แต่จะไม่ใช้การเปลี่ยนเสียงสระกับคำยืมจากภาษาอื่น และมีคำดั้งเดิมในภาษาชูวัชบางคำไม่เป็นไปตามกฎการเปลี่ยนเสียงสระ

การเรียงคำ

เป็นแบบประธาน-กรรม-กริยา

ตัวเลข

  • 1 - pĕrre, per
  • 2 - ikkĕ, ik
  • 3 - vishshĕ, vish
  • 4 - tăvattă, tavat
  • 5 - pillĕk, pilek
  • 6 - ulttă, ulta
  • 7 - shichchĕ, shich
  • 8 - sakkăr, sakar
  • 9 - tăhhăr, tahar
  • 10 - vunnă, vun
  • 11 - vunpĕr
  • 12 - vunikkĕ
  • 13 - vunvishshĕ
  • 14 - vuntăvattă
  • 15 - vunpillĕk
  • 16 - vunulttă
  • 17 - vunshichchĕ
  • 18 - vunsakkăr
  • 19 - vuntăhhăr
  • 20 - shirĕm, sirem
  • 30 - vătăr, vatar
  • 40 - hĕrĕh, hereh
  • 50 - allă, alla
  • 60 - utmăl, utmal
  • 70 - shitmĕl, shitmel
  • 80 - sakărvunnă, sakarvun
  • 90 - tăhărvunnă, taharvun
  • 100 - shĕr, ser
  • 1000 - pin, pin