ภาษาชูวัช

ภาษาชูวัช (ภาษาชูวัช: Чӑвашла, Čăvašla, สัทอักษร: [ʨəʋaʂ'la]; อาจสะกดเป็น Chăvash, Chuwash, Chovash, Chavash, Çuvaş หรือ Çuaş) เป็นภาษากลุ่มเตอร์กิก ใช้พูดในบริเวณเทือกเขายูรัลทางตอนกลางของรัสเซีย เป็นภาษาราชการของสาธารณรัฐชูวัชในประเทศรัสเซีย มีผู้พูดราว 2 ล้านคน เขียนด้วยอักษรซีริลลิก ภาษาที่มีอิทธิพลต่อภาษาชูวัชได้แก่ ภาษาตาตาร์ ภาษากลุ่มฟินโน-อูกริก ภาษารัสเซีย ภาษามารี ภาษามองโกเลีย ภาษาอาหรับ และภาษาเปอร์เซียแต่โบราณ ภาษาชูวัชเขียนด้วยอักษรออร์คอน เปลี่ยนเป็นอักษรอาหรับเมื่อเข้ารับอิสลาม เมื่อถูกยึดครองโดยมองโกเลีย ระบบการเขียนได้หายไป อักษรแบบใหม่ถูกประดิษฐ์ขึ้นโดย อีวาน ยาคอฟเลวิช ยาคอฟเลฟ ใน พ.ศ. 2416 จน พ.ศ. 2481 จึงเปลี่ยนมาเขียนด้วยอักษรซีริลลิก

ภาษาชูวัช

ภูมิภาค สาธารณรัฐชูวัช
ตระกูลภาษา
ออกเสียง /ʨəʋaʂˈla/
จำนวนผู้พูด 1,330,000 คน (2545)  (ไม่พบวันที่)
ISO 639-1 cv
ISO 639-3 chv
ISO 639-2 chv
ประเทศที่มีการพูด รัสเซีย
ภาษาทางการ สาธารณรัฐชูวัช (รัสเซีย)