สัทวิทยา ของ ภาษาญัฮกุร

พยัญชนะ

หน่วยเสียงพยัญชนะภาษาญัฮกุรถิ่นบ้านไร่ จังหวัดชัยภูมิ[2]
ลักษณะการออกเสียงตำแหน่งเกิดเสียง
ริมฝีปากปุ่มเหงือกเพดานแข็งเพดานอ่อนเส้นเสียง
เสียงนาสิกก้องmnɲŋ
ไม่ก้องŋ̥
เสียงหยุดก้องbd
ไม่ก้องไม่พ่นลมptckʔ
พ่นลม
เสียงเสียดแทรก(f)(s)çh
เสียงลิ้นรัวก้องr
ไม่ก้อง
เสียงข้างลิ้นก้องl
ไม่ก้อง
เสียงกึ่งสระก้องwj
ไม่ก้อง


  • หน่วยเสียงที่เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้นและพยัญชนะท้ายมี 14 หน่วยเสียง ได้แก่ /m/, /n/, /ɲ/, /ŋ/, /p/, /t/, /c/, /k/, /ʔ/, /h/, /r/, /l/, /w/ และ /j/
  • หน่วยเสียงพยัญชนะควบมี 16 หน่วยเสียง ได้แก่ /bl/, /pr/, /pʰr/, /pʰl/, /tr/, /tʰr/, /tʰl/, /cr/, /cl/, /cʰr/, /kr/, /kl/, /kw/, /kʰr/, /kʰl/ และ /kʰw/ เกิดในตำแหน่งต้นพยางค์เท่านั้น
  • ผู้พูดรุ่นใหม่อาจออกเสียง /cʰ/ เป็น [s]
  • หน่วยเสียง /f/ และ /s/ พบในคำยืมจากภาษาไทย โดยผู้พูดรุ่นเก่าจะออกเสียง /f/ เป็น [kʰw] เช่น /faj.faːʔ/ > [kʰwaj.kʰwaːʔ] 'ไฟฟ้า, ไฟฉาย'
  • หน่วยเสียง /ç/ เกิดในตำแหน่งท้ายพยางค์เท่านั้น

สระ

สระเดี่ยว

หน่วยเสียงสระเดี่ยวภาษาญัฮกุรถิ่นบ้านไร่ จังหวัดชัยภูมิ[3]
ระดับลิ้นตำแหน่งลิ้น
หน้ากลางหลัง
สูงi, iːɯ, ɯːu, uː
กึ่งสูงe, eːɤ, ɤːo, oː
กึ่งต่ำæ, æːʌɔ, ɔː
ต่ำa, aː

สระประสม

หน่วยเสียงสระประสมภาษาญัฮกุรถิ่นบ้านไร่มี 3 หน่วยเสียง[3] ได้แก่ /ia/, /ɯa/ และ /ua/

ลักษณะน้ำเสียง

ภาษาญัฮกุรถิ่นบ้านไร่มีลักษณะน้ำเสียงที่ทำให้ความหมายของคำต่างกัน 2 ลักษณะ ได้แก่ ลักษณะน้ำเสียงที่ 1 ซึ่งเป็นลักษณะน้ำเสียงปกติโดยมักออกเป็นเสียงสูง และลักษณะน้ำเสียงที่ 2 ซึ่งมักออกเป็นเสียงต่ำ[4]