ภาษาญัฮกุร

ภาษาญัฮกุร เป็นภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติก กลุ่มมอญ-เขมร กลุ่มย่อยมอญ ถือว่าใกล้เคียงกับภาษามอญโบราณในสมัยทวารวดี มีผู้พูดคือชาวญัฮกุรในจังหวัดนครราชสีมา เพชรบูรณ์ และชัยภูมิ บางส่วนเริ่มเปลี่ยนมาพูดภาษาไทยภาษาญัฮกุรเดิมเป็นเพียงภาษาพูดไม่มีตัวเขียน ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2548 ได้มีการสร้างระบบตัวเขียนขึ้นใหม่โดยใช้อักษรไทย (และสัทอักษรสากล ʔ) และรวบรวมคำศัพท์เอาไว้เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อไม่ให้สูญหาย มีพยัญชนะ 26 เสียง เป็นตัวสะกดได้ 15 เสียง มีสระ 21 เสียง เป็นสระเดี่ยว 18 เสียง สระประสม 3 เสียง ไม่มีเสียงวรรณยุกต์ ใช้ระบบน้ำเสียงแทน มีระบบการเติมหน่วยคำแต่ปัจจุบันเหลือใช้ไม่มากนัก เรียงประโยคแบบประธาน-กริยา-กรรม

ภาษาญัฮกุร

ตระกูลภาษา
ระบบการเขียน อักษรไทย
รูปแบบก่อนหน้า
ภาษามอญเก่า
  • ภาษาญัฮกุร
จำนวนผู้พูด 1,500 คน  (2549[1])
ISO 639-3 cbn
ประเทศที่มีการพูด ไทย (จังหวัดเพชรบูรณ์ ชัยภูมิ และนครราชสีมา)