ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก
ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก

ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก

ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก (อังกฤษ: Austroasiatic languages) เป็นภาษากลุ่มใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และบางส่วนในอินเดียและบังกลาเทศ ชื่อนี้มาจากคำในภาษาละตินที่แปลว่า "ใต้" และชื่อทวีปเอเชียในภาษากรีก ดังนั้นชื่อของภาษาตระกูลนี้จึงหมายถึงเอเชียใต้ ในบรรดาภาษากลุ่มนี้ทั้งหมด ภาษาเวียดนาม ภาษาเขมร และภาษามอญเป็นภาษาที่มีบันทึกทางประวัติศาสตร์ยาวนาน และเฉพาะภาษาเวียดนามและภาษาเขมรเท่านั้นที่เป็นภาษาทางการ ภาษาที่เหลือมักเป็นภาษาที่พูดโดยชนกลุ่มน้อยภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติกมีการแพร่กระจายตั้งแต่อินเดีย บังกลาเทศ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แยกจากกันด้วยบริเวณที่มีผู้พูดภาษาตระกูลอื่นอยู่ จึงเชื่อกันว่าภาษาตระกูลนี้เป็นภาษาดั้งเดิมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอินเดียตะวันออก ส่วนภาษากลุ่มอื่นในบริเวณนี้ได้แก่ตระกูลอินโด-ยูโรเปียน ขร้า-ไท ดราวิเดียนและจีน-ทิเบตเป็นผลจากการอพยพเข้ามา มีตัวอย่างคำในภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติกอยู่ในตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่าในเนปาลตะวันออก นักภาษาศาสตร์บางคนเชื่อว่า ภาษานี้เกี่ยวข้องกับตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนและจัดเป็นตระกูลใหญ่ออสตริก

ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก

ISO 639-5: aav
กลอตโตลอก: aust1305[1]
การจําแนกทางภาษาศาสตร์: หนึ่งในตระกูลภาษาที่มีผู้พูดมากที่สุดในโลก
กลุ่มย่อย:
ภาษาดั้งเดิม: ออสโตรเอเชียติกดั้งเดิม
ภูมิภาค: เอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ใกล้เคียง

ตระกูลชินวัตร ตระกูลจิราธิวัฒน์ ตระกูลภาษาขร้า–ไท ตระกูลบุนนาค ตระกูลเจ้าเจ็ดตน ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก ตระกูลอักษรพราหมี ตระกูลล่ำซำ ตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ตระกูลเกมบอย