ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน
ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน

ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน

ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน (อังกฤษ: Austronesian languages) เป็นตระกูลภาษาที่มีผู้พูดกระจายไปทั่วหมู่เกาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และมหาสมุทรแปซิฟิก มีจำนวนน้อยบนผืนแผ่นดินของทวีปเอเชีย อยู่ในระดับมาตรฐานเดียวกับตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและตระกูลภาษายูรัลคือสามารถสืบหาภาษาดั้งเดิมของตระกูลได้ คำว่าออสโตรนีเซียนมาจากภาษาละติน austro (ลมใต้) รวมกับคำภาษากรีก nesos (เกาะ) ตระกูลภาษานี้ได้ชื่อนี้ เพราะส่วนมากใช้พูดในบริเวณหมู่เกาะ มีเพียงไม่กี่ภาษา เช่น ภาษามลายู ภาษาจาม ที่ใช้พูดบนผืนแผ่นดิน สมาชิกของตระกูลนี้มีถึง 1,268 ภาษา หรือประมาณ 1 ใน 5 ของภาษาที่รู้จักกันทั่วโลก การแพร่กระจายจากแหล่งกำเนิดของภาษาถือว่ากว้างไกล เริ่มตั้งแต่เกาะมาดากัสการ์ ไปจนถึงเกาะทางตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิก ภาษาราปานูอี ภาษามาลากาซี และ ภาษาฮาวาย เป็นภาษาที่ใช้พูดตามรอบนอกของขอบเขตที่มีการใช้ภาษาตระกูลนี้ภาษาตระกูลนี้มีสาขามากมาย ส่วนมากพบในไต้หวัน ภาษากลุ่มเกาะฟอร์โมซาในไต้หวันเป็นสาขาหลักของภาษาในตระกูลนี้ มีถึง 9 สาขา ภาษาที่ใช้พูดนอกเกาะฟอร์โมซาทั้งหมด อยู่ในภาษากลุ่มมาลาโย-โพลีเนเซีย ซึ่งบางครั้งเรรียกว่าภาษานอกเกาะฟอร์โมซา

ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน

กลุ่มเชื้อชาติ: ชาวออสโตรนีเชียน
กลอตโตลอก: aust1307[1]
การจําแนกทางภาษาศาสตร์: หนึ่งในตระกูลของภาษาหลักของโลก
ISO 639-2 / 5: map
กลุ่มย่อย:
ภาษาดั้งเดิม: ออสโตรนีเซียนดั้งเดิม
ภูมิภาค: เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทร, มาดากัสการ์ และส่วนของอินโดจีน, โอเชียเนีย, ศรีลังกา, ไต้หวัน และมณฑลไหหลำ

ใกล้เคียง

ตระกูลชินวัตร ตระกูลจิราธิวัฒน์ ตระกูลภาษาขร้า–ไท ตระกูลบุนนาค ตระกูลเจ้าเจ็ดตน ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก ตระกูลอักษรพราหมี ตระกูลล่ำซำ ตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ตระกูลเกมบอย