คำนาม ของ ภาษาบูรุศซัสกี

ระดับของนาม

ในภาษาบูรุศซัสกี มีคำนาม 4 ระดับซึ่งใกล้เคียงกับเพศในกลุ่มภาษาอินโด-ยุโรเปียนได้แก่

  • m > ผู้ชาย , พระเจ้าและวิญญาณ
  • f > ผู้หญิงและวิญญาณ
  • x > สัตว์ นามนับได้
  • y > นามธรรม ของเหลว นามนับไม่ได้

นอกจากนี่ยังมีระดับผสม h คือการรวมกันของ m และ f และระดับ hx คือการรวมกับของ m f และ x คำนามระดับ x ส่วนใหญ่หมายถึงสิ่งที่นับได้ สิ่งของ เช่น สัตว์ ผลไม้ ก้อนหิน ไข่ หรือเหรียญ คำนามระดับ y หมายถึงนามธรรมหรือนับไม่ได้ เช่น ข้าว ไฟ น้ำ หิมะ สำลี แต่กฎนี้ไม่ได้ตายตัวเสมอไป คำบางคำเป็นทั้งนามนับได้และนับไม่ได้ เช่น ha “บ้าน” คำที่ใกล้เคียงกัน ถ้าอยู่ในระดับต่างกันจะมีความหมายต่างกัน เช่น bayú ถ้าอยู่ในระดับ x หมายถึงเกลือเป็นกองๆ แต่ถ้าอยู่ในระดับ y หมายถึงผงเกลือ ผลไม้แต่ละผลอยู่ในระดับ x แต่ต้นไม้จะอยู่ในระดับ y กรรมจะมีเครื่องหมายแสดงว่าอยู่ในระดับ x หรือ y คำนำหน้านามคำคุณศัพท์ จำนวนจะขึ้นกับระดับของนามที่เป็นประธาน

การทำให้เป็นพหูพจน์

นามเอกพจน์ในภาษาบูรุศซัสกีไม่มีเครื่องหมาย ในขณะที่นามพหูพจน์แสดงโดยการเติมปัจจัย ซึ่งต่างไปตามระดับของคำนาม

  • h-class > ปัจจัยได้แก่ : -ting, -aro, -daro, -taro, -tsaro
  • h- และ x-class > ปัจจัยได้แก่ : -o, -išo, -ko, -iko, -juko; -ono, -u; -i, -ai; -ts, -uts, -muts, -umuts; -nts, -ants, -ints, -iants, -ingants, -ents, -onts
  • y-class > ปัจจัยได้แก่ : -ng, -ang, -ing, -iang; -eng, -ong, -ongo; -ming, -čing, -ičing, -mičing, -ičang (สำเนียงนาคัร)

คำนามบางคำมีอุปสรรคได้ 2-3 แบบในขณะทีบางคำมีเฉพาะรูปพหูพจน์ เช่น bras “ข้าว” gur “ข้าวสาลี” bishké ขนเฟอร์ มีคำที่มีรูปเดียวทั้งเอกพจน์และพหูพจน์ด้วย เช่น hagúr ม้าตัวเดียว หรือม้าหลายตัว คำคุณศัพท์มีรูปพหูพจน์ที่ต่างไปขึ้นกับคำนามที่ขยาย เช่น burúm “ขาว” ถ้ากับนาม x พหูพจน์เป็น burum-išo นาม y พหูพจน์เป็น burúm-ing

การผันคำ

ภาษาบูรุศซัสกีเป็นภาษาแบบเกี่ยวพัน มี 5 การก

การกปัจจัยการทำงาน
การกสัมบูรณ์ไม่มีเครื่องหมายประธานของอกรรมกิริยาและกรรมของสกรรมกิริยา
การกเกี่ยวพัน-eประธานของสกรรมกิริยา
การกแสดงความเป็นเจ้าของ-e; -mo (f)แสดงความเป็นเจ้าของ
การกกรรมรอง-ar, -rกรรมรอง, allative.
Ablative-um, -m, -moบ่งชี้การแยก(เช่น มาจาก)


ปัจจัยของการกขึ้นกับปัจจัยพหูพจน์ เช่น Huséiniukutse “ประชาชนของฮุสเซน” คำลงท้ายแสดงความเป็นเจ้าของเป็น /mo/ สำหรับ f- เอกพจน์ แต่เป็น /-e/ ในการกอื่นๆ การลงท้ายของการเป็นกรรมโดยอ้อม /-ar/, /-r/ จะอยู่ติดกับการลงท้ายแสดงความเป็นเจ้าของของนาม f- เอกพจน์ ตัวอย่างเช่น:

  • hir-e ของผู้ชาย, gus-mo ของผู้หญิง (gen.)
  • hir-ar ต่อผู้ชาย, gus-mu-r ต่อผู้หญิง (dat.)

การแสดงความเป็นเจ้าของจะวางก่อนสิ่งที่ถูกถือครอง เช่น: Hunzue tham, 'the Emir of Hunza.' การลงท้ายของการกทุติยภูมิเกิดจากปัจจัยการกทุติยภูมิ (หรืออาคม) และการลงท้ายปฐมภูมิ /-e/, /-ar/ or /-um/. การลงท้ายนี้เป็นการบอกทิศทาง, /-e/ เป็นการบอกตำแหน่ง /-ar/ เป็นการบอกจุดหมาย /-um/ เป็นการบอกที่มา อาคมที่ใช้มีความหมายดังต่อไปนี้

  • /-ts-/ ที่
  • /-ul-/ ใน
  • /-aţ-/ บน ด้วย
  • /-al-/ ใกล้ (เฉพาะสำเนียงฮันซา )

การลงท้ายด้วย /-ul-e/ และ /-ul-ar/ เป็นรูปแบบโบราณ ปัจจุบันถูกแทนที่ด้วย /-ul-o/ and /-ar-ulo ตามลำดับ