ลักษณะเด่นของภาษาผู้ไท ของ ภาษาผู้ไท

ภาษาผู้ไทมีลักษณะเด่นดังนี้1. พยัญชนะ "ข,ฆ" /k/ ในภาษาไทยและลาว-อีสานบางคำ ออกเสียงเป็น ห, ฮ /h/ เช่น

ภาษาไทยภาษาภูไทภาษาไทยภาษาภูไทภาษาไทยภาษาภูไทภาษาไทยภาษาภูไทภาษาไทยภาษาภูไท
แขนแหนเข็มเห็มขัน (ขันน๊อต)หันขาหาของหอง
ขนหนเข้าเห้าขอดฮอดขอน (ขอนไม้)หอนขึ้นหึ้น
ฆ่าฮ่าขาดฮาดเขี้ยว (ฟัน)แห้วขัดข้อง (ยุ่งเหยิง)ห้องข้อห้อ
ขายหายเขา (สัตว์)เหาเขียวแหวขาวหาว

2. เสียงสระ "ใ" ออกเสียงเป็น "เออ" และสระ "ไ" บางคำก็ออกเสียงเป็น "เออ" เช่น

ภาษาไทยภาษาภูไทภาษาไทยภาษาภูไทภาษาไทยภาษาภูไทภาษาไทยภาษาภูไทภาษาไทยภาษาภูไท
ใกล้เค่อไหน (ไส "ลาว")เซอ, ซิเลอ, เนอเฮอใต้เต้อใช้เซ้อในเนอ, เด้อ
ใจเจ๋อใหม่อเมอไตเต๋อใส่เซอให้เห้อ
ใคร (ไผ "ลาว")เพอใหญ่เญอบวม (ไค่ "ลาว")เค้อใบเบ๋อ

3. ภาษาผู้ไทใช้แต่เพียงสระเดี่ยว ไม่มีสระผสม เช่นเดียวกับภาษาลื้อ ไตขืน เช่น

ภาษาไทยภาษาภูไทภาษาไทยภาษาภูไทภาษาไทยภาษาภูไทภาษาไทยภาษาภูไทภาษาไทยภาษาภูไท
เขียดเควดเรือเฮอเรียนเฮน, สอนบ่วง (ช้อน)โบงม้วนโม้น
เกวียนเกว๋นสวนโสนเขี่ยเควเลี้ยวเล้วเมียเม
เหยียบเยบเงื่อนเงิ้นเปลื้อนเปิ้นหนวดโนดผัวโผ


4. คำที่ใช้สระเสียงยาวแล้วสะกดด้วย "ก" จะเปลี่ยนเป็นสระเสียงสั้น ไม่ออกเสียง "ก" เช่นเดียวกับภาษาไทถิ่นใต้ฝั่งตะวันตก และภาษาไทดำ ไทขาว พวน เช่น

 *ลูก = ลุ *บอก = เบ๊าะ *แตก = แต๊ะ *ตอก = เต๊าะ *ลอก = เลาะ, ลู่น *หนอก = เนาะ *ยาก = ญ๊ะ *ฟาก,ฝั่ง = ฟ๊ะ  *หลีก = ลิ *ปีก = ปิ๊ *ราก =ฮะ *กาก=ก๊ะ *อยาก = เยอะ *เลือก = เลอะ *น้ำเมือก = น้ำเมอะ *น้ำมูก = ขี้มุ *ผูก = พุ *หยอก = เยาะ *หมอก = เมาะ *ดอกไม้ = เด๊าะไม้ *ศอก = เซาะ *หนวก = โนะ * หยวก = โ *ถูก(ถืก ในภาษาลาว) = ทึ

5. ภาษาผู้ไทใช้คำที่แสดงถึงการปฏิเสธว่า มี,หมี่ หรือเมื่อพูดเร็วก็จะออกเสียงเป็น มิ เช่นเดียวกับภาษาไทยโบราณ ภาษาจ้วง (bou,mi) และภาษาลื้อบางแห่ง เช่น

 *ไม่ได้ = มีได้ *ไม่บอก = มีเบ๊าะ *ไม่รู้ = มีฮู้, มีฮู้จัก,มีจัก,จัก *ไม่เห็น = มีเห็น *ไม่พูดไม่จา = มีเว้ามีจา

6. คำถามจะใช้แตกต่างจากภาษาไทยดังนี้

 *อะไร = เผอ,ผะเหลอ,ผิเหลอ *ทำไม,เพราะอะไร = เอ็ดเผอ,เป่นเผอ *ไหน = เซอ,ซิเลอ,เนอเหอ *ใคร = เพอ,ผู้เลอ *เท่าไหร่,แค่ไหน = ท้อเลอ,ฮาวเลอ,ค้าเลอ *อย่างไร = แนวเลอ,สะเลอ,ซิเลอ *เมื่อไหร่ = บาดเลอ,ญามเลอ,ฮาเลอ,เท้อเลอ *ไหม,หรือปล่าว = เบาะ,ติ๊,ยูเบาะ,ยูติ๊ *ล่ะ = เด๋

7. คำว่า จัก หรือ จะ ในภาษาไทย ภาษาผู้ไทจะใช้คำว่า หละ หรือ สิ เช่น

 *เธอจะไปไหน = เจ้าหละ/สิไปซิเลอ *ฉันกำลังจะพูด = ข้อยทมหละ/สิเว้า *เขาจะคุยกันเรื่องอะไร = เขาหละ/สิแอ่นเด๋วเลิ้งเผอ

___(ข้อ 8 เป็นต้นไปเป็นเพียงปลีกย่อย)___

8. บางคำมีการออกเสียงต่างจากภาษาไทย ดังนี้

   1) ค เป็น ซ เช่น คง = ซง, ครก = ซก   2) ด เป็น ล เช่น ใด = เลอ, สะดุ้ง (เครื่องมือหาปลาชนิดหนึ่ง) = จะลุ่ง   3) อะ เป็น เอะ เช่น มัน (หัวมัน) = เม็น, มันแกว = เม็นเพา-โหเอ็น, มันเทศ = เม็นแกว   4) เอะ เป็น อิ เช่น เล่น=ดิ้น, เด็กน้อย=ดิกน้อย, เหล็กไล (ตะปู)=ลิ๊กไล   5) เอีย เป็น แอ เช่น เหี่ยว = แห่ว, เขี้ยว = แห้ว, เหยี่ยว = แหลว, เตี้ย = แต๊, เขียว = แหว   6) สระเสียงสั้นในภาษาไทยบางคำกลายเป็นสระเสียงยาวในภาษาผู้ไท เช่น ลิง = ลีง, ก้อนหิน = มะขี้หีน, ผิงไฟ = ฝีงไฟ    7) อิ เป็น อึ เช่น กลิ่น = กึ่น คิด = คึด/ฮึด

9. คำเฉพาะถิ่น เป็นคำที่มีใช้เฉพาะในภาษาผู้ไท และอาจมีใช้ร่วมกับภาษาอื่นที่เคยมีวัฒนธรรมร่วมกัน เช่น

 *ดวงตะวัน = ตะเง็น, โก๊ *ดวงเดือน = โต๊ต่าน, เดิ๋น, ต๊อ *ประตูหน้าต่าง = ตู่บอง,ปะตู่บอง, ป่องเย่ม *ขี้โม้ = ขี้จะหาว *ขึ้นรา = ตึกเหนา *น้ำหม่าข้าว = น้ำโม๊ะ *สวย = ซับ,งาม *ตระหนี่,ขี้เหนียว = อีด, ขี้อีด, ขี้ถี่ *ประหยัด = ติ้กไต้, ตักไต้ *หัวเข่า = โหโค้ย *ลูกอัณฑะ = มะขะหลำ *หัวใจ = เจ๋อ,มะโหเจ๋อ,โหเจ๋อ *หน้าอก = เอิ๊ก,อ๋าง *เหงือก = เฮ๊อะ * *ตาตุ่ม = ปอเผอะ,ปอมเผอะ *ท้ายทอย = ง้อนด้น *เอว = โซ่ง,กะโท้ย,แอ๋ว *ถ่านก่อไฟ = ก้อมี่ *พูดคุย,สนทนา = แอ่นจ๋า *เกลี้ยกล่อม = โญะ, เญ๊า *หัน = ปิ่น, (ภาษาลาวว่า งวก) *ย้ายข้าง = อวาย, ว้าย (ภาษาลาวว่า อ่วย) *ขอร้อง,วิงวอน = แอ่ว,แอบ *กันนักกันหนา = กะดักกะด้อ *มาก,ยิ่ง = แฮง,กะดักกะด้อ-กะด้อ,หลาย *ไม่ใช่ = แต่ *จริง = เพิ้ง,แท้ *นึกว่า = ตื่อหวะ, กะเด๋วหวะ, เด๋วหวะ *พะวงใจ = ง้อ,คึดง้อ *อุทานไม่พอใจ = เยอ! เยอะ! *ไปโดยไม่หันกลับมา = ไปกิ่นๆ, ไปกี่ดี่ๆ *สั้น = สั้น, กิด, ขิ้น *ยาว = ญาว, สาง *ปิด = ปิด, อัด, ฮี, กึด, งับ *เปิด = เปิด, ไข, อ้า