หน่วยเสียง ของ ภาษาผู้ไท

หน่วยเสียงพยัญชนะ

ฐานกรณ์ของเสียงริมฝีปากล่าง-ฟันริมฝีปากโคนฟันเพดานส่วนแข็งเพดานส่วนอ่อนช่วงคอ
เสียงหยุด (ไม่ก้อง)-/ป//ต//จ//ก//อ/
เสียงหยุด (ไม่ก้อง)-/พ//ท/-/ค/-
เสียงหยุด (ก้อง)-/บ//ด/---
เสียงขึ้นจมูก-/ม//น//ญ//ง/-
เสียงเสียดแทรก/ฟ//ซ/---/ฮ/
กึ่งสระ/ว/--/ย/--
ลอดข้างลิ้น-/ล/----

ในที่นี้ขออธิบายเฉพาะเสียงที่แตกต่างจากภาษาไทยมาตรฐาน ดังนี้

  • /ญ/ เป็นหน่วยเสียงพิเศษ ที่ไม่พบในภาษาไทยภาคกลาง และถิ่นใต้ แต่พบได้ในภาษาไทยถิ่นอีสาน และเหนือ

หน่วยเสียงสระ

ภาษาผู้ไทมีสระเดี่ยว 9 ตัว หรือ 18 ตัวหากนับสระเสียงยาวด้วย โดยทั่วไปมีลักษณะของเสียงคล้ายกับสระในภาษาไทยถิ่นอื่น (เพื่อความสะดวก ในที่นี้ใช้อักษร อ ประกอบสระ เพื่อให้เขียนง่าย)

สระสูงอิ, อีอึ, อืออุ, อู
สระกลางเอะ, เอเออะ, เออโอะ, โอ
สระต่ำแอะ,แออะ,อาเอาะ, ออ

อนึ่ง ในภาษาผู้ไทไม่ใช้สระประสม จะใช้แต่สระเดี่ยวข้างบนนี้ตัวอย่างคำที่ภาษาไทยกลางเป็นสระประสม แต่ภาษาผู้ไทใช้สระเดี่ยว

ภาษาไทยกลางภาษาผู้ไท
/หัว//โห/
/สวน//โสน/
/เสีย//เส/
/เขียน//เขน/
/เสือ//เสอ/
/มะเขือ//มะเขอ/

หน่วยเสียงวรรณยุกต์

หน่วยเสียงวรรณยุกต์ในภาษาผู้ไท มีด้วยกัน 5 หน่วย