สถานะปัจจุบัน ของ ภาษามลายูบางกอก

ผู้พูดภาษามลายูบางกอกมีอยู่ประมาณ 5,000 คน[ต้องการอ้างอิง] ส่วนมากจะมีอายุเกินกว่า 40 ปีเท่านั้นที่ยังพอพูดภาษามลายูได้ แต่ความสามารถในการใช้ภาษาแตกต่างกันออกไป อย่างไรก็ตามปัจจุบันภาษาของพวกเขาเหล่านั้นมีความแตกต่างจากภาษามลายูปัตตานีบ้าง ไม่ว่าจะเป็นด้านเสียง ความหมาย และโครงสร้างประโยค ทั้งนี้เนื่องจากมีวิวัฒนาการทางภาษาที่แตกต่างกัน[10] ชุมชนเชื้อสายมลายูหลายแห่งยุติการคุตบะห์หรือการบรรยายธรรมเป็นมลายู การศึกษากีตาบยาวี หรือแม้แต่การใช้ภาษามลายูสำหรับสื่อสารในชีวิตประจำวันเสียแล้ว[1][3][11]

ปัจจุบันจังหวัดปทุมธานียังมีการใช้ภาษามลายูแบบปัตตานีในการสื่อสาร[12] โดยเฉพาะในอำเภอคลองหลวง[13] และพบในอำเภอลาดหลุมแก้ว[14] ส่วนในนนทบุรีท้องที่ที่ยังใช้ภาษามลายู ได้แก่ ตำบลท่าอิฐ อำเภอปากเกร็ด[9] และพบที่ตำบลละหาร อำเภอบางบัวทอง[11] ส่วนในโรงเรียนสุเหร่าบ้านดอน เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร ยังมีการเรียนการสอนด้วยภาษามลายูอยู่เพื่อสืบทอดภาษาสู่ชนรุ่นต่อไป[6]

ชนรุ่นหลังส่วนใหญ่หันมาใช้ภาษาไทยมากขึ้น แต่ยังคงศัพท์เฉพาะจำพวกคนและสิ่งของต่างจากภาษาไทยมาตรฐาน และคงสำเนียงถิ่นเข้าผสมกับภาษาไทย เช่นชุมชนเชื้อสายมลายูในอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี จะเรียกพ่อว่า ป๊ะ เป๊าะ เยาะห์ ป๋า ส่วนคำไทยอื่นจะมีเสียงแปร่ง เช่น เป็ด เป็น เป๊ด, ขยะ เป็น ขะยะ และ สะอาด เป็น ซะอั๊ด เป็นต้น[15]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภาษามลายูบางกอก http://www.aksorn.com/lib/detail_print.php?topicid... http://halallifemag.com/melayu-bangpho/ http://www.muangboranjournal.com/modules.php?name=... http://prachatai.com/journal/2015/01/57425 http://www.thealami.com/main/content.php?page=&cat... http://www.komchadluek.net/news/edu-health/209545 http://www.isranews.org/cms/index.php?option=com_c... http://www.isranews.org/south-news/documentary/ite... http://lek-prapai.org/home/view.php?id=131 http://lek-prapai.org/home/view.php?id=5112