ระบบการเขียน ของ ภาษายูการิต

ดูบทความหลักที่: ชุดตัวอักษรยูการิต
แผ่นดินเหนียวจารึกอักษรยูการิตตารางของอักษรยูการิต

อักษรยูการิตเป็นอักษรรูปลิ่มที่เป็นอักษรไร้สระ ใช้เมื่อราว 1,000 ปีก่อนพุทธศักราช อักษรนี้มีลักษณะคล้ายอักษรรูปลิ่มในเมโสโปเตเมีย แต่ไม่มีความเกี่ยวข้องกัน จัดเป็นตัวอย่างที่เก่าที่สุดของอักษรในกลุ่มเซมิติกตะวันตกที่ใชกับภาษาฟินิเชีย ภาษาแอราเมอิก และภาษาฮีบรู มีอักษร 22–31 ตัว ใช้เฉพาะบริเวณยูการิต ไม่พบที่อื่น

แผ่นดินเหนียวที่จารึกอักษรยูการิตเป็นหลักฐานรุ่นแรก ๆ ของการเรียงลำดับอักษรในเขตลิแวนต์และเซมิติกใต้ รวมทั้งของอักษรฮีบรู อักษรกรีก และอักษรละติน อักษรชนิดนี้เขียนจากซ้ายไปขวา

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภาษายูการิต http://orientalistik.univie.ac.at/fileadmin/user_u... http://orientalistik.univie.ac.at/fileadmin/user_u... http://orientalistik.univie.ac.at/fileadmin/user_u... http://orientalistik.univie.ac.at/fileadmin/user_u... http://www.bibleinterp.com/articles/MSmith_Biblica... http://books.google.com/books?hl=en&lr=&id=fKTRZrW... http://www.theology.edu/ugarbib.htm http://www.theology.edu/ugraintr.htm http://www.unicode.org/charts/PDF/U10380.pdf http://www.bbc.co.uk/dna/h2g2/A1113436