สาขาย่อย ของ ภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์

ภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกเป็นหลายแขนงหลัก ตามสื่อกลางของภาษาที่ประมวลผล ไม่ว่าจะเป็นทางการพูดหรือการเขียน และตามวิธีการใช้ภาษา ทั้งการวิเคราะห์และสังเคราะห์

  • การรู้จำเสียง (en:speech recognition) และการสังเคราะห์เสียง (en:speech synthesis) เป็นการศึกษาวิธีการเข้าใจหรือสร้างภาษาพูด
  • การแจกแจงโครงสร้าง (en:parsing) และการสังเคราะห์ภาษา (generation) เน้นไปที่การแยกภาษาเป็นส่วน ๆ และการประกอบรวมภาษาให้สื่อความได้ ตามลำดับ
  • การแปลภาษาด้วยเครื่อง ยังคงเป็นแขนงสำคัญอันหนึ่งของภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์ โดยมีหลายแนวคิด เช่น การแปลจากภาษาหนึ่งไปเป็นอีกภาษาหนึ่งโดยตรง หรือการแปลจากภาษาต้นทางไปเป็นภาษากลาง (ภาษาสากล - inter lingua) ก่อน จากนั้นค่อยแปลจากภาษากลางไปเป็นภาษาปลายทาง

ในการวิจัยด้านภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ จะมีแนวทางดังต่อไปนี้

สมาคมภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ​ (Association for Computational Linguistics หรือ ACL) ได้นิยามภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์ไว้ว่า "เป็นการศึกษาภาษาตามแนวทางวิทยาศาสตร์จากมุมมองเชิงคำนวณ นักภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์จะสนใจที่การสร้างแบบจำลองเชิงคำนวณ (en:computational model) ของปรากฏการณ์ทางภาษาศาสตร์ทั้งหลาย"[4]

ใกล้เคียง

ภาษาศาสตร์ ภาษาศาสตร์เพิ่มพูน ภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ภาษาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ภาษาศาสตร์โอลิมปิกแห่งประเทศไทย ภาษาศาสตร์เชิงประวัติ ภาษาศาสตร์สังคม ภาษาศาสตร์ประสาทวิทยา ภาษาศาสตร์เปรียบเทียบ ภาษาศาสตร์จิตวิทยา