ภาษาศาสตร์เพิ่มพูน
ภาษาศาสตร์เพิ่มพูน

ภาษาศาสตร์เพิ่มพูน

ภาษาศาสตร์เพิ่มพูน เป็นภาษาศาสตร์ทฤษฎีที่ถือภาษาศาสตร์เป็นการศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างไวยากรณ์สชาติกะ (มีโดยกำเนิด) ที่ได้สมมุติฐานขึ้น[3] เป็นการดัดแปลงเชิงชีววิทยาสังคม (sociobiology)[4] ของทฤษฎีโครงสร้างนิยมโดยเฉพาะชิวหาศาสตร์ (glossematics)[5][6] ภาษาศาสตร์เพิ่มพูนพิจารณาไวยากรณ์เป็นชุดของกฏที่ผลิตการจัดหมู่ของคำอย่างแม่นยำซึ่งประกอบประโยคทางไวยากรณ์ในภาษาใด ๆ ความแตกต่างจากตัวแบบในภาษาศาสตร์เชิงโครงสร้างและภาษาศาสตร์เชิงหน้าที่[7]คือกรรมอยู่ในกริยาวลีในภาษาศาสตร์เพิ่มพูน[8] โครงสร้างทางปริชานที่ถูกอ้างนี้ถูกคิดว่าเป็นส่วนหนึ่งของไวยากรณ์สากล ซึ่งเป็นโครงสร้างทางวากยสัมพันธ์ที่เป็นผลจากการกลายพันธุ์ทางพันธุกรรมของมนุษย์[9]นักภาษาศาสตร์เพิ่มพูนได้สร้างทฤษฎีมากมายเพื่อให้การวิเคราะห์นามวลี (NP) และกริยาวลี (VP) ใช้การได้ในการวรรณนาภาษาธรรมชาติ นั่นคือ ประธานและกริยาวลีปรากฏเป็นองค์ประกอบอิสระและกรรมถูกใส่ใว้ในกริยาวลี จุดหลักที่สนใจอยู่ในวิธีการวิเคราะห์การย้ายคำปฤจฉาอย่างเหมาะสมและในกรณีอื่นที่ประธานปรากฏเสมือนแยกกริยาออกจากกรรม[10] ถึงแม้นักภาษาศาสตร์เพิ่มพูนจะอ้างว่าเป็นโครงสร้างที่มีตัวตนจริงทางปริชาน แต่ประสาทวิทยาศาสตร์ยังไม่เจอหลักฐานสนับสนุน[11][12] เนื่องมาจากมุมมองเรื่องสมองที่ไม่มาตรฐาน นักวิจัยบางคนตั้งคำถามเกี่ยวกับข้อตั้งทางวิทยาศาสตร์ของภาษาศาสตร์เพิ่มพูน[13]

ใกล้เคียง

ภาษาศาสตร์ ภาษาศาสตร์เพิ่มพูน ภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ภาษาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ภาษาศาสตร์โอลิมปิกแห่งประเทศไทย ภาษาศาสตร์เชิงประวัติ ภาษาศาสตร์สังคม ภาษาศาสตร์ประสาทวิทยา ภาษาศาสตร์เปรียบเทียบ ภาษาศาสตร์จิตวิทยา

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภาษาศาสตร์เพิ่มพูน http://www.mapageweb.umontreal.ca/tuitekj/cours/ch... http://www2.leeward.hawaii.edu/hurley/ling102web/m... http://kutaslab.ucsd.edu/people/kutas/pdfs/1993.LC... http://kutaslab.ucsd.edu/people/kutas/pdfs/2015.BR... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3130369 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/16266802 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/21690130 http://smc07.uoa.gr/SMC07%20Proceedings/SMC07%20Pa... http://www.ucd.ie/artspgs/research/pullum.pdf http://www.chomsky.info/articles/195609--.pdf