ขอบเขต ของ ภาษาศาสตร์เพิ่มพูน

มีแนวทางต่าง ๆ ของภาษาศาสตร์เพิ่มพูนมากมาย สิ่งที่มีอยู่ร่วมกันทั้งหมดคือความพยายามที่จะหาชุดของกฏหรือหลักการที่นิยามสมาชิกแต่ละตัวทุก ๆ ตัวในชุดของข้อความที่จัดรูปแบบได้ดีในภาษาธรรมชาติอย่างเป็นทางการ คำว่า ภาษาศาสตร์เพิ่มพูน ได้ถูกสัมพันธกับสำนักของภาษาศาสตร์อย่างน้อยดังต่อไปนี้:

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของตัวแบบของไวยากรณ์ปริวรรต

ดูบทความหลักที่: ไวยากรณ์ปริวรรต

แม้เลนาร์ด บลูมฟิลด์ (Leonard Bloomfield) ผู้ที่งานของเขาถูกปฏิเสธโดยชอมสกี มองนักไวยากรณ์ชาวอินเดียสมัยโบราณปาณินิเป็นบรรพบทของโครงสร้างนิยม[14][15] ชอมสกีได้กล่าวสุนทรพจน์ในงานรับรางวัลที่อิเดียในปี ค.ศ. 2001 และอ้างว่า "The first generative grammar in the modern sense was Panini's grammar" (แปล: ไวยากรณ์เพิ่มพูนอันแรกในนิยามร่วมสมัยคือไวยากรณ์ของปาณินิ)

ไวยากรณ์เพิ่มพูนได้ผ่านการพัฒนามาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1950 และได้ประสบการเปลี่ยนแปลงในชนิดของกฏและตัวแทนที่ใช้พยากรณ์ความถูกต้องทางไวยากรณ์ ในการสืบพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของแนวคิดในภาษาศาสตร์เพิ่มพูน การพาดพิงถึงระยะต่าง ๆ ในพัฒนาการของทฤษฎีจะเป็นประโยชน์

ทฤษฎีมาตรฐาน (ค.ศ. 1957–1965)

ทฤษฎีมาตรฐานที่ว่านี้สอดคล้องกับตัวแบบต้นฉบับของไวยากรณ์เพิ่มพูนที่วางไว้โดยชอมสกีในปี ค.ศ. 1965

แง่มุมหลักของทฤษฎีมาตรฐานคือการปยกระหว่างตัวแทนของประโยคสองตัวที่ต่างกัน ซึ่งเรียกว่าโครงสร้างลึก (deep structure) และโครงสร้างผิว (surface structure) ตัวแทนสองตัวนี้เชื่อมต่อกันและกันด้วยไวยากรณ์ปริวรรต

ทฤษฎีมาตรฐานแบบขยาย (ค.ศ. 1965–1973)

ทฤษฎีมาตรฐานแบบขยายที่ว่านี้ถูกกำหนดขึ้นมาในปลายช่วงปี ค.ศ. 1960 ถึงต้นช่วงปี ค.ศ. 1970 ส่วนประกอบคือ:

ทฤษฎีมาตรฐานแบบปรับปรุงใหม่ (ค.ศ. 1973–1976)

ทฤษฎีมาตรฐานแบบปรับปรุงใหม่ที่ว่านี้ถูกกำหนดขึ้นมาระหว่างปี ค.ศ. 1973 และ 1976 ส่วนประกอบคือ:

ไวยากรณ์สัมพันธ์ (ประมาณปี ค.ศ. 1975–1990)

ดูบทความหลักที่: ไวยากรณ์สัมพันธ์

ตัวแบบทางเลือกของวากยสัมพันธ์ที่อยู่บนแนวคิดว่าแนวคิดเช่น ประธาน กรรมตรง และกรรมรอง มีบทบาทหลักในไวยากรณ์

ทฤษฎีหลักการและตัวแปร/กำกับและผูกยึด (ค.ศ. 1981–1990)

ดูบทความหลักที่: ทฤษฎีกำกับและผูกยึด

Lectures on Government and Binding (1981) และ Barriers (1986) ของชอมสกี

โปรแกรมจุลนิยม (ค.ศ. 1990–ปัจจุบัน)

ดูบทความหลักที่: โปรแกรมจุลนิยม

โปรแกรมจุลนิยมเป็นลำดับของการสอบสวนที่สมมุติฐานว่าโมดูลภาษาของมนุษย์ดีที่สุดแล้ว โดยประกอบด้วยแค่สิ่งที่จำเป็นสำหรับการตอบสนองความต้องการทางกายภาพและการสื่อสาร และแสวงหาที่จะระบุคุณสมบัติที่จำเป็นของระบบแบบนั้น ชอมสกีได้เสนอโปรแกรมนี้ในปี ค.ศ. 1993[16]

ใกล้เคียง

ภาษาศาสตร์ ภาษาศาสตร์เพิ่มพูน ภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ภาษาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ภาษาศาสตร์โอลิมปิกแห่งประเทศไทย ภาษาศาสตร์เชิงประวัติ ภาษาศาสตร์สังคม ภาษาศาสตร์ประสาทวิทยา ภาษาศาสตร์เปรียบเทียบ ภาษาศาสตร์จิตวิทยา

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภาษาศาสตร์เพิ่มพูน http://www.mapageweb.umontreal.ca/tuitekj/cours/ch... http://www2.leeward.hawaii.edu/hurley/ling102web/m... http://kutaslab.ucsd.edu/people/kutas/pdfs/1993.LC... http://kutaslab.ucsd.edu/people/kutas/pdfs/2015.BR... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3130369 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/16266802 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/21690130 http://smc07.uoa.gr/SMC07%20Proceedings/SMC07%20Pa... http://www.ucd.ie/artspgs/research/pullum.pdf http://www.chomsky.info/articles/195609--.pdf