ไวยากรณ์ไม่พึ่งบริบท ของ ภาษาศาสตร์เพิ่มพูน

ดูบทความหลักที่: ไวยากรณ์ไม่พึ่งบริบท

(อังกฤษ: Context-free grammar) เราสามารถอธิบายและเปรียบเทียบภาษาศาสตร์เพิ่มพูนได้ด้วยความช่วยเหลือของลำดับชั้นของชอมสกี (Chomsky hierarchy) (ซึ่งชอมสกีได้เสนอในสมัยปี ค.ศ. 1950) นี่ให้กำเนิดลำดับของชนิดของไวยากรณ์รูปนัยที่มีพลังในการแสดงออกมากขึ้นเรื่อย ๆ หนึ่งในชนิดที่ง่ายที่สุดคือไวยากรณ์ปรกติ (regular grammar) (ชนิด 3) ชอมสกีอ้างว่านี่ไม่เหมาะสมที่จะเป็นตัวแบบสำหรับภาษามนุษย์เพราะการอนุญาติการฝังตรงกลาง (center-embedding) ของสายอักขระไว้ในสายอักขระในภาษามนุษย์ธรรมชาติ

ที่ระดับความซับซ้อนที่สูงขึ้นคือไวยากรณ์ไม่พึ่งบริบท (ชนิด 2) อนุพันธ์ของประโยคโดยไวยากรณ์เช่นนี้สามารถนำมาวาดเป็นอนุพันธ์ของแผนภาพต้นไม้ (tree structure) นักภาษาศาสตร์ที่ทำงานในภาษาศษสตร์เพิ่มพูนมักจะมองต้นไม้เช่นนั้นว่าเป็นวัตถุหลักในการศึกษา จากมุมมองนี้ ประโยคหนึ่งประโยคไม่ได้เป็นเพียงเส้นสายของคำเรียงติดกัน แต่ทว่าคำที่อยู่ติดกันถูกรวมเป็น หน่วยประกอบ ซึ่งสามารถรวมเพิ่มเติมกับคำหรือหน่วยประกอบอื่นเพื่อสร้างแผนภาพต้นไม้ลำดับชั้น

อนุพันธ์ของโครงสร้างต้นไม้ง่าย ๆ ของประโยคในภาษาอังกฤษ "the dog ate the bone" เป็นไปดังต่อไปนี้: ตัวกำหนด (determiner) the และนาม dog รวมกันเพื่อสร้างนามวลี the dog นามวลีที่สอง the bone ก็สร้างขึ้นด้วยตัวกำหนด the และนาม bone กริยา ate รวมกับนามวลีที่สอง the bone เพื่อสร้างกริยาวลี ate the bone สุดท้าย นามวลีแรก the dog รวมกับกริยาวลี ate the bone เพื่อทำให้ประโยคสมบูรณ์เป็น the dog ate the bone แผนภาพต้นไม้ดังต่อไปแสดงให้เห็นอนุพันธ์นี้และโครงสร้างที่เป็นผล:

แผนภาพต้นไม้เช่นนี้ก็สามารถเรียกว่าตัวกำหนดวลี (phrase marker) ซึ่งนำมาแทนอยู่ในรูปตัวหนังสือได้ (แต่ผลคือจะอ่านยากกว่า) ในรูปแบบนี้ประโยคด้านบนจะถูกนำมาแสดงเป็น:
[S [NP [D The ] [N dog ] ] [VP [V ate ] [NP [D the ] [N bone ] ] ] ]

ในภาษาไทยเราอาจแทนตัวกำหนดเป็นคำนิยม (อ่านว่า นิ-ยะ-มะ, demonstrative) ห่างหรือเคียง และลักษณนาม (classifier) เช่น หมาตัวนั้นกินกระดูกซี่นี้ เป็น:
[S [NP [N หมา ] [CL ตัว ] [D นั้น] ] [VP [V กิน ] [NP [N กระดูก ] [CL ซี่ ][D นี้ ] ] ] ]

ชอมสกีได้กล่าวอ้างว่าไวยากรณ์โครงสร้างวลีก็ไม่เหมาะสมสำหรับการวรรณนาภาษาธรรมชาติ และได้กำหนดระบบไวยากรณ์ปริวรรตที่ซับซ้อนขึ้น[17]

ใกล้เคียง

ภาษาศาสตร์ ภาษาศาสตร์เพิ่มพูน ภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ภาษาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ภาษาศาสตร์โอลิมปิกแห่งประเทศไทย ภาษาศาสตร์เชิงประวัติ ภาษาศาสตร์สังคม ภาษาศาสตร์ประสาทวิทยา ภาษาศาสตร์เปรียบเทียบ ภาษาศาสตร์จิตวิทยา

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภาษาศาสตร์เพิ่มพูน http://www.mapageweb.umontreal.ca/tuitekj/cours/ch... http://www2.leeward.hawaii.edu/hurley/ling102web/m... http://kutaslab.ucsd.edu/people/kutas/pdfs/1993.LC... http://kutaslab.ucsd.edu/people/kutas/pdfs/2015.BR... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3130369 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/16266802 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/21690130 http://smc07.uoa.gr/SMC07%20Proceedings/SMC07%20Pa... http://www.ucd.ie/artspgs/research/pullum.pdf http://www.chomsky.info/articles/195609--.pdf