คำวิจารณ์ ของ ภาษาศาสตร์เพิ่มพูน

การขาดหลักฐาน

โนม ชอมสกีผู้ก่อตั้งไวยากรณ์เพิ่มพูนเชื่อว่าได้พบหลักฐานทางภาษาศาสตร์ว่าโครงสร้างทางวากยสัมพันธ์ไม่ได้ถูกเรียนรู้แต่ตัวเด็ก ‘ได้มา’ จากไวยากรณ์สากล นี่นำไปสู่การก่อตั้งข้ออ้างความไม่สมบูรณ์ของสิ่งเร้า (poverty of the stimulus) แต่ได้ค้นพบทีหลังว่าการวิเคราะห์เชิงภาษาศาสตร์ของชอมสกีนั้นไม่เหมาะสมและเพียงพอ[18]

ไม่มีหลักฐานที่ว่าโครงสร้างวากยสัมพันธ์นั้นมีโดยกำเนิด แม้ว่าจะมีความหวังขึ้นหน่อยเมื่อมีการค้นพบยีน FOXP2[19][20] ก็ยังมีข้อสนับสนุนเพียงพอต่อแนวคิดที่ว่ายีนนี้เป็น 'ยีนไวยากรณ์' หรือว่ามีความเกี่ยวข้องใด ๆ กับการอุบัติของการพูดเชิงวากยสัมพันธ์หรือภาษาพูดเมื่อซึ่งพึ่งมีขึ้นเมื่อไม่นานมานี้[21]

การศึกษาทางประสาทวิทยาศาสตร์โดยการใช้ ERPs หรือศักย์ไฟฟ้าสมองสัมพันธ์กับเหตุการณ์ไม่พบหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ใด ๆ ต่อข้ออ้างว่าสมองมนุษย์ประมวลวัตถุทางไวยากรณ์เสมือนว่าวัตถุถูกวางใว้ในกริยาวลี[11] ผลคือไวยากรณ์เพิ่มพูนไม่ใช่ตัวแบบที่เป็นประโยชน์สำหรับภาษาศาสตร์ประสาทวิทยา[12]

นักภาษาศาสตร์เพิ่มพูนยังกล่าวอ้างว่าภาษาถูกวางใว้ในโมดูลสมองของตัวเอง และไม่มีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างการประมวลผลภาษาที่หนึ่งหรือการประมวลผลข้อมูลชนิดอื่น ๆ เช่นคณิตศาสตร์ การกล่าวอ้างนี้ไม่ได้อยู่บนงานวิจัยหรือความเข้าใจในวิธีที่สมองทำงานทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นที่ยอมรับทั่วไป[13][22]

ชอมสกีได้ตอบกลับคำวิจารณ์โดยการเน้นว่าทฤษฎีของเขาความจริงแล้วขัดแย้งกับหลักฐาน เขาหากแต่เชื่อว่าจะเป็นกรณีที่คุณค่าจริงของงานวิจัยจะถูกเข้าใจในภายหลัง เหมือนกับกาลิเลโอ กาลิเลอี[23]

ใกล้เคียง

ภาษาศาสตร์ ภาษาศาสตร์เพิ่มพูน ภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ภาษาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ภาษาศาสตร์โอลิมปิกแห่งประเทศไทย ภาษาศาสตร์เชิงประวัติ ภาษาศาสตร์สังคม ภาษาศาสตร์ประสาทวิทยา ภาษาศาสตร์เปรียบเทียบ ภาษาศาสตร์จิตวิทยา

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภาษาศาสตร์เพิ่มพูน http://www.mapageweb.umontreal.ca/tuitekj/cours/ch... http://www2.leeward.hawaii.edu/hurley/ling102web/m... http://kutaslab.ucsd.edu/people/kutas/pdfs/1993.LC... http://kutaslab.ucsd.edu/people/kutas/pdfs/2015.BR... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3130369 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/16266802 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/21690130 http://smc07.uoa.gr/SMC07%20Proceedings/SMC07%20Pa... http://www.ucd.ie/artspgs/research/pullum.pdf http://www.chomsky.info/articles/195609--.pdf