วิธีการคัดเลือกและลักษณะข้อสอบ ของ ภาษาศาสตร์โอลิมปิกแห่งประเทศไทย

การแข่งขันจะจัดขึ้นในเดือนธันวาคมของทุกปี โดยผู้เข้าแข่งขันสามารถเลือกสถานที่สอบที่สะดวกจากศูนย์สอบ 4 ศูนย์สอบ คือ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ผู้สอบที่ได้คะแนนสูงสุดในการแข่งขันรอบแรกประมาณ 20-30 คน จะได้รับคัดเลือกเพื่อเข้าอบรมความรู้และทักษะเชิงวิเคราะห์ทางภาษาศาสตร์ และเป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าแข่งขันภาษาศาสตร์โอลิมปิกเอเชียแปซิฟิก (Asia Pacific Linguistics Olympiad หรือ APLO) ซึ่งเป็นการแข่งขันในระดับภูมิภาค ในช่วงเดือนเมษายน หลังจากนั้น คณะกรรมการจะคัดเลือกผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดในการแข่งขันภาษาศาสตร์โอลิมปิกเอเชียแปซิฟิก จำนวน 4 คน เป็นตัวแทนประเทศไทยในการแข่งขันภาษาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศในช่วงเดือนกรกฎาคม

ข้อสอบจะไม่ทดสอบความรู้ทางด้านภาษาหรือภาษาศาสตร์ แต่จะทดสอบทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลภาษาด้วยการสังเกตและการใช้ตรระกะ และความสามารถในการพูดหลายภาษาจะเป็นประโยชน์เพียงแค่ทำให้ทราบว่าภาษาต่าง ๆ ใช้งานอย่างไร โดยข้อสอบจะมีจำนวน 3 ข้อ และมีเวลาสอบ 2 ชั่วโมง

ใกล้เคียง

ภาษาศาสตร์ ภาษาศาสตร์เพิ่มพูน ภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ภาษาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ภาษาศาสตร์โอลิมปิกแห่งประเทศไทย ภาษาศาสตร์สังคม ภาษาศาสตร์เชิงประวัติ ภาษาศาสตร์เปรียบเทียบ ภาษาศาสตร์จิตวิทยา ภาษาศาสตร์ประสาทวิทยา

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภาษาศาสตร์โอลิมปิกแห่งประเทศไทย https://www.arts.chula.ac.th/ling/lot/home/ https://www.posn.or.th/ https://aplo.asia/ https://ioling.org/ https://www.arts.chula.ac.th/ling/lot/about-us/ https://www.facebook.com/LingChula/posts/pfbid02pp... https://www.google.com/search?as_eq=wikipedia&q=%2... https://www.google.com/search?q=%22%E0%B8%A0%E0%B8... https://www.google.com/search?&q=%22%E0%B8%A0%E0%B... https://www.google.com/search?tbs=bks:1&q=%22%E0%B...