การใช้ในท้องถิ่น ของ ภาษาหมิ่นใต้มาตรฐาน

มณฑลฝูเจี้ยน

ปัจจุบันภาษาฮกเกี้ยนในประเทศจีนมีการแบ่งแยกเป็นท้องถิ่นอยู่อีกหลายที่ หลัก ๆ แบ่งได้เป็นสี่ที่[3]ได้แก่

  • ฮกเกี้ยนภาคตะวันออก (สำเนียงเอ้หมึง) โดยแบ่งออกเป็นสำเนียงย่อยในเกาะและนอกเกาะเอ้หมึง
  • ฮกเกี้ยนถิ่นจางจิว สามารถแบ่งย่อยเป็นสำเนียงย่อยดังนี้: สำเนียงถงอาน (同安话), สำเนียงกิมหมึง (金门话), สำเนียงหนานอาน (南安话), สำเนียงอานซี (安溪话), สำเนียงจิ๋นเกียง (晋江话), สำเนียงสื๋อสือ (石狮话), สำเนียงหุยอัน (惠安话), สำเนียงเถาปัก (头北话), สำเนียงหุยหนาน (惠南话)
  • ฮกเกี้ยนถิ่นเจียงจิว สามารถแยกเป็นสำเนียงย่อยได้ดังนี้: สำเนียงเล้งซี (龙溪话), สำเนียงเจียงปู่ (漳浦话), สำเนียงหนานชิง (南靖话)
  • ฮกเกี้ยนตะวันตก (สำเนียงเล้งเยียน) สามารถแบ่งย่อยเป็นสำเนียงย่อยคือสำเนียงซินหลอ (新罗话) กับสำเนียงเจียงเป๋ง (漳平话)

ไต้หวัน

เอเชียตะวันออกเฉียงไต้

ภาษาฮกเกี้ยนในเอเชียตะวันออกเฉียงไต้สามารถแบ่งได้ตามประเทศต่าง ๆ ส่วนใหญ่แล้วมีความใกล้เคียงกับภาษาไต้หวันโดยแบ่งออกเป็นตามประเทศต่าง ๆ ได้แก่

  • ประเทศสิงคโปร์ มีความใกล้เคียงกับสำเนียงในจังหวัดจางจิว
  • ประเทศมาเลเซียตอนบน เป็นภาษาถิ่นที่ใกล้เคียงกับจังหวัดจางจิว
  • ประเทศมาเลเซียตอนใต้ เป็นภาษาถิ่นที่ใกล้เคียงกับจังหวัดเจียงจิว