อักษรศาสตร์และไวยากรณ์ ของ ภาษาหมิ่นใต้มาตรฐาน

ภาษาฮกเกี้ยนจัดเป็นภาษาแยกหน่วยคำ (Analytic language) เหมือนภาษาไทย ดังนั้นคำแต่ละคำจะมีความหมายแยกออกชัดเจนและให้ความหมายตัวต่อตัว[5] ปรกติแล้วจะเป็น ประธาน-กริยา-กรรม เหมือนภาษาไทย ทว่า ภาษาฮกเกี้ยนจะเป็นภาษาเน้นหัวข้อ (Topic-prominent language) ดังนั้นไวยากรณ์จึงไม่มีมาตรฐาน ภาษาฮกเกี้ยนไม่มีเทนซ์ ไม่แบ่งเพศ ไม่มีเอกพจน์พหูพจน์ แต่จะเป็นการเติมคำแยกเหมือนภาษาไทย

บุรุษสรรพนาม

บุรุษสรรพนามในภาษาฮกเกี้ยนมีดังนี้

บุรุษสรรพนามเอกพจน์พหูพจน์
สรรพนามบุรุษที่หนึ่ง我 (góa)阮 (goán)1 · 阮儂 (goán-lâng)3

咱 (lán)2 · 咱儂 (lán-lâng)3
俺 (án)
我儂 (góa-lâng)

สรรพนามบุรุษที่สอง汝 (lú/lí/lír)恁 (lín)
恁儂 (lín-lâng)
สรรพนามบุรุษที่สาม伊 (i)𪜶 (亻因) (in)
伊儂 (i-lâng)
1 หมายถึง "พวกเรา" โดยไม่รวมผู้ฟัง2 หมายถึง "พวกเรา" โดยรวมผู้ฟังด้วย3 ใช้ในสำเนียงฮกเกี้ยนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ปัจจัย (หน่วยคำเติมหลัง) สำหรับแสดงความเป็นเจ้าของมักใช้ 的 (ê) , ปัจจัย 之 (chi) ใช้ในคำภาษาจีนดั้งเดิม

และปรกติพหูพจน์จะไม่เติมปัจจัยแสดงความเป็นเจ้าของ เช่น 阮 (goán) , 翁 (ang) , 姓 (sèⁿ) , 陳 (Tân)