ตัวอย่างคำ ของ ภาษาอาหม

  • เกา = ฉัน (กู)
  • โปเกา = พ่อตา
  • ไป,ไปกะ = คำบอกลาไป
  • ไปคัน = ไปอย่างรวดเร็ว
  • ไป่ = ไผ่
  • เปล่า = ว่าง
  • เป่า = เป่าลม
  • มุง = เมือง
  • เจ้ = เมืองที่มีคูน้ำล้อมรอบ (ตรงกับคำว่า แจ้ ในคำเมือง เช่น แจ้ห่ม)
  • มู = ฤดู, อากาศ,เวลา
  • มูหนาว = ฤดูหนาว
  • มูเหนียว = เวลานี้, เดี๋ยวนี้
  • มะพุก = พรุ่งนี้
  • ไหม้ = เผา
  • ถ้า = คอย
  • ปินไหง่ = ฝุ่นละออง (ตรงกับคำว่า ไหง่ ในภาษาลาว ซึ่งปัจจุบันมีใช้แถบชนบท)
  • จี = จดจำ (ตรงกับคำว่า จือจำ ในภาษาลาว)
  • ถัก = เย็น, ถัก
  • เล็ง = วิ่ง
  • ญม = ยิ้ม
  • กำ = ข้อห้าม
  • อาย = เข้าอาย
  • อ้าย = พี่ชาย
  • อ้า = เปิดออก, เปิดเผยออก

  • อา = น้องของพ่อ
  • ที่ไฟ = ไฟ
  • บินหวัด = เป็นหวัด
  • บอร์ = ใหญ่, กว้าง
  • คนม้า = คนเลว คนชั่ว
  • งอนตา = คิ้ว
  • คิ้ว, เขียว = ฟัน
  • ม่านตา = แว่นตา
  • คีบตีน = รองเท้า
  • แรงไฟ = รถไฟ
  • โง = วัว
  • แรงโง = เกวียน
  • แรงน่อง = รถสามล้อ
  • ริก = เรียก
  • ด้ำ = ผีบ้านผีเรือน (เช่น ผีซ้ำ ด้ำพลอย)
  • มอยด้ำ = เนินดินฝังพระอัฐิกษัตริย์อาหม
  • หมอรู้หมอแสง = ปุโรหิต
  • หมอลิกหมอลาย = อาลักษณ์
  • เรือน = บ้าน
  • สว๋า = เสือ
  • หมากโม้ = หมาก
  • เบิว ปลู้ = พลู
  • ฝม = ผม

คำนับจำนวน เวลา

ในการนับเลขอาหมโดยเฉพาะการนับทั้งหมด แต่มีสำเนียงเพี้ยนจากภาษาไทยไปบ้าง

  • เอ็ด = หนึ่ง
  • ฉอง = สอง
  • ฉาม = สาม
  • ฉี่ = สี่
  • ห่า = ห้า
  • หรุก = หก
  • จิด = เจ็ด
  • เป็ด = แปด
  • เก่า = เก้า
  • ฉิบ = สิบ

คำทักทาย

  • เปอ่องเลเล = มีความหมายว่าจงเจริญ (ซึ่งมาจากภาษาพม่าซ้อนคำไทอาหมเดิม เนื่องจาก เป แปลว่า ชนะ รวมกับคำว่า อ่อง ซึ่งเป็นภาษาพม่าที่แปลว่า ชนะ เช่นเดียวกัน ส่วนคำว่า เล เป็นคำลงท้ายแบบเดียวกับหางเสียง ครับ, ค่ะ)
  • คุปต่าง = กราบไหว้ (ในบทบูชาบรรพชน)
  • คุปต่าง ชมโหลง = ขอบคุณ