ประวัติ ของ ภาษาอาหรับ

หลายคน เชื่อว่าภาษาอาหรับสมัยใหม่เป็นส่วนหนึ่งของสาขาย่อยอาหรับ-คานาอันไนต์ของภาษากลุ่มเซมิติกตะวันตกกลาง ในขณะที่ภาษาอาหรับไม่ใช่ภาษาเซมิติกที่เก่าสุด จึงมีลักษณะร่วมกับภาษาบรรพบุรุษของภาษากลุ่มเซมิติกในตระกูลแอฟโฟร-เอเชียติกคือภาษาเซมิติกดั้งเดิม นักภาษาศาสตร์หลายคนเชื่อว่าภาษาอาหรับเป็นภาษาที่มีความเป็นเซมิติกมากที่สุดในบรรดาภาษากลุ่มเซมิติกสมัยใหม่ด้วยกัน เพราะรักษาลักษณะของภาษาเซมิติกดั้งเดิมไว้ได้มาก

เอกสารของภาษาอาหรับดั้งเดิมหรือภาษาอาหรับเหนือโบราณคือจารึกที่อาซาเอียนที่พบทางตะวันออกของซาอุดิอาระเบียมีอายุราว 257 ปีก่อนพุทธศักราช เขียนด้วยอักษรอาระเบียใต้ ในยุคต่อมาคือเอกสารลิเชียนไนต์ อายุราว 57 ปีก่อนพุทธศักราช พบทางตะวันออกเฉียงใต้ของซาอุดิอาระเบีย และเอกสารทามุด (ษะมูด) ที่พบตลอดคาบสมุทรอาระเบียและไซนาย หลักฐานในยุคต่อมาคือจารึกซาไฟติกอายุราว 100 ปีก่อนคริสต์ศักราช และชื่อเฉพาะภาษาอาหรับที่พบในจารึกภาษานาบาทาเอียน

เมื่อราว ค.ศ. 400 กษัตริย์ของชาวอาหรับแห่งลักมิดในอิรักภาคใต้ กษัตริย์ฆาสซานัดในซีเรียภาคใต้และราชอาณาจักรกินไดต์ (กินดะหฺ) ได้ก่อตัวขึ้นในคาบสมุทรอาระเบียตอนกลาง ในยุคนั้นพบกวีนิพนธ์ภาษาอาหรับยุคก่อนศาสนาอิสลาม และจารึกภาษาอาหรับยุคก่อนอิสลามเขียนด้วยอักษรอาหรับ

ใกล้เคียง

ภาษาอาหรับ ภาษาอาหรับมาตรฐานสมัยใหม่ ภาษาอาหรับคลาสสิก ภาษาอาหรับยิวแบกแดด ภาษาอาหรับฮิญาซ ภาษาอาหรับอ่าว ภาษาอาหรับปาเลสไตน์ ภาษาอาหรับเยเมน ภาษาอาหรับบาห์เรน ภาษาอาหรับนัจญ์ดี