เสียง ของ ภาษาอาหรับ

สระ

ภาษาอาหรับมีสระแท้สามเสียง โดยแต่ละเสียงมีทั้งเสียงสั้นและเสียงยาวคือ อะ-อา อิ-อี อุ-อู แต่เมื่อประสมกับพยัญชนะบางตัวจะออกเป็น เอาะ-ออ มีสระประสมสองเสียงคือ ไอ กับ เอา ที่สำคัญในภาษาอาหรับนั้นจะมีแต่เสียงสระเท่านั้นจะไม่ใส่รูปสระ

พยัญชนะ

พยัญชนะมี 28 ตัว เสียงพยัญชนะในภาษาอาหรับมีทั้งเสียงสั้นและเสียงยาว โดยเสียงยาวจะแทนด้วยอักษรละตินสองตัว เช่น bb หรือแสดงด้วยเครื่องหมายชัดดะหฺในอักษรอาหรับ

โครงสร้างพยางค์

พยางค์ในภาษาอาหรับมีสองชนิดคือพยางค์เปิด (CV, CVV) และพยางค์ปิด (CVC, CVVC, CVCC) ทุกพยางค์เริ่มด้วยพยัญชนะ หรือพยัญชนะที่ยืมมาจากคำก่อนหน้า โดยเฉพาะในกรณีของคำนำหน้านามชี้เฉพาะ al เช่น baytu-l mudiir (บ้านของผู้กำกับ) ซึ่งจะเป็น bay-tul-mu-diir ถ้าออกเสียงแยกทีละพยางค์ โดยผู้กำกับจะเป็น al mudiir

การเน้นหนัก

การเน้นหนักในภาษาอาหรับมีความเกี่ยวข้องกับความยาวของเสียงสระและรูปร่างของพยางค์ การเน้นหนักคำที่ถูกต้องช่วยให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น กฎพื้นฐานได้แก่

  • เฉพาะพยางค์สุดท้ายของคำที่มีสามพยางค์ที่ถูกเน้นหนัก
  • พยางค์ที่มีสระเสียงยาวหรือพยัญชนะคู่จะถูกเน้นหนัก
  • ถ้าไม่มีพยางค์ดังกล่าว พยางค์ก่อนพยางค์สุดท้ายจะถูกเน้น หรือพยางค์แรกที่ยอมให้เน้นเสียงได้
  • ในภาษาอาหรับมาตรฐาน เสียงสระเสียงยาวเสียงสุดท้ายมักถูกเน้น แต่ไม่ใช้กับสำเนียงที่ใช้พูดซึ่งสระเสียงยาวสุดท้ายดั้งเดิมถูกทำให้สั้นและสระเสียงยาวอันที่สองถูกยกเสียงขึ้น

ในบางสำเนียงจะมีกฎการเน้นเสียงที่ต่างออกไป

ใกล้เคียง

ภาษาอาหรับ ภาษาอาหรับมาตรฐานสมัยใหม่ ภาษาอาหรับคลาสสิก ภาษาอาหรับยิวแบกแดด ภาษาอาหรับฮิญาซ ภาษาอาหรับอ่าว ภาษาอาหรับปาเลสไตน์ ภาษาอาหรับเยเมน ภาษาอาหรับบาห์เรน ภาษาอาหรับนัจญ์ดี