ลักษณะ ของ ภาษาฮีบรูอาซเกนาซี

จากการใช้ควบคู่กับภาษาฮีบรูสมัยใหม่ ภาษาฮีบรูอาซเกนาซีมีลักษณะทางสัทวิทยาที่แตกต่างไปอย่างชัดเจนต่อไปนี้

  • א และ ע ในภาษาฮีบรูอาซเกนาซีไม่มีการออกเสียงในขณะที่ออกเสียงเป็น /อ/ ในภาษาฮีบรูสมัยใหม่ ตัวอย่างเช่น Yisroeil (ชาวยิวลิทัวเนีย) หรือ Yisruayl (ชาวยิวโปแลนด์-กาลิเซีย) กับ Yisra'el (ฮีบรูสมัยใหม่) กรณีพิเศษเป็นของชาวยิวดัตช์ที่ออกเสียง ע เป็น ŋ ซึ่งอาจจะเป็นอิทธิพลมาจากชาวยิวสเปนและชาวยิวโปรตุเกส
  • ת ออกเสียงเป็น /s/ ในภาษาฮีบรูอาซเกนาซี เว้นแต่มีจุดภายในจึงออกเสียงเป็น /t/ ในขณะที่ภาษาฮีบรูสมัยใหม่ออกเสียงเป็น /t/ เสมอ
  • สระ ṣērê (/e/) ออกเสียงเป็น [ej] หรือ [aj] ในภาษาฮีบรูอาซเกนาซี ในขณะที่ออกเสียงเป็น /e/ ในภาษาฮีบรูเซฟาร์ดี ส่วนภาษาฮีบรูสมัยใหม่ออกเสียงทั้งสองแบบ
  • สระ qāmeṣ gāḏôl (/a/) ออกเสียงเป็น /o/ บางครั้งเป็น /u/ ในภาษาฮีบรูอาซเกนาซี แต่เป็น /a/ ในภาษาฮีบรูสมัยใหม่
  • สระ ḥôlam (/o/) การออกเสียงขึ้นกับสำเนียงย่อย บางครั้งเป็น [au] [ou] [oi] หรือ [ei] ในภาษาฮีบรูอาซเกนาซี แต่เป็น /o/ ในภาษาฮีบรูสมัยใหม่
  • เสียง qubbutz หรือ shuruq ที่ไม่เน้นกลายเป็น /i/ ในภาษาฮีบรูอาซเกนาซี แต่รูปอื่นเป็น /u/
  • ในบางกรณีมีความสับสนระหว่างเสียงท้าย tzere (e) และ hiriq (i)
  • ในช่วงศตวรรษต้นๆ การเน้นหนักในภาษาฮีบรูอาซเกนาซีอยู่ที่ตำแหน่งก่อนหลังสุดแทนที่ตำแหน่งสุดท้ายซึ่งพบในสำเนียงอื่นๆในช่วงพุทธศตวรรษที่ 22 – 23 แรบไบจากอาซเกนาซี เช่น Jacob Emden และ Vilna Gaon ได้เปลี่ยนมาเน้นหนักที่พยางค์สุดท้ายดังที่ปรากฏในการพิมพ์ไบเบิล และประสบความสำเร็จในการใช้อ่านโตราห์ แต่รูปแบบการเน้นหนักแบบเก่ายังพบในการออกเสียงคำภาษาฮีบรูที่อยู่ในภาษายิดดิชและบทกวียุคแรกๆ